Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

Startup ต้องรู้: วิธีสร้างราก บ่มเพาะ กะเทาะฟันเฟือง Digital Ecosystem

5 ก.ย. 2019
SHARE

สิ่งมีชีวิตจะเติบโตได้ย่อมขึ้นกับระบบนิเวศที่ดี สตาร์ทอัพก็เช่นเดียวกัน ธุรกิจที่ดีจะโตขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพไม่ได้หากรอบด้านไม่เป็นใจ ยิ่งนานวันยิ่งต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้สินค้าของเราสามารถสร้างมูลค่าได้แบบ “ครบวงจร” สร้างฟันเฟืองธุรกิจที่หมุนไปในอนาคตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด 

นั่นเป็นเหตุผลให้ Digital Ecosystem คือส่วนสำคัญในระบบเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน ไปจนถึงอนาคตข้างหน้า

Digital Ecosystem ความท้าทายของผู้ประกอบการยุคใหม่

แน่นอนว่าการสร้างระบบนิเวศหรือทำกิจการให้ครอบคลุมนั้นเป็นไปได้ยาก แต่ก็ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ เรามี Ecosystem ทางธุรกิจเป็นตัวอย่างให้เห็นมากมาย​ โดยจะขอยกตัวอย่างบริษัทที่สามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ตัวเองได้ดี นั่นคือ Google

Digital Ecosystem

Google เห็นจะเป็นตัวอย่างสำหรับการทำ Ecosystem ที่ดี เพราะเริ่มจากการเป็น Search Engine ที่ไม่ว่าสงสัยอะไรก็ตอบได้ ถ้ามีปัญหาในปัจจุบันใครๆ ก็ต่างคิดถึง Google 

Google ต่อยอดด้วยการทำสร้าง Ecosystem เล็กๆ ของตัวเองขึ้นมา เช่น บริการรับส่ง Email การค้นหาที่มีความหลากหลาย ไปจนถึงการเริ่มทำระบบปฏิบัติการ จนระบบนิเวศดิจิทัลของ Google อยู่ในสภาพเกือบสมบูรณ์

  • Google บริการ Search Engine 
  • Google Drive บริการฝากไฟล์
  • Android ระบบปฏิบัติการ
  • Youtube บริการวิดีโอ สตรีมมิ่ง
  • Google Chrome เว็บเบราเซอร์

มาถึงจุดๆ นี้ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าหากเราทำงานอยู่ในวงจรของ Google ใช้งาน Android เราก็เริ่มจะหนี “การทำงานร่วมกับ Google” ไม่ได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือเรื่องบันเทิงก็ตาม

แน่นอนว่าหลายคนมองว่ามันยาก แต่อย่าลืมว่าบริษัทใหญ่ๆ ก็เริ่มจากจุดเล็กๆ และพยายามต่อยอดตัวเองจนยิ่งใหญ่ อีกทั้งในปัจจุบันผลจากการ Disruption ทำให้หลายบริษัทต้องเข้าสู่ดิจิทัลอย่างเต็มตัวแล้ว

นั่นหมายความว่าคุณต้องสร้าง Ecosystem ขึ้นมา ไม่ว่ามันจะใหญ่หรือเล็กก็ตาม

หัวใจหลักของ Ecosystem ยุคใหม่

เราจะพัฒนา Digital Ecosystem อย่างไร ในเมื่อมันดูยากและใหญ่มาก หากคุณคิดแบบนั้นแสดงว่าคุณกำลังเข้าใจถูกต้อง การสร้าง Ecosystem คือโปรเจ็คระยะยาวสำหรับผู้ประกอบการ โดยมีหัวใจสำคัญสามประการ ได้แก่

Data

ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการของลูกค้า ความคาดหวัง การตอบสนองของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ของบริษัท การใช้งานข้อมูลได้อย่างมีคุณภาพที่สุดจะช่วผลักดันให้ Digital Ecosystem พัฒนาได้ไกลที่สุด 

Partnership

บริษัทๆ เดียวไม่สามารถสร้าง Ecosystem ที่สมบูรณ์แบบได้ และถึงจะทำได้มันก็อาจจะยากและกินเวลาเกินไป ดังนั้นต้องมีสิ่งที่เรียกว่า พาร์ทเนอร์เพื่อเรียนรู้และส่งเสริมซึ่งกันและกัน ที่สำคัญคือการขยาย product ให้ครอบคลุมลูกค้าและเชื่อมโยงลูกค้าของทั้งสองแบรนด์เข้าหากัน 

Digital Ecosystem

Innovation

พัฒนาสิ่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ไม่ขาดไอเดียในการทำนวัตกรรม เพราะเรามี “ข้อมูล” เป็นอาวุธ แสดงให้เห็นว่าเรารู้ว่าจะต้องเดินต่ออย่างไร ไม่ว่าไอเดียตั้งต้นจะดีอยู่แล้ว แต่มันจะไปไกลไม่ได้เลยหากไม่ได้สร้างสิ่งต่างๆ จากไอเดียอย่างมีเป้าหมาย และ Lead ลูกค้าเข้าสู่การเป็นลูกค้าในอีกผลิตภัณฑ์ และขยายเป็นลูปที่ไม่มีที่สิ้นสุด 

ปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผล 

ทุกๆ บริษัทล้วนมีความแตกต่างและความโดดเด่นในรูปแบบของตนเอง และการสร้าง Ecosystem ก็จะได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้เช่นกัน 

