Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

เร็ว สะอาด เพิ่มศักยภาพให้ Food Delivery ด้วยมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า

SHARE

เร็ว สะอาด เพิ่มศักยภาพให้ Food Delivery ด้วยมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า

Food Delivery เป็นอีกธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมากทั่วทั้งโลก ทว่าภายใต้ความสะดวกรวดเร็วในการส่งอาหาร มันกลับส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมไม่น้อย โดยเฉพาะการปล่อยควันเสียออกจากมอเตอร์ไซค์ที่ใช้ส่ง และมลพิษทางเสียงบนท้องถนนที่เพิ่มมากขึ้น 

เหตุผลนี้เองที่ทำให้เทคโนโลยีพลังงานสะอาด กลายมาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการทำงานของเหล่า Food Delivery เพื่อความรวดเร็วในการขนส่งที่มากยิ่งขึ้นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Food Delivery

Food Delivery และเทคโนโลยีพลังงานสะอาด 

อัตราการเติบโตของ Food Delivery ในไทยนั้นสูงขึ้นกว่า 150% ในช่วงต้นปี 2020 และยังโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้คนเริ่มคุ้นชินกับความสะดวกในการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันเหล่านี้และการใช้ชีวิตแบบ New Normal ที่เน้นการลดสัมผัสและการออกไปข้างนอกเพื่อความปลอดภัย เรื่องนี้ส่งผลโดยตรงกับตัวเลขก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ที่ถูกปล่อยออกมาจากพาหนะ ซึ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ 

กระบวนการทำอาหารและการเลี้ยงสัตว์เองก็มีส่วนในการสร้างคาร์บอนอยู่แล้ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในการขนส่งนั้นเราได้เห็นปัญหาด้านมลพิษชัดเจนกว่า และส่งผลกระทบโดยตรงต่อคนเดินถนน ทำให้มีคนคิดเทคโนโลยีการใช้พลังงานสะอาดเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยเฉพาะการเปลี่ยนไปใช้พาหนะพลังงานไฟฟ้าที่มีความสะอาดมากกว่า เช่นมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 

สาเหตุที่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเน้นไปที่มอเตอร์ไซค์ เนื่องจากในประเทศแถบเอเชียที่มีการใช้มอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะหลักในการเดินทางและขนส่งสินค้าอยู่แล้ว สิ่งที่ถูกเปลี่ยนคือ “พลังงาน” ในการทำงานของมอเตอร์ไซค์เท่านั้น เพิ่มเติมคือความเงียบในการทำงาน โดยคงความเร็วและแรงที่เหมือนเดิม เหมาะสมกับธุรกิจนี้โดยเฉพาะ 

แนวคิดนี้ไม่ใช่แค่เรื่องเพ้อฝัน แต่มีตัวอย่างการใช้งานจริงแล้วทั้งในไทยและต่างประเทศดังนี้

ตัวอย่างการใช้งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ากับงาน Food Deilvery 

Grabfood Green Wheels โครงการเปลี่ยนระบบขนส่งอาหารด้วยมอเตอร์ไซค์พลังงานสะอาด ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงรถขนส่งอาหารจำนวน 50 คันให้กลายเป็นมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า โดยคาดหวังว่าปริมาณมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจะมากขึ้น และส่งผลให้เกิดโครงการอื่นๆ ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต

Food Delivery เมืองเฉิงตู มีการเปลี่ยนมอเตอร์ไซค์แทบทั้งหมดของบริการ Food Delivery ให้กลายเป็นมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เนื่องจากนโยบายของประเทศจีนที่ต้องการลดมลพิษทางอาการ รวมถึงมีส่วนลดของราคารถและแบตเตอรี่ นอกเหนือจากนั้นยังเป็นการใช้ Battery Swapping ที่ทำเพียงสลับแบตเตอรี่ก็สามารถขนส่งต่อได้ ไม่จำเป็นต้องมีการรอชาร์จไฟ

