Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

2030 จับตาอนาคตอาหารโลก

23 มี.ค. 2020
SHARE

อนาคตอาหาร

Highlight 

  • พื้นที่ในการผลิตอาหารจะลดลง ในขณะที่ความต้องการอาหารมากขึ้น นวัตกรรมด้านอาหารจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น
  • โปรตีนจากแมลง (Insect-based Protein) และพืช (Plant-based Protein) จะได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะมีความ Sustain มากกว่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์ทั่วไป 
  • แรงกระเพื่อมทางสังคมที่สำคัญคือ Active Citizen ที่เห็นปัญหาจากการรับประทานเนื้อสัตว์ เสียงเรียกร้องต่างๆ จะส่งผลกระทบให้โปรตีนทางเลือกได้รับความสำคัญมากขึ้น

ทุกคนจำเป็นต้องกินเพื่อดำรงชีวิต แต่ภายใต้การกินของพวกเรานั้นมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงมาตามยุคตามสมัยโดยตลอด และปัจจุบันก็เป็นอีกจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้อาหารของโลกอาจพลิกโฉมจากหน้ามือเป็นหลังมือในอนาคต

ในวันนี้เราจึงได้สรุปใจความสำคัญส่วนหนึ่งจากการพูดคุยกับ CEO ของ Food Innopolis ผศ.ดร อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ถึงความเป็นไปได้สำหรับวงการอาหารในอนาคต มาให้ทุกท่านได้อ่านกัน

*โดยคุณสามารถฟัง podcast การสัมภาษณ์ฉบับเต็มที่ได้จากที่นี่
Spotify: https://open.spotify.com/show/56mHx2Qmozrs80Yxh526mQ
Anchor:
https://anchor.fm/patthadon-kalumpasut/episodes/Tech-Insight-EP-1—Future-Food-2030-eb381p
หรือ
Apple Podcast:
https://podcasts.apple.com/us/podcast/ptt-tech-insight/id1495191642?ign-mpt=uo%3D4

ทิศทางของอาหารของโลกจะเป็นอย่างไรในปี 2030

มุมมองแนวโน้มอาหารของโลก เราต้องดูการเปลี่ยนแปลงสำคัญหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น จำนวนประชากร การกระจายประชากรในภูมิภาคของโลก สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) หรือการเปลี่ยนแปลงในด้านการรับประทานอาหารของคนรุ่นใหม่

อนาคตอาหาร

หากเรามองภาพรวมของประชากรโลกออกเราก็จะสามารถคาดการณ์สิ่งต่างๆ ได้แม่นยำมากขึ้น โดยจำนวนประชากรจะเพิ่มอยู่แล้ว เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ดีขึ้นหากประชากรเพิ่มเป็น 1 หมื่นล้านคน ตัวเลขการกินจะเพิ่ม 60% แน่ๆ 

ตัวเลขของผู้สูงอายุโดยรวมจะเยอะขึ้น ในขณะที่พื้นที่ผลิตอาหารลดลง เกิดความเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย ซึ่งสอดคล้องกับพื้นที่เพาะปลูกบางแห่งที่อาจไม่สามารถดำเนินงานได้เพราะสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงในด้านการรับประทานอาหารเป็นอีกสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้ เนื่องจากคนปัจจุบันมีแนวโน้มจะบริโภคโปรตีนมากขึ้น 

อาหารจะมีความเฉพาะกลุ่มมากขึ้น

ภายใต้การพัฒนาด้านอาหาร ตัวอาหารบางประเภทอาจมีองค์ประกอบบางอย่างเพิ่มสูงเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม เช่น อาหารที่มีแคลเซียมสูงเพื่อแม่ที่ให้นมลูก อาหารที่มีโปรตีนเพื่อผู้ออกกำลังกาย อาหารบำรุงสมองสำหรับคนทำงานติดหน้าจอ

อาหารอาจถูกปรับปรุงพันธุ์หรือมีอุปกรณ์ใหม่ๆ ที่ใช้องค์ความรู้ต่างๆ เพื่อดูแลรักษาผลผลิต และรองรับความต้องการของผู้บริโภคได้ดีขึ้น

Active Citizen แรงกระเพื่อมที่สำคัญทางสังคม

เสียงเรียกร้องต่อการผลิตเป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้ผลิตต้องให้ความสำคัญ​ เช่น กรณีการเลิกใช้พลาสติกที่ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวาง สำหรับด้านอาหารคือการเปลี่ยนแปลงชนิดของเนื้อที่รับประทาน นอกจากการผลิตแล้ว คุณต้องคำนึงถึงสิ่งที่คุณทิ้งไว้ให้กับโลกด้วย

นั่นส่งผลให้เทรนด์ของ Plant-based Protein และ Insect-based Protein เกิดขึ้นบนโลก ซึ่งผลกระทบของโปรตีนทั้งสองประเภทนี้จะแตกต่างไปตามภูมิภาค 

ในแถบเอเชียอาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน การเปลี่ยนจากเนื้อแดงเป็นเนื้อปลาอาจมีมากขึ้น แต่ในแถบอเมริกา ยุโรป จะมีการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ชัดเจนกว่า ซึ่งอาจเปลี่ยนเป็น Plant-based Protein และ Insect-based Protein ก็ได้

ศักยภาพของไทยอยู่ที่ไหนแล้ว 

ศักยภาพของไทยต้องมองแยกเป็นสองส่วน ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตอาหารเพื่อโลกอยู่แล้ว ทั้ง Plant-based Protein และ Insect-based Protein รวมถึงส่วนประกอบอาหารอื่น เพียงแต่ประเทศไทยต้องการมาตรฐานของอาหารและการจัดการ Supply Chain ที่ดีกว่าตอนนี้

อนาคตอาหาร

โดยอุตสาหกรรมในภาพรวมอาจมีการปรับเปลี่ยน สร้างภาพของ High Value เข้าไปในการผลิต เพราะในปัจจุบันต้นทุนในประเทศไม่ได้ถูกอีกต่อไป

สรุป

อุตสาหกรรมอาหารของไทยถือเป็นข้อได้เปรียบอย่างมาก ไม่ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรคนย่อมต้องสรรหาอะไรเพื่อรับประทาน หากเราสามารถกำหนดยุทธศาสตร์ประเทศได้ดีและได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง ประเทศไทยอาจเปลี่ยนเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางอาหารของโลกได้

 

จัดทำโดย สถาบันนวัตกรรม

 

New call-to-action
  • SUBSCRIBE TO BE
    THE FIRST INNOVATOR.

logo