Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

เปิดเทรนด์ Blockchain การเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในปี 2021

SHARE

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าจุดกำเนิดความน่าสนใจของเทคโนโลยี Blockchain ในสายตาคนทั่วไปคือเหล่าเงินดิจิทัล Cryptocurrency ที่เคยพุ่งกระฉูดเมื่อช่วงปี 2018 แต่แท้จริงแล้วเทคโนโลยีนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลายกว่าการเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนเพียงอย่างเดียว เนื่องจากตัวของ Blockchain คือการเก็บข้อมูลโดยไม่ใช้ศูนย์กลาง ย้อนกลับไม่ได้ แก้ไขได้ยาก สามารถตรวจสอบได้ 

นั่นหมายความว่า งานอะไรก็ตามที่ใช้ข้อมูล มีโอกาสที่ Blockchain จะเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก แม้ว่าจะไม่มีข่าวในไทยออกมากนักก็ไม่ได้หมายความว่าในระดับโลกไม่มีการใช้งาน กลับกัน ความนิยมของ Blockchain ตามประเทศต่างๆ กลับพุ่งสูงอย่างไม่น่าเชื่อ 

เทรนด์ Blockchain ในปี 2021

การใช้งาน Blockchain as a Service (Baas) 

Blockchain จะไม่ไกลตัวคนอีกต่อไป แต่จะถูกประยุกต์ให้ใครใช้งานก็ได้ตามหลักบริการอย่าง Cloud Computing ในช่วงปี 2020 ก็มีบริษัทด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่มากมายเข้ามาให้บริการนี้ ไม่ว่าจะเป็น Amazon Web Services (AWS), IBM Blockchain Platform, Microsoft Azure และ Alibaba Cloud Blockchain as a Service 

จากแนวโน้มดังกล่าว จึงระบุได้ว่าในอนาคตนอกเหนือจากบริษัทใหญ่เหล่านี้ ย่อมมีบริษัทเล็กๆ เริ่มเปิดให้บริการเกี่ยวกับ Blockchain เพื่อตอบสนองความต้องการอันหลากหลายในการใช้งานอีกแน่นอน ซึ่งเพิ่มความเฉพาะทางมากขึ้น และมาพร้อมกับราคาบริการที่ถูกลง

สกุลเงินดิจิทัลที่ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ 

Bitcoin อาจเป็นชื่อที่คุ้นหูเรามากที่สุดในฐานะ Cryptocurrency หรือ “ทอง” ท่ามกลางสกุลเงินดิจิทัลต่างๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีสกุลเงินอื่นๆ เข้ามามีบทบาทในอนาคต โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เทคโนโลยี Blockchain มีการพัฒนามากขึ้น

Blockchain

2021 จึงเป็นอีกปีที่ผู้อยู่ในวงการ Blockchain คาดการณ์ว่าสกุลเงิน Cryptocurrency เหล่านี้จะเปลี่ยนบทบาทจาก “การเก็งกำไร” ที่เราเห็นได้ในปัจจุบัน เป็นการใช้จ่ายจริงๆ โดยเฉพาะสกุลเงิน LIBRA ของทาง Facebook ที่ระบุว่าตัวเองเป็น Stable Coin ที่มีสินทรัพย์จริงรองรับ และมีการร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนอื่นๆ มากมาย

สำหรับในไทยเองก็มีโครงการอินทนนท์ ที่เป็นสกุลเงินดิจิทัลซึ่งประยุกต์ใช้ระบบ Blockchain เช่นกัน โดยเราอาจเห็นความคืบหน้าในการใช้งานในเวลาอันใกล้นี้

การเก็บข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ จะใช้ Blockchain มากขึ้น

การจัดการข้อมูลแบบไม่มีศูนย์กลางคือสิ่งที่ตอบโจทย์ด้านความโปร่งใสมากที่สุด ดังนั้นการประยุกต์เข้ามาใช้กับหน่วยงานรัฐ เอกชน และโรงพยาบาลต่างๆ ในระดับสากลจึงถือเป็นคำตอบที่เหมาะสมอย่างยิ่ง 

แน่นอนว่าเรื่องนี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาอันใกล้นักสำหรับในไทย ทว่าบุคลากรในหน่วยงานสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ก็เคยให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ช่วงปี 2017 ถึงความเป็นไปได้ในการใช้งาน ก็อาจต้องติดตามกันในระยะยาวว่า ช่วงเวลาใดกันแน่ที่จะมีการผลักดันเทคโนโลยีดังกล่าวสำหรับหน่วยงานรัฐเพื่อการพัฒนาด้านข้อมูลที่ดียิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากขึ้น

Blockchain

การ “เปลี่ยน” ระบบ Blockchain ขนาดใหญ่

เรื่องนี้ถูกคาดการณ์โดย Adrian Lee ผู้เป็น Senior Research Director ของ Gartner บริษัทวิจัยด้านไอที ตั้งแต่ช่วงปี 2019 ว่าการใช้งาน Blockchain ของหลายๆ บริษัทนั้นขาดความรู้ความเข้าใจว่าจะสามารถเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างไร ด้วยสาเหตุนั้นเองทำให้ในอนาคตเราอาจได้เห็นการ “ยกเครื่อง” ระบบฐานข้อมูลของบริษัทที่ใช้ Blockchain ในปัจจุบัน ซึ่งน่าจับตามองว่าจะมีบริษัทไหนมีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบนี้บ้าง 

การร่วมมือกันระหว่างระบบที่มากขึ้น

ยิ่งผู้ใช้บริการมากเท่าไหร่ ก็ย่อมมีผู้ให้บริการมากขึ้นเป็นเงาตามตัว และสิ่งที่ตามมาก็คือระบบที่แตกต่างระหว่างบริษัทที่อาจส่งผลกระทบระยะยาวเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลได้ โดยในอนาคตปี 2021 เราอาจได้เห็นภาพของระบบที่แตกต่างสามารถใช้งานได้ร่วมกันมากขึ้น

Blockchain

ข้อควรรู้ก่อนเริ่มประยุกต์ใช้งาน Blockchain 

Blockchain เหมาะกับการทำงานของเรามากแค่ไหน

การใช้งาน Blockchain นั้นครอบคลุมแทบทุกอุตสาหกรรมก็จริง ทว่าก่อนที่จะเริ่มประยุกต์ใช้งานเข้ากับบริษัท เราอาจต้องตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่าในบริบทการทำงานของบริษัทนั้น “จำเป็นมากขนาดไหน” ที่จะต้องใช้ Blockchain เพราะในการทำงