เดิมทีปัญหาขยะพลาสติกเป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่ผู้คนทั่วโลกต่างให้ความสนใจกันมากอยู่แล้ว และจากเหตุการณ์การเสียชีวิตของน้องพะยูนมาเรียมในเดือนสิงหาคม 2562 รวมถึงการตรวจพบไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทูโดยทีมนักวิจัยศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จ.ตรัง เมื่อเดือนกันยายน 2562 ก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงวิกฤติของปัญหาขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อม
Microplastics คือชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กที่มีขนาดเล็กมากกว่า 5 มิลลิเมตร และถูกปนเปื้อนลงไปในสภาพแวดล้อม ซึ่งไม่ได้หมายถึงพลาสติกประเภทใดประเภทหนึ่ง
ทั้งนี้ Microplastics สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน คือ
1) Primary Microplastics: เป็น Microplastics ซึ่งถูกผลิตขึ้นโดยตรงจากโรงงานตามวัตถุประสงค์การใช้งาน เช่น ไมโครบีดส์ (Microbeads) ในโฟมล้างหน้า สครับขัดผิว เครื่องสำอาง หรือยาสีฟัน รวมถึงจากกระบวนการเตรียมพื้นผิวหรือขัดผิวโลหะด้วยลม (Air Blasting Technology) ซึ่ง Microplastics ที่หลุดลอดออกมามักจะปนเปื้อนด้วยโลหะหนัก เช่น แคดเมียม โครเมียม และตะกั่ว นอกจากนี้ ยังมีจากแหล่งอื่นๆ ที่เรายังคาดไม่ถึง เช่น เส้นใยสังเคราะห์จากการซักเสื้อผ้า ชิ้นส่วนของยางที่สึกกร่อนหลุดออกมาจากการขับขี่ และยางรองพื้นสำหรับยึดหญ้าเทียมในสนามฟุตบอล ซึ่งเมื่อถูกฝนหรือน้ำชำระล้างก็จะไหลไปยังแหล่งน้ำต่างๆ ได้
2) Secondary Microplastics: เป็น Microplastics ที่เกิดจากพลาสติกที่มีขนาดใหญ่ เช่น ขวดน้ำ ตาข่ายจับปลา ถุงพลาสติก ที่มีการย่อยสลายตามกระบวนการทางธรรมชาติหลังจากที่ถูกทิ้งสู่สิ่งแวดล้อม เช่น แรงคลื่น แรงบีบอัด จุลินทรีย์ หรือแสงอาทิตย์ จนเกิดการแตกตัวกลายเป็นชิ้นเล็กๆ ทำให้ Microplastics ประเภทนี้มีรูปร่างที่หลากหลาย
ขณะนี้ Microplastics ถูกปล่อยลงสู่สภาพแวดล้อมค่อนข้างมาก และเนื่องจากมีขนาดเล็กมากจึงไม่สามารถกรองออกจากน้ำได้ ทำให้สัตว์ทะเลและมนุษย์ล้วนได้รับผลกระทบทั้งสิ้น เนื่องจาก Mircroplastic เป็นวัสดุที่ไม่ละลายน้ำ จึงจะปนเปื้อนอยู่ในทะเล ดังนั้นแต่ละประเทศจึงจำเป็นต้องมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของเพื่อใช้รักษาสมดุลในระบบนิเวศต่อไป
เมื่อทำการสืบค้นสิทธิบัตรจากฐานข้อมูล Derwent Innovation เกี่ยวกับ Microplastics จะพบสิทธิบัตรจำนวน 209 Patent Families โดยแนวโน้มในการยื่นจดสิทธิบัตรเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Microplastics เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่ปี 2016 โดยมีการยื่นจดสิทธิบัตรมากที่สุดในปี 2018 จำนวน 55 สิทธิบัตร ซึ่ง Top Assignees ที่ยื่นจดสิทธิบัตรมากที่สุด คือ Rohm&Haas ที่มีสำนักงานใหญ่ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ยื่นจดในช่วงปี 1987-1993 ซึ่งทั้งหมดจะเป็นสิทธิบัตรในกลุ่มเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นในเรื่องของโครงสร้าง การผลิต และการประยุกต์ใช้งาน Microplastics
หากแต่สิทธิบัตรในรุ่นหลังๆ จะเป็นเรื่องของการวิเคราะห์และการกำจัด Microplastics ดังเช่น Chinese Research Academy of Environmental Sciences ที่ยื่นจดสิทธิบัตรจำนวน 4 สิทธิบัตร โดยเป็นเรื่องของอุปกรณ์ วิธีการในการแยก และการเก็บตัวอย่าง Microplastics จากดินและน้ำ ซึ่งจะเห็นแนวโน้มการยื่นจดสิทธิบัตรที่แตกต่างไปจากยุคอดีต นั่นคือจะเน้นเรื่องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจาก Microplastics เป็นหลัก
ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูล Technology Landscape ซึ่งกลุ่ม Technology Area ที่มีผู้ทำการศึกษามากที่สุดในช่วง 4-5 ปี มานี้ คือ กลุ่ม SAMPLE, DETECTING, CANCER, MEASURING, CELL, SENSOR ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บตัวอย่างและตรวจจับ และเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยี 3 อันดับแรก คิดเป็น 45% ของจำนวนสิทธิบัตรที่ยื่นจดทั้งหมด
จัดทำโดย สถาบันนวัตกรรม
ติดตามข่าวสารและคอนเทนต์ดีๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อมที่คุณไม่ควรพลาด
ได้ที่ Facebook PTT ExpresSo
