Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

กลยุทธ์การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ Startup

14 ส.ค. 2019
SHARE

แหล่งเงินทุนหาได้ แต่กว่าจะมีเงินสนับสนุนเพียงพอก็จำต้องผ่านหลายสิ่งหลายอย่างมากมาย สตาร์ทอัพไม่ว่าจะหน้าใหม่หรือเก่า ต้องมีกลยุทธ์ 4 อย่าง เพื่อจะเข้าสู่ตลาดหรือการลงทุนได้อย่างภาคภูมิ ซึ่ง 4 อย่างนี้ได้แก่ 

1. เข้าใจแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม
2. ร่วมมือกับบริษัทใหญ่
3. ทำความเข้าใจตัวเองและนักลงทุน
4. สร้างเส้นทางด้วยการ Pitch

ถ้าพร้อมแล้ว ศึกษากลยุทธ์เหล่านี้กันเลย 

กลยุทธ์ 1 : เข้าใจแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมกับตนเอง

เราสามารถแบ่งแหล่งเงินทุนของสตาร์ทอัพออกได้ตามระดับของการลงทุนนั้นๆ ดังที่เคยระบุไว้ในบทความ ต่อฝันให้ถึงฝั่งด้วย Startup Funding ซึ่งนอกเหนือจากการ Funding หรือการระดมทุนที่ระบุไปแล้ว ยังสามารถแบ่งได้จากแหล่งที่มาด้วย ดังนี้

แน่นอนว่าแหล่งเงินทุนสามารถแบ่งยิบย่อยออกไปได้อีก จึงขอแนะนำว่าทางที่ดีควรเลือกแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมและศึกษารูปแบบว่า แหล่งทุนเหล่านั้นตรงกับสตาร์ทอัพของเราแค่ไหน หรือเราต้องการความช่วยเหลือด้านใด 

อย่างเช่น PTT ที่มีการจัดตั้ง Corporate Venture Capital (CVC) เพื่อลงทุนใน Startup กลุ่มดิจิทัลและพลังงาน รวมถึงสตาร์ทอัพรูปแบบอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินธุรกิจ ดำเนินการโดยทีม ExpresSo

กลยุทธ์ 2 : ร่วมมือกับบริษัทใหญ่ หนึ่งหนทางที่น่าสนใจของ Startup

หากเป็นสมัยก่อนการเริ่มทำสตาร์ทอัพคงเปรียบได้ด้วยวัฐจักรปลาใหญ่กินปลาเล็ก คือจะถูกปลาใหญ่จ้องจะกินเสมอ แต่ทุกวันนี้สถานการณ์ได้แตกต่างออกไป  ปลาใหญ่จะต้องอยู่ร่วมกับปลาเล็กเพื่อจะมีชีวิตรอด บริษัทใหญ่ๆ ก็ต้องอยู่ร่วมกับสตาร์ทอัพเพื่อความก้าวหน้าของตัวเอง 

สตาร์ทอัพเติบโตได้ด้วยตัวเอง ทว่าอาจไม่ใช่เรื่องง่าย กลยุทธ์ต่อมาคือการ “ร่วมมือกับบริษัทใหญ่” เพื่อเพิ่มความมั่นคง อำนาจต่อรอง ไปจนถึงเงินทุนและแนวทางการทำงาน

อีกสิ่งที่มองข้ามไม่ได้คือ “ความสามารถในการทำธุรกิจ”

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสตาร์ทอัพรุ่นใหม่บางส่วนมีปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจทางธุรกิจ ซึ่งการร่วมมือกับบริษัทใหญ่ยังทำให้มีการศึกษาทำความเข้าใจร่วมกัน สามารถทำธุรกิจในระยะยาวได้

อย่านำลิงไปว่ายน้ำแข่งกับปลา และอย่านำปลามาแข่งปีนต้นไม้กับลิง

ทุกคนล้วนมีความถนัดเป็นของตัวเองในบางจุดเราจำต้องปล่อยวางในบางเรื่องและให้ผู้เชี่ยวชาญในสายงานนั้นๆ ทำ และเราคอยศึกษาอยู่เบื้องหลังดีกว่า

กลยุทธ์ 3 : ทำความเข้าใจสิ่งที่ Startup ต้องการ VS สิ่งที่ผู้ลงทุนต้องการ

สำหรับแนวทางการทำธุรกิจ เมื่อสตาร์ทอัพมีการพูดคุยกับผู้ร่วมทุนแล้วในบางครั้งมันจะไม่ใช่ทุนให้เปล่า แต่เป็นการมุ่งหวังว่าตัวสตาร์ทอัพของเราจะพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีให้ตรงกับบริษัทที่ร่วมทุนได้อย่างไร หากต้องการเติบโตต้องมีการศึกษาข้อมูลในส่วนนี้ก่อนนำเสนองาน ไปจนถึงตอนทำสัญญาต่างๆ