  • รูปแบบธุรกิจ : แม้ว่าจะเป็นสตาร์ทอัพ แต่รูปแบบของสตาร์ทอัพจะเป็นตัวกำหนดการสร้าง Ecosystem เช่น การทำสตาร์ทอัพพลังงานจะเน้นไปในคนในชุมชนหรือคนอาศัยในอาคารต่างๆ เป็นต้น
  • ขนาดธุรกิจ : หลายคนเห็นว่า Ecosystem จำเป็นจึงต้องรีบสร้างด้วยการทำสิ่งต่างๆ มากมาย ขอย้ำว่ามันคือ “แผนระยะยาว” ควรปรับเป้าหมายของ Ecosystem ตามขนาดธุรกิจของคุณเอง
  • มูลค่าการลงทุน : Ecosystem ที่ดีไม่ใช่การทุ่มเทไปในด้านใดด้านหนึ่งจนเกินไป ควรแบ่งการลงทุนเป็นสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อการสร้าง Ecosystem อย่างยั่งยืน

แนวทางการสร้าง Digital Ecosystem ให้เป็นจริง

แล้วเราจะเริ่มสร้าง Digital Ecosystem ได้อย่างไร ? ก็ต้องย้อนกลับไปดู “หัวใจ” ของ Ecosystem ยุคใหม่มีอะไรบ้าง นั่นก็คือ Data Partnership และ Innovation

เริ่มสร้าง Digital Ecosystem ของตนเอง

1. เก็บข้อมูลที่จำเป็นจากลูกค้า เพื่อทำเป็นฐานข้อมูล ปรับเปลี่ยน product เพื่อตอบโจทย์และสร้างมูลค่า

2. จับมือกับพาร์ทเนอร์ที่คิดว่าเข้ากันได้กับผลิตภัณฑ์ของคุณ หรือมีเป้าหมายเดียวกัน ต้องการขยายกิจการให้เติบโตเหมือนกัน 

3. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์ให้แข็งแรง เชื่อมโยง product ของทั้งสองฝ่ายเพื่อทำฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น

4. ต่อยอดผลิตภัณฑ์ของตนเองจากข้อมูลทีได้รับมา สร้างมูลค่าของแบรนด์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความแตกต่าง และเชื่อมโยง Product นั้นๆ เข้าด้วยกันเป็นลูปเล็กๆ เช่นแอปพลิเคชั่นพลังงาน อาจเชื่อมโยงกับแอปนาฬิกาปลุกเพื่อทำการปิดไฟหรือเปิดไฟหลังปลุก เป็นต้น ถ้าเป็นสตาร์ทอัพเล็กๆ ควรเน้นการเชื่อมโยงง่ายๆ ก่อนจะขยายไปเรื่องใหญ่ๆ 

ตัวอย่างการใช้งาน Ecosystem 

นอกจาก Ecosystem ที่ยกตัวอย่างไปอย่าง Google แล้ว ยังมีการสร้าง Ecosystem ในบริษัทต่างๆ ให้เห็นอีกพอสมควร เช่น 

  • Alibaba : เริ่มต้นจากเว็บไซต์   E-commerce ต่อมาเพิ่มความสะดวกจ่ายเข้าสูระบบ Alipay มีพาร์ทเนอร์ในการจ่ายเงินเพิ่มขึ้น และเพิ่มร้านค้า Offline สร้างระบบให้คนใช้จ่ายเป็นลูปขนาดใหญ่
  • Amazon เริ่มต้นจากการเป็นเว็บไซต์ซื้อขายหนังสือ E-book และต่อยอดไป E-commerce และบริการดูหนังแบบสตรีมมิ่ง
  • IDEO CoLab บริษัททำหน้าที่สร้าง Ecosystem ที่ดีให้กับสตาร์ทอัพทั้งหลาย ด้วยการเข้าเป็นพาร์ทเนอร์ พัฒนางานของบริษัทอื่นๆ ตามความสำคัญ รวมถึงร่วมลงทุนในโปรเจ็คต่างๆ แสดงให้เห็นว่าแม้เป็นบริษัทที่ Partnership และความสามารถพนักงาน ในการจัดการ Ecosystem ก็ประสบความสำเร็จได้

จะเห็นได้ว่าตัวอย่างที่ยกมานั้นเป็นบริษัทใหญ่เป็นส่วนมาก แต่มีจุดร่วมคือทั้งหมดต่างเป็นบริษัทที่สร้างตัวจากการทำสิ่งเล็กๆ และขยายกิจการด้วยการสร้างสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมเป็นลูปขนาดใหญ่ สิ่งเหล่านี้เป็นหลักฐานว่าปัจจัยสำหรับ Ecosystem ไม่ใช่ความใหญ่ แต่เป็นการวางแผนที่รัดกุมและได้รับการสนับสนุนอย่างถูกต้อง

ไม่ใช่บริษัทที่ประสบความสำเร็จจึงจะสร้าง Digital Ecosystem ที่ดีได้ แต่เป็นบริษัทที่สร้าง Digital Ecosystem ที่มีคุณภาพต่างหากจึงประสบความสำเร็จ

PTT-ebook-2-startup

  • SUBSCRIBE TO BE
    THE FIRST INNOVATOR.

logo