Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

พลิกโฉมธุรกิจหลัง Covid-19: เมื่อช้อปออนไลน์อาจกลายเป็น New Normal

1 มิ.ย. 2020
SHARE

ทุกวิกฤตย่อมมีโอกาสแฝงอยู่ภายใน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะเห็นโอกาสต่างๆ ได้ก่อนกัน แม้แต่เรื่องของ Covid-19 ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้นแต่อย่างใด โรคภัยผลักดันให้การปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์เป็นไปได้ไวขึ้น ง่ายขึ้น และการช้อปสินค้าออนไลน์กลับกลายเป็น “เรื่องปกติ” หรือ New Normal สำหรับคนยุคนี้นั่นเอง

เมื่อโรคภัยส่งการซื้อขายให้พุ่งกระฉูด 

การที่แทบทุกคนถูกกักตัวอยู่บ้านเพื่อหลีกเลี่ยงโรคภัยนั้น ส่งผลให้การซื้อขายแบบเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในประเทศไทยที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการขยายตลาดจากแบรนด์ดังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Lazada, Shopee, JD Central หรือบริการสั่งอาหารจาก Grab หรือ Line

จากเดิมที่การซื้อของออนไลน์เป็นเพียงแค่ทางของคน “รุ่นใหม่” แต่ตอนนี้คนทุกวัยกลับเข้าถึงมันได้ง่าย พร้อมกับโปรโมชั่นที่มากมาย จนเรื่องเหล่านี้กลายเป็นเรื่องธรรมดา ข้อมูลจาก VISA เผยว่าผู้บริโภคชาวไทยที่เคยช้อปสินค้าออนไลน์ไปแล้ว กว่า 67% คาดว่าตนเองจะซื้อของออนไลน์มากขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งอาจส่งผลกะรทบต่อสังคมในระยะยาวในแง่ของเศรษฐกิจและการปรับตัว

จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายฝ่ายจะลงความเห็นว่า เรื่องการช้อปสินค้าออนไลน์หรือผ่านแอปพลิเคชั่น สุดท้ายจะกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า New Normal

เดิมที New Normal ถูกใช้เพื่อเปรียบเทียบสภาพเศรษฐกิจที่ถดถอยจนตัวเลขการเติบโตต่ำลง “กลายเป็นเรื่องปกติ” แทนที่จะมองภาพตัวเลขที่พุ่งกระฉูดแบบสมัยก่อน ซึ่งมันถูกขยายความใหม่อีกครั้งในแง่ของการทำการตลาด ที่เปรียบเทียบสิ่งใหม่ๆ ที่อาจมาแทนที่สิ่งเดิมๆ ในชีวิตประจำวันจนเป็นเรื่องปกติ 

สังคมเปลี่ยน ร้านค้าก็ต้องเปลี่ยน

ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่า เดิมทีช่วง 2018-2019 เป็นเวลาที่แพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์และระบบเดลิเวอรี่กำลังเติบโตอยู่แล้ว โดยเฉพาะในประเทศไทย แต่แน่นอนว่าหลายฝ่ายก็หวังผลจากการขายหน้าร้านมากกว่าและไม่ได้ลงมาเล่นในธุรกิจนี้แบบเต็มตัว ทว่าการเข้ามาของ Covid ในครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบกับสังคมอย่างมาก และกลายเป็นหนึ่งในจุดเปลี่ยน ที่ทำให้ไม่ว่าจะร้านเล็กหรือใหญ่ก็ต้องขยับ

ผู้แข่งขันในตลาดค้าปลีกที่เคยมีแผนการทำ Online Shopping เป็นส่วนเสริม กลับกลายเป็นว่าต้องผลักดันการเดลิเวอรี่ของตัวเองเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น 7-11 ที่ เปิด 7 Delivery แอปพลิเคชั่นซื้อของจากเซเว่น ต่อยอดระบบซื้อขายออนไลน์เดิมที่มีอยู่แล้วให้แข็งแกร่งขึ้นไปอีก

รวมไปถึง Supermarket ชื่อดังอย่าง Tops, Big C และ Lotus ที่ต่างก็มีการเสริมระบบการขายผ่านช่องทางออนไลน์ และโปรโมทการขายช่องทางนี้มากขึ้น ร้านค้ารายย่อยหลายร้านที่ได้รับผลกระทบ ก็เลือกจะเป็นพาร์ทเนอร์กับบริการขนส่งเดลิเวอรี่อย่าง Grab Lineman Get เพื่อขยายตลาดของตัวเองให้ใหญ่ขึ้นด้วยเช่นกัน

นั่นยังไม่นับรวมไปถึงระบบการขนส่ง ที่ผลสำรวจจาก iPrice ได้ยกประเทศไทยขนส่งสินค้าได้เร็วที่สุดในอาเซียนเป็นที่เรียบร้อย เป็นการยืนยันอย่างชัดเจนว่าความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเล่นๆ

แต่อย่าลืมว่าทุกการปรับตัวก็แฝงมาด้วยอะไรบางอย่างอยู่เสมอๆ 

ทำอย่างไรเมื่อการช้อปออนไลน์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

โจทย์นี้ไม่ใช่ปัญหาแค่ระดับบุคคล แต่เป็นปํญญาระดับประเทศ

เทคโนโลยีไทยพร้อมแค่ไหนกับการปรับตัว เรามีความปลอดภัยแค่ไหนในการส่งผ่านข้อมูลการซื้อขายสินค้าของผู้ค้าแต่ละเจ้า ภาคธุรกิจที่มีต้นทุนหนา ปรับตัวได้ อาจไม่ได้รับผลกระทบ แล้วจะทำอย่างไรกับผู้ค้ารายย่อย ที่วิถีชีวิตประจำวันของผู้ซื้อของเขานั้นเปลี่ยนไป

นอกเหนือจากกฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลที่ยังมีการปรับปรุงอยู่นั้น ภาครัฐอาจต้องพูดถึงความปลอดภัยและการดูแลข้อมูลการซื้อขายกันอย่างจริงจัง รวมถึงอธิบายถึงภาคประชาชนว่าเราสามารถดำเนินการได้อย่างไรหากเราพบปัญหาจากการซื้อขายสินค้าออนไลน์ รวมถึงศึกษาผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมระยะยาว หากการช้อปออนไลน์กลายเป็น New Normal

ส่วนภาคธุรกิจ นี่ก็อาจเป็นประเด็นปัญหาสำคัญ ว่าเราต้องปรับตัวอย่างไร ไม่ว่าจะเป็น 

  • ผันตัวเข้าสู่การขายแบบออนไลน์
  • สร้างเอกลักษณ์สำหรับการขายออฟไลน์
  • ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์เดลิเวอรี่ต่างๆ 
  • ปรับตัวในรูปแบบต่างๆ

เพราะในครั้งนี้โลกออนไลน์อาจไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงชั่วคราว แต่เป็นการพลิกโฉมวิถีชีวิตของเราหลังโรคระบาดไปตลอดกาล

New call-to-action
  • SUBSCRIBE TO BE
    THE FIRST INNOVATOR.

logo