ลองมาดูกันว่าจริงๆ แล้วหลักใหญ่ใจความของการร่วมทุน ฝั่งนักลงทุนต้องการอะไร และฝั่งเราต้องการอะไรบ้าง

สิ่งที่ Startup ต้องการ VS สิ่งที่ผู้ลงทุนต้องการ

แน่นอนว่าทั้งสองฝั่งต้องมีการ Balance ในการทำธุรกิจร่วมกัน และมีการติดต่อสื่อสารกันเพื่อปรึกษาหรือชี้แจงในประเด็นต่างๆ จะทำให้การทำงานราบรื่นและยั่งยืนที่สุด

กลยุทธ์ 4 : สร้างเส้นทางด้วยการ Pitch 

ทุกๆ การเริ่มต้นย่อมมีก้าวแรกเสมอ และก้าวแรกของการเข้าถึงแหล่งเงินทุนใหญ่เพื่อต่อยอดคงหนีไม่พ้นการนำเสนองานเพื่อหาผู้ที่สนใจมาลงทุน หรือก็คือการ Pitch นั่นเอง

เราจะ Pitch ยังไงได้บ้าง ? ขั้นตอนการไปนำเสนองานรูปแบบนี้มีหลากหลาย ตั้งแต่อีเวนต์รวมสตาร์ทอัพต่างๆ ที่เชิญเหล่านักลงทุนมาฟังไปจนถึงการนำเสนอตรงๆ กับผู้ร่วมทุนว่าสนใจสิ่งที่เราสร้างขึ้นมามากน้อยแค่ไหน

ถึงแม้ว่ามันจะดูง่ายๆ แต่การ Pitch นี่ล่ะคือจุดเปลี่ยนของธุรกิจ สิ่งสำคัญ 3 ประการที่ควรอยู่ในการ Pitch คือ

  • ระบุปัญหา หรือที่เรียกกันว่า painpoint อ้างอิงปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน พร้อมสถิติที่น่าเชื่อถือ มีตัวช่วย เช่น กราฟหรือแผนภาพที่คนฟังสามารถเข้าใจง่าย และตระหนักได้ว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นจริงและบางคนอาจมองข้ามมันไปได้ แต่ไม่ใช่กับเรา
  • สตาร์ทอัพเข้ามาแก้ปัญหาได้อย่างไร  ผลิตภัณฑ์หรือบริการของเราเข้ามาช่วยในปัญหานี้ได้อย่างไร มีคุณภาพมากแค่ไหน ทีมเราพร้อมแค่ไหน หากมี Product, Service, หรือ Solutions จริงควรนำเสนอฟังก์ชั่นต่างๆ ให้ครบถ้วน แสดงความชัดเจนและสังเกตผู้ฟังไปในตัว
  • รูปแบบการดำเนินธุรกิจ (Business model) และแผนธุรกิจ (Business plan) คุณต้องการ “ขาย” ใคร หากมีผู้ใช้งานมาแล้ว มีตัวเลขด้านรายรับ รายจ่าย ผู้ใช้งานเป็นอย่างไร เทคโนโลยีที่ต้องใช้ อาจไม่นำเสนอหมด แต่ต้องตอบคำถามทั้งหมดได้ระดับหนึ่ง

ควรมีการฝึกซ้อม วางแผน ทั้งผู้นำเสนอและ Pitch Desk (สไลด์นำเสนอ) ต้องสอดคล้องกัน ในบางครั้งการ Pitch จะมีกติกาอยู่ว่าห้ามเกินกี่นาที ควรศึกษากฎให้แม่นยำ บางจุดอาจต้องพึ่งมืออาชีพเข้าช่วยเหลือ อย่าเมินความสำคัญของการนำเสนอ เพราะมันคือก้าวแรกของการทำธุรกิจใหญ่

4 กลยุทธ์นี้คือตัวช่วยสำคัญที่ทำให้สตาร์ทอัพของคุณสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น PTT Expresso ขอเป็นกำลังใจให้ทุกความฝันถูกเติมเต็ม และมีกำลังมากพอที่จะก้าวกระโดดไปข้างหน้า เพื่อสร้างสังคมสตาร์ทอัพไทยให้แข็งแรง ยั่งยืนต่อไป

PTT-ebook-1-startup

  • SUBSCRIBE TO BE
    THE FIRST INNOVATOR.

logo