Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

พัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าด้วย Corporate Innovation

22 ม.ค. 2020
SHARE

หลายคนคงเคยได้อ่านการจัดอันดับ 500 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือที่เรียกว่า “Fortune 500” ซึ่งมีบริษัทไทยจำนวนไม่น้อยอยู่ใน List นี้ ซึ่งจุดที่น่าสังเกตคือบริษัทที่สามารถอยู่รอดใน 500 อันดับแรกตั้งแต่ปี 1955 ยาวนานถึงปี 2017 มีเพียงแค่ 60 บริษัทเท่านั้น 

ประเด็นดังกล่าวสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของอายุเฉลี่ยบริษัทในตลาดหุ้น S&P500 ของสหรัฐ ที่ปี 1950 บริษัทใหญ่ จะมีอายุเฉลี่ยราว 60 ปี ทว่าในปัจจุบันนั้นกลับเหลืออายุเฉลี่ยไม่ถึง 20 ปี

“นวัตกรรม” หรือ “Innovation” คือความแตกต่างและถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่องค์กรใช้ในการปรับตัว โดยนวัตกรรมนั้นไม่ได้จำกัดแค่เทคโนโลยีขั้นสูง อย่างพวก AI หรือ Machine Learning ตามที่ได้ยินกันหนาหู และการสร้างนวัตกรรมให้แก่องค์กร หรือที่เราเรียกว่า Corporate Innovation ก็ไม่ได้เป็นการพึ่งพาเพียงแค่เทคโนโลยีเท่านั้น

Corporate Innovation

หนึ่งในกลไกในการสร้าง Corporate Innovation เพื่อให้องค์กรปรับตัว อยู่รอด และยืนหยัดอยู่ได้ คือการสรรหาและสร้างธุรกิจใหม่ โดยการทำงานร่วมกับบริษัทสตาร์ทอัพที่มีนวัตกรรมในการทำงานแบบใหม่ ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องง่าย การหาธุรกิจใหม่ร่วมกับบริษัทสตาร์ทอัพนั้นมีความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 ฝั่งทั้งด้านวัฒนธรรม (Culture) และ ขั้นตอนการทำงาน (Process) มากๆ องค์กรหลายๆ องค์กรที่ไม่ได้มีการปรับตัวใน 2 ด้านนี้ สุดท้ายก็ได้ใช้คำว่านวัตกรรมเป็นเพียงคำพูดเพื่อการตลาดเท่านั้นเอง

ทำความเข้าใจการปรับตัวในองค์กร

วัฒนธรรม (Culture)

Culture เป็นสิ่งที่ถูกปลูกฝังมานาน ไม่สามารถปรับได้ทันทีเหมือนพลิกฝ่ามือ แต่ต้องใช้เวลาค่อยๆ เปลี่ยน และซึมซับเข้าไป ใน Culture เองก็แบ่งออกเป็นองค์ประกอบเล็กอีก 2 ด้าน ก็คือองค์กร และตัวพนักงานเอง 

องค์กรมองว่าพนักงานทุกคนมีหน้าที่ในการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพื่อทำงานเร็วขึ้นอยู่แล้ว แต่กลับไม่เข้าใจว่า พนักงานทุกคนนั้นต่างมีงานล้นมือและมีเวลาที่จะมาพัฒนาสิ่งใหม่เพียงน้อยนิด สำหรับองค์กรที่เริ่มเข้าใจ ก็เริ่มเปิดโอกาสให้พนักงานระดมสมองเฟ้นหาธุรกิจใหม่ แข่งขันกันแสดงความสามารถของตนเองออกมา ตัวองค์กรเองก็มีหน้าที่จัดเตรียมวงเงินที่สามารถยอมรับได้ว่าอาจจะไม่ได้กลับคืนมา มีการให้รางวัลที่สมน้ำสมเนื้อให้กับพนักงานที่ทำงานนอกเหนือจากงานประจำ โดยมองว่าการล้มเหลวไม่ใช่เรื่องที่ผิดแต่การเป็นเรียนรู้ของพนักงานมากกว่า 

ตัวพนักงานเองก็ต้องมี Culture ที่พร้อมจะเรียนรู้ รับแรงกดดัน และพร้อมที่จะผลักดัน สร้าง Innovation จนสำเร็จ สมกับรางวัลและความรับผิดชอบที่ได้รับมาจากองค์กรไม่ใช่ว่าจะทิ้งๆ ขว้างๆ เบื่อแล้วก็กลับมาทำงานเหมือนเดิม 