ส่วนในประเทศอื่นๆ โซนยุโรปและอเมริกายังไม่มีโครงการประเภทนี้ที่ถูกโปรโมตขึ้นมามากนัก คาดว่าเกิดจากมีคนใช้จักรยานและสกูตเตอร์ไฟฟ้าเป็นประจำอยู่แล้ว ส่วนของการเปลี่ยนแปลงจึงเน้นไปในการผลักดันใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนตัว และบริการขนส่งมวลชนจากไฟฟ้าแทน

Food Delivery

Battery Swapping หนทางใหม่ของพลังงานการขนส่งในไทย

ชัดเจนว่าช่วงเวลาในการชาร์จที่ค่อนข้างนานนั้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถในการส่งของเหล่า Food Delivery ดังนั้นจึงมีการคิดค้นเทคโนโลยี Battery Swapping ขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงาน ดังที่ยกตัวอย่างของเมืองเฉิงตู ที่พนักงานขนส่งมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่กับสถานีโดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาชาร์จไฟ

เมื่อย้อนดูในไทยแล้ว ประเทศของเราก็มีความสนใจในการใช้กระบวนการคล้ายกัน ซึ่งคือธุรกิจต้นแบบ บริษัท สวอพ แอนด์ โก จำกัด (Swap & Go) ที่ให้บริการสถานีตู้ชาร์จและสลับแบตเตอรี ซึ่งเริ่มต้นให้ครอบคลุมบริเวณใจกลางเมืองกทม. ภายใต้การสนับสนุนของ ปตท. โดย Swap & Go นำเสนอเป็นระบบสมาชิกให้ผู้ใช้งาน สามารถใช้ QR Code เพื่อปลดล็อกแบตเตอรี่ สลับกับแบตเตอรี่ด้วยตัวเอง ซึ่งใช้เวลาเพียงสองถึงสามนาทีเท่านั้น นับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่น่าสนใจในการขยายความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน อีกทั้งช่วยส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดการใช้งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ความก้าวหน้าด้านการขนส่งกับการใช้งานพลังงานสะอาด

มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าและงานด้าน Delivery เป็นเพียงส่วนเดียวกับการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยเข้าสู่การใช้พลังงานสะอาดอย่างเต็มตัว ที่แม้จะมีตัวอย่างชัดเจนจากผู้ให้บริการใหญ่อย่าง Grab แล้ว หรือการเปิดให้บริการชาร์จไฟและ Battery Swapping อย่าง Swap & Go แต่ก็ยังเป็นเพียงส่วนน้อย สำหรับการใช้งานระบบคมนาคมทั้งหมดของประเทศ

เรื่องนี้จึงกลายเป็นโจทย์สำคัญสำหรับประเทศไทย ว่าเราจะสามารถผลักดันการคมนาคมที่สะอาดนี้ไปได้ไกลได้มากขนาดไหน และมีการสนับสนุนให้ภาคประชาชนหันมาใช้งานพาหนะไฟฟ้าอย่างไร ไม่เช่นนั้นภาพของฝุ่นควันบนถนนไทยก็ยังเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไปอีกนานเลยทีเดียว

New call-to-action

เปลี่ยนชีวิตให้ง่าย ด้วย Battery Swapping สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า

SHARE

มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า คือยานพาหนะพลังงานทางเลือกที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจากในไทยและต่างประเทศ โดยมีกระแสรักษ์โลกเป็นปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญ ทว่าประเด็นสำคัญสำหรับการใช้งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้านอกเหนือจากราคาแล้วยังอยู่ที่ “ความเร็วในการชาร์จพลังงาน” ที่ใช้เวลาราวสองชั่วโมง แนวคิดของ Battery Swapping จึงเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ

มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า

Battery Swapping กับอนาคตในการใช้งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 

