นักวิทยาศาสตร์พบว่า เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงแบบ AR (Augmented Reality) ช่วยสร้างประสบการณ์ที่ทำให้มนุษย์เข้าใจวิกฤตสภาพภูมิอากาศของโลกได้ดีขึ้น
Data-Driven EnviroPolicy Lab คือ กลุ่มสหวิทยาการของนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และโปรแกรมเมอร์ที่ Yale-NUS College ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งได้ศึกษาผลการใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงแบบ AR เพื่อสื่อสารปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยพบว่าเทคโนโลยี AR ช่วยทำให้มนุษย์ตระหนักถึงสาเหตุ ผลกระทบ และอันตรายของปัญหาได้อย่างลึกซึ้ง
ตัวอย่างเช่น การทดสอบโดยให้คนลองตัดต้นไม้ผ่านเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง ขณะที่เขารู้สึกถึงการสั่นสะเทือนและเสียงของเลื่อยไฟฟ้า จะส่งผลให้บุคคลนั้นมีแนวโน้มที่จะประหยัดการใช้กระดาษในชีวิตจริงมากขึ้น
ปัจจุบันการใช้เทคโนโลยี AR ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น
บทความนี้เรามีตัวอย่าง 3 แนวทางการใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงแบบ AR เพื่อสร้างโลกสีเขียวอย่างยั่งยืน และการรับมือกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในอนาคตมาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้
1. การสร้างความตระหนักถึงปัญหา Climate Change
เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี วันคุ้มครองโลก (Earth Day) เมื่อเดือนเมษายนปี 2020 นิตยสาร National Geographic ได้เปิดตัวหน้าปกฉบับพิเศษที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง Spark AR ของ Instagram เพื่อให้ทุกคนบน Instagram สามารถใช้งานได้ ไม่จำกัดเฉพาะผู้ติดตามของ @natgeo เท่านั้น
หน้าปกฉบับพิเศษนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างกระแสทางโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับปัญหา Climate Change ดึงดูดให้ผู้คนตระหนักถึงคำเตือนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้เห็นข้อมูลสภาพอากาศที่คาดการณ์ไว้ใน 12 เมืองสำคัญทั่วโลก และรับรู้ได้ว่าโลกจะรู้สึกอย่างไรในปี 2070
เมื่อสแกนไปที่หน้าปก ผู้ใช้จะมองเห็นโลกเป็นแบบจำลอง 3 มิติและสามารถเดินไปรอบๆ ขณะหมุนได้ โลกจะแสดงจุดสีเหลืองในเมืองใหญ่ 12 เมือง เช่น Los Angeles, London, Istanbul, Chennai เมื่อคลิกที่แต่ละจุดจะแสดงข้อมูลสภาพอากาศปัจจุบันของเมืองนั้น ซึ่งบางเมืองจะแสดงเส้นไปยังเมืองอื่นที่คาดว่าจะมีสภาพอากาศแบบเดียวกันในอีก 50 ปีข้างหน้าด้วย
ยกตัวอย่างสภาพอากาศของเมือง Los Angeles มีความเชื่อมโยงกับจังหวัด Ouezzane ใน Morocco ดังนั้น ภายในปี 2070 เมือง Los Angeles จะรู้สึกเหมือนกับ Morocco ในทุกวันนี้ ส่วนที่ Hanoi เมืองหลวงของเวียดนาม ไม่ได้มีสภาพอากาศที่เชื่อมโยงกับเมืองใดๆ ดังนั้น ภายในปี 2070 ฮานอยจะรู้สึกไม่เหมือนกับที่ใดในโลกทุกวันนี้
How to Share With Just Friends
How to share with just friends.