นอกจากนี้ ถึงแม้พนักงานจะมีหน้าที่สร้างรายได้ และลดรายจ่ายให้กับองค์กรมากที่สุด แต่การทำงานร่วมกับบริษัทสตาร์ทอัพ ที่เป็น Partner นั้นต้องมองเท่าเทียมกับเรา (On Equal Footing) ต้องเข้าใจว่าบริษัทสตาร์ทอัพ ต้องพึ่งองค์กรใหญ่เช่นกันเพื่อให้เติบโตได้ทั้งคู่ ดังนั้น องค์กรใหญ่เองก็ไม่ควรกดขี่ ข่มเหง หรือใช้ความใหญ่กว่าเข้าสู้ ต้องเข้าใจว่าการทำงานร่วมกับบริษัท สตาร์ทอัพ อาจจะต้องมีค่าแรงหรือค่าจ้างในการทดสอบ ซึ่งจะแตกต่างจากการทำงานร่วมระหว่างองค์กร ที่อาจสามารถให้ทดสอบ ทดลองได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

Process (ขั้นตอนการทำงาน)

เมื่อ Culture ขององค์กรเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ตามมาที่ต้องถูกพัฒนาให้สอดคล้องก็คือ “Process” ในการทำงาน องค์กรใหญ่ๆ ย่อมมี Process ในการทำงานที่ค่อนข้างซับซ้อน เพื่อเป็นการ Check & Balance และเป็นวิธีที่ทำให้หลากหลายหน่วยงานช่วยกันตรวจสอบเพื่อลดความเสี่ยงต่อองค์กร แต่ Process นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น Process ในการขออนุมัติหรือการขอจัดซื้อจัดจ้างกลับใช้เวลานาน มีรายละเอียดมาก ซึ่งส่งผลเสียที่เห็นได้ชัดเจน 2 รูปแบบ ได้แก่ 

รูปแบบที่หนึ่ง ใช้เวลานานจนบริษัทสตาร์ทอัพที่เป็น Partner นั้นล้มหายไปหรือปรับเปลี่ยน Business Model ไปแล้ว และ รูปแบบที่สองใช้เวลาและรายละเอียดมากจนพนักงานในองค์กรยอมแพ้ ซึ่งเป็นหน้าที่ขององค์กรที่จะหารูปแบบของ Process ใหม่ ที่สอดคล้องกับการทำงานร่วมกับบริษัทสตาร์ทอัพ ที่เน้นในความเร็วในการทดสอบเป็นหลัก และอยู่ในกรอบความเสี่ยงของการทดสอบที่ยอมรับได้ มิใช่ว่าห้ามมีความเสี่ยงโดยเด็ดขาด

ทั้ง Culture และ Process เป็นสองข้อจากเชคลิสต์หลายๆ ข้อ ที่หากพัฒนาและปรับตัวได้จะทำให้องค์กรเพิ่มขีดความสามารถ สร้างรายได้ใหม่ๆ และอยู่รอดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลก

ปตท. เองก็เป็นองค์กรที่กำลังปรับตัว ผู้บริหารและพนักงานหลายคนตระหนักถึงความจำเป็นในการขยับตัว เริ่มตั้งแต่ตนเองจนถึงระดับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการจัดโครงการ Tech Savvy หรือการสนับสนุนให้พนักงานเป็น Founder ของบริษัทสตาร์ทอัพด้วยตนเอง ซึ่งในวันนี้ก็ถือเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น ปตท. จะสามารถแล่นผ่านทุกมรสุมที่กำลังเผชิญ และคงความเป็นหนึ่งในใต้หล้าต่อไปได้หรือไม่ ก็เริ่มจากตัวเราเองนี่แหละ เมื่อไรที่พนักงานส่วนใหญ่มีแนวคิดการทำงาน หรือ Culture ที่เปลี่ยนแปลงไป Process ก็จะปรับตัวให้สอดประสานกันเอง 

Corporate Innovation

จัดทำโดย  โครงการเอ็กสเพรสโซ
New call-to-action
  • SUBSCRIBE TO BE
    THE FIRST INNOVATOR.

logo