Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

ธุรกิจ Food Delivery จะรุ่ง หรือ จะร่วง !?

18 ธ.ค. 2019
SHARE

เวลาเราสั่งอาหาร Grab และ GET! ทำไมค่าส่งถูกจัง?

 

ธุรกิจ Food Delivery

เพื่อนๆ เคยสั่งอาหารจาก Online Platform เช่น Grab, GET!, LINE MAN และ Food Panda แล้วจ่ายค่าส่งอาหารแค่ 10 บาท หรือ ค่าส่งฟรี แล้วสงสัยว่าทำไมค่าส่งอาหารถูกจัง? และถ้าค่าส่งอาหารถูกขนาดนี้ Online Platform เหล่านี้มีกำไรหรือไม่?

ธุรกิจ Food Delivery

TopRankThailand (2019) Retrieved from
https://www.toprankthailand.com/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%9E%
E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%
B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%
B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B5-2019/

จริงๆ แล้ว Online Platform เหล่านี้ “ณ ขณะนี้” ก็ไม่มีกำไรจริงๆ นั่นแหละ

สมมติว่าเราสั่งอาหาร 100 บาท แล้วจ่ายค่าส่ง 10 บาท (รวม 110 บาท) ค่าส่งที่ Platform ต้องให้คนขับนั้นสมมติว่ารอบละ 60 บาท จากที่ร้านอาหารจะได้ค่าอาหาร 100 บาท ส่วน Platform จะได้ค่าส่ง 10 บาท ในกรณีนี้แปลว่า Platform ต้อง “Subsidize” หรือ “ออกค่าส่งให้” ลูกค้าเท่ากับ 60-10 หรือ 50 บาท คือ นอกจากจะไม่ได้กำไรแล้วยังขาดทุนเพื่อที่จะส่งอาหารให้ลูกค้าอีก 

อย่างไรก็ตาม บางที Platform เหล่านี้ก็ได้เงินจากอีกช่องทางหนึ่ง ถ้าร้านอาหาร “แบ่ง Commission” ให้ (แต่ร้านที่ดังๆ คนเยอะๆ ก็ไม่ต้องแบ่งหรอกนะ) ในกรณีข้างบน สมมติว่าร้านอาหารตกลงจะแบ่ง Commission ให้ 10% Platform นั้นก็จะได้เงินทั้งหมด (100×10%)+10 = 20 บาท ในกรณีนี้ จากขาดทุน 50 บาท จะขาดทุนน้อยลงหน่อย คือ 40 บาท 

แล้วบริษัทเหล่านี้เอาเงินจากไหนมา Subsidize ล่ะ?

ธุรกิจ Food Delivery

บริษัทเหล่านี้จริงๆ ตอนแรกเป็นแค่บริษัทเล็กๆ เท่านั้นเอง แต่ที่มีเงินมา Subsidize ได้เป็นพันๆ ล้านก็เพราะได้เงินจากนักลงทุน ซึ่งส่วนมากจะเป็นนักลงทุน Venture Capital หรือ VC 

ถ้าเราลองไปค้นดูว่าบริษัทแต่ละบริษัทระดมทุนได้เงินมาคนละเท่าไหร่ จะพบว่า…

Grab Holdings ระดมเงินมาทั้งหมด $9.44 Bn (ณ เดือนมิถุนายน 2019) ส่วน Go-jek (บริษัทแม่ของแอพพลิเคชั่น GET! ในไทย) ระดมเงินมาทั้งหมด $3.25 Bn (ณ เดือนธันวาคม 2018)

นอกจากนั้นนักลงทุนบางรายยังมีเงินเยอะมากๆ อย่าง Softbank Vision Fund (Fund I) ซึ่งมีขนาดถึง $100 Bn หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 3 ล้านล้านบาท! เรียกได้ว่า สามารถใส่เงินไปได้เรื่อยๆ เลย (ถ้าเงินไม่หมดก่อนนะ เพราะแค่ WeWork บริษัทเดียวก็ใส่เงินไป $18.5 Bn แล้ว)

สรุปคือ นักลงทุน VC เหล่านี้แหละที่เป็นคนจ่ายเงิน Subsidize ให้ทุกคน 

ถ้าบริษัทขาดทุนย่อยยับแบบนี้ ทำไมยังมีคนลงทุนอีก?

ในสมัยก่อนเวลาเราเรียน MBA อาจารย์จะสอนว่า “เราควรที่จะขายของที่ถูกกว่าคู่แข่ง ก็ต่อเมื่อเรามี Cost Structure ที่ถูกกว่าเท่านั้น”

เรื่องนี้ไม่จริงเสมอไปอีกต่อไปแล้ว ในเกมส์นี้กฎมีอยู่ว่า “ใครเงินหมดก่อน ก็แพ้ไป” เพราะว่าถ้ามีนักลงทุนที่ยอมให้เงินมากๆ ทั้งๆ ที่บริษัทยังขาดทุนอยู่ ก็จะสามารถ Subsidize เพื่อ “Acquire Users” แบบนี้ไปได้จนมีจำนวน Users มากขึ้นจนสามารถสร้าง Networking Effect ให้เป็น Barrier to Entry, คู่แข่งเงินหมดและค่อยๆ หายไปทีละราย, มี Economies of Scale ที่ทำให้ Cost Structure ถูกลงจริงๆ (นักวิชาการบางรายก็ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับ Practice นี้ว่าคล้ายๆ กับการทำ “Predatory Pricing”)

ทีนี้ก็ขึ้นอยู่ว่าเราจะเชื่ออย่างไหน บริษัทบางรายก็อาจจะต้องปิดตัวลงจริงๆ แม้ว่าจะระดมเงินทุนไปมากมาย และก็มีบางบริษัทที่สามารถขาดทุนจนกลายเป็น Winner ในธุรกิจนั้น และกลายเป็นบริษัทที่มีกำไรขึ้นมา 

คำถามสำคัญที่เราต้องพยายามตอบนอกเหนือจากเรื่อง Competitive Advantage ที่จะทำให้บริษัทเป็นผู้เล่นที่เหลืออยู่ในตลาด ก็คือ “บริษัท (น่าจะ) ต้องการเงินอีกเท่าไหร่ก่อนจะมีกำไร” และ “นักลงทุนจะมีเงินพอที่จะ Support บริษัทไปจนถึงเวลานั้นไหม”

สำหรับในเมืองไทยในช่วงเวลานี้ เวลาสั่งอาหารแล้วไม่ต้องจ่ายค่าส่ง ก็ต้องบอกว่า “Thank you VCs!”

 

จัดทำโดย โครงการเอ็กสเพรสโซ
New call-to-action
  • SUBSCRIBE TO BE
    THE FIRST INNOVATOR.

logo