Posted by Facebook on Friday, December 5, 2014
The Anthropocene Education Program เกิดจากความร่วมมือระหว่าง The Royal Canadian Geographical Society (RCGS) และ The Anthropocene Project (TAP) เป็นโครงการรวบรวมสื่อภาพยนตร์ ศิลปะ และความเสมือนจริงที่ถูกเติมแต่งให้มีความสวยงาม พร้อมช่วยปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการสื่อสารให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามนุษย์มีผลกระทบต่อสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมอย่างไร รวมทั้งออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนิสัยและพฤติกรรมของคนรุ่นต่อไปในอนาคต
Gilles Gagnier ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการและผู้จัดพิมพ์ RCGS กล่าวว่า “ด้วยเครื่องมือเหล่านี้ ครูจะสามารถสนับสนุนให้นักเรียนมองเห็นถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเอง เนื้อหาทางวิชาการจะแทรกอยู่ในกิจกรรมและบทเรียน ซึ่งออกแบบมาเพื่อพัฒนาความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง และนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมเชิงบวก”
โปรแกรมการศึกษานี้ช่วยให้ครูในประเทศแคนาดาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทั้งในรูปแบบของภาพยนตร์สั้นเพื่อการศึกษา รูปภาพแบบ Interactive ประสบการณ์โลกเสมือนจริงแบบ AR และอื่นๆ
นอกจากนี้ ทางโครงการยังได้ผลิตคู่มือและแผนการสอนสำหรับครูที่เชื่อมโยงกับหลักสูตร โดยมีเป้าหมายเข้าสู่ห้องเรียนทั่วประเทศแคนาดาให้ได้มากกว่า 25,000 แห่ง
3. การสร้างเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เมื่อผู้คนเริ่มตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อน และรัฐบาลในหลายประเทศกำลังวางแผนสร้างเมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืนเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชน เช่น ประเทศสิงคโปร์ลงทุนงบ 73 ล้านดอลลาร์ให้กับโครงการ Virtual Singapore หรือในประเทศอินเดียที่นำซอฟต์แวร์ Smart World Pro ของ Cityzenith มาใช้กับเมือง Amaravati ในรัฐ Andhra Pradesh เพื่อสร้างเมืองฝาแฝดดิจิทัล
เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงแบบ AR (Augmented Reality) จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้ โดยมีเป้าหมายที่จะรวมโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค หรืออุปกรณ์ที่ช่วยฟื้นฟูสภาพอากาศ เพิ่มความสะดวกในการกำกับดูแลควบคู่กับการพัฒนาพื้นที่สาธารณะด้วยการบูรณาการแบบองค์รวม ทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล การจัดการทรัพยากร ความปลอดภัย สุขภาพ การคมนาคม ตลอดจนการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่
นอกจากนี้ ยังมีความพยายามที่จะผลักดันให้พลเมืองเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นผ่านการใช้เทคโนโลยี AR
เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจพิมพ์เขียวของสถานที่ต่างๆ ได้ แต่เมื่อมีเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างเมืองเสมือนจริงในรูปแบบแผนที่ดิจิทัล 3 มิติที่ผู้คนสามารถเดินอยู่บนนั้น โต้ตอบกับวัตถุและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ในทันที
จึงช่วยให้ผู้คนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมกับชุมชนผ่าน AR ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่เพียงแค่นั้น เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงแบบ AR ยังช่วยออกแบบเมืองด้วยการเก็บข้อมูลตำแหน่งในทุกองค์ประกอบที่เป็นไปได้สำหรับใช้ติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ตั้งแต่คุณภาพอากาศ การบุกรุกพื้นที่ และการเกิดไฟป่าที่รุนแรง ซึ่งการทราบข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานภาคสนาม หาทางป้องกันและควบคุมสถานการณ์ได้ทันท่วงที รวมทั้งยังเป็นแนวทางให้กับบุคลากรทางการแพทย์ นักดับเพลิง และเจ้าหน้าที่ตำรวจในการจัดการเหตุฉุกเฉินต่างๆ ได้อีกด้วย
สรุป
ในบทความนี้จะเห็นได้ว่าความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีโลกเสมือนจริงแบบ AR กับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมไม่จำเป็นต้องเดินสวนทางกันเสมอไป แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในหลายแนวทาง ได้แก่
- สร้างความตระหนัก ให้ผู้คนเห็นความสำคัญและเข้าใจถึงผลกระทบของปัญหา
- สร้างโปรแกรมการศึกษาที่ช่วยสอนและปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้คนรุ่นใหม่
- สร้างเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
หวังว่าจุดเริ่มต้นของแนวทางเหล่านี้จะกลายเป็นแรงบันดาลใจที่ช่วยส่งต่อการเปลี่ยนแปลงที่ดียิ่งขึ้นทั้งในระดับบุคคล สังคม และนานาประเทศทั่วโลก
เมื่อถึงวันนั้นการสร้างโลกสีเขียวที่ยั่งยืนก็จะไม่ได้เป็นเพียงแค่โลกเสมือนจริงอีกต่อไป