Battery Swapping คือการสลับแบตเตอรี่ที่ผ่านการใช้งานมาแล้วจนใกล้หมดกับแบตเตอรี่ที่สถานีหรือตู้ชาร์จซึ่งได้รับการชาร์จพลังงานจนเต็มแล้ว ช่วยลดระยะเวลาในการชาร์จแบตที่ใช้เวลาหลักชั่วโมง เหลือเพียงแค่การสลับแบตไม่กี่นาทีเท่านั้น 

คอนเซปต์นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 18 พร้อมๆ กับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า โดยเทคโนโลยีสลับแบตเตอรี่ได้ถูกประยุกต์มาเรื่อยๆ 

สำหรับพาหนะที่ได้รับความนิยมในการใช้เทคโนโลยี Battery Swapping นั้นมักเป็นพาหนะขนาดเล็กเช่นมอเตอร์ไซค์ ที่สามารถเปลี่ยนแบตได้ง่าย สามารถเก็บแบตสำรองไว้ในคันรถได้ง่าย ผู้ใช้งานต้องการความรวดเร็วในการขับไปไหนมาไหน 

แล้วทำไมเราไม่ค่อยได้เห็นหรือรู้จัก Battery Swapping มากนัก แม้ว่าเทคโนโลยีเกี่ยวกับรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจะเข้ามาในไทยนานแล้ว เรื่องนี้อาจต้องย้อนไปดูการสนับสนุนของเทคโนโลยีรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ที่ปัจจุบันยังน้อยและไม่ทั่วถึง รวมถึงขาดการสนับสนุนหรือส่งเสริมการใช้ที่จริงจังจากภาครัฐ ทำให้ Battery Swapping ยังคงอยู่แค่ใน “แผน” หรือมีอยู่อย่างจำกัด

แนวคิดนี้ใช้ได้จริงแค่ไหน ? ตัวอย่างที่ดีที่สุดของเรื่องนี้เห็นจะเป็นประเทศไต้หวัน ที่มีการใช้งานรถมอเตอร์ไซค์และสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลาย และแบรนด์สำคัญของเรื่องนี้คือ Gogoro 

Gogoro เป็นแบรนด์สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าในไต้หวันที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยมีจุดสลับแบตอยู่มากกว่า 1,000 แห่งทั่วประเทศไต้หวัน และมีแผนขยายเกือบ 2,000 ภายในปี 2563 แบรนด์ดังกล่าวสามารถขยายสถานีแบตได้มากขนาดนี้นอกจากประสิทธิภาพการใช้งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแล้ว ยังมีการสนับสนุนจากรัฐบาล ทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการทำงาน

นอกจากประเทศไต้หวันแล้ว จีน และอินเดียก็เป็นอีกประเทศที่มีการสนับสนุนเทคโนโลยีการสลับแบตเตอรี่ โดยหวังว่าจะเปลี่ยนยานพาหนะในประเทศให้กลายเป็นยานพาหนะไฟฟ้า เพิ่มความต้องการใช้งานพลังงานสะอาดให้มากขึ้น

ข้อดีของ Battery Swapping 

Battery Swapping คือแนวคิดที่มีข้อดีที่หลากหลาย ไม่ว่าจะใช้งานกับมอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์ไฟฟ้าก็ตาม โดยข้อดีที่เด่นชัดของระบบดังกล่าวมีดังนี้

สามารถเปลี่ยนแบตได้แบบรวดเร็ว ไม่ต้องรอการชาร์จ การชาร์จไฟโดยทั่วไปของแบตเตอร์รี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจะกินระยะเวลาราว 2 ชั่วโมงต่อการวิ่ง 50-80 กิโลเมตร ทว่าด้วยรูปแบบการสลับแบตเตอรี่นี้จะช่วยย่นระยะเวลาให้การชาร์จพลังงานเหลือเพียง 2-3 นาทีต่อครั้งเท่านั้น

สามารถตรวจสอบคุณภาพแบตได้จากแท่นชาร์จ การสลับแบตเตอรี่ไม่ใช่แค่การดึงแบตออกมาจากแท่นชาร์จเฉยๆ แต่มีการยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชัน รวมถึงการตรวจสอบแบตเตอรี่ภายในแท่นชาร์จ เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าการใช้งานแบตเตอรี่ทั้งหมดจะสามารถทำได้อย่างเต็มที่ 

ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน การต่อสายชาร์จและรอจ่ายเงินจะไม่จำเป็นอีกต่อไป ในเมื่อเราสามารถใช้มือถือเพื่อยืนยันตัวตนและดึงแบตเตอรี่ออกมาเปลี่ยนได้เลย 

แนวคิดของ Battery Swapping ไม่เพียงมีการใช้งานในมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเท่านั้น ยังรวมไปถึงการใช้งานร่วมกับรถยนต์อีกด้วย ซึ่งล่าสุดบริษัท NIO จากประเทศจีนได้มีการโชว์เทคโนโลยีเปลี่ยนแบตเตอรี่ในรถยนต์ด้วยระบบอัตโนมัติ เพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้แก่ผู้ใช้งานมากขึ้นไปอีก ซึ่งน่าสนใจว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะมีการต่อยอดอย่างไรในอนาคต

Battery Swapping กับการแก้ปัญหาพลังงานอย่างยั่งยืน

แม้ว่าบริการ Battery Swapping จะเปิดให้บริการมาแล้วหลายประเทศ ทว่าผลของการใช้งานระบบดังกล่าวนั้นกลับมีความแตกต่างกันออกไป 

ปัจจัยที่สามารถเห็นได้ชัดในเรื่องนี้คือการสนับสนุนจากรัฐบาล และความนิยมในการใช้รถประเภทต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นแบรนด์มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า Gogoro ที่ได้เอ่ยถึงก่อนหน้า ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไต้หวัน ทำให้ประสบความสำเร็จด้านการขยายสถานีชาร์จพลังงานและสลับแบตเตอรี่ จนกลายเป็นแบรนด์เดียวที่สามารถเติบโตได้อย่างเห็นได้ชัดเจน

กลับกันในประเทศอื่นๆ แม้ว่าจะมีการวางระบบ Battery Swapping เอาไว้ แต่กลับติดปัญหาในแง่ของการใช้รถต่างแบรนด์ที่ไม่รองรับประเภทของแบตเตอรี่ การขาดการสนับสนุนจากรัฐ ทำให้ประชาชนไม่สามารถใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่นัก

เรื่องดังกล่าวถือเป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจ ว่าในการการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาพลังงานนั้น การแข่งขันอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป การที่บริษัทใหญ่จับมือบริษัทเล็ก หรือหลายๆ บริษัทร่วมกับพัฒนาเทคโนโลยีโดยมีภาครัฐสนับสนุน และตั้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้พลังงานอย่างเข้มงวดจะสามารถ “ช่วย” โลกใบนี้ได้มากกว่า ดังที่เกิดขึ้นกับประเทศไต้หวันมาแล้ว 

สำหรับประเทศไทย ปตท. ให้ความสนับสนุนการขยายตัวของการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า จึงริเริ่มโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดย บริษัท สวอพ แอนด์ โก จำกัด (Swap & Go Co.,Ltd.) เป็นหนึ่งในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และเครือข่ายแบตเตอรี่สวอพ (Battery Swapping) แก่ผู้ใช้งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า

มุ่งเน้นให้บริการแบตเตอรี่โดยเฉพาะ ซึ่งน่าจับตามองว่าการลงทุนดังกล่าวจะส่งผลอย่างไรต่อการพัฒนานวัตกรรมพลังงานสะอาดในประเทศไทย

PTT_ebook-EV

  • SUBSCRIBE TO BE
    THE FIRST INNOVATOR.

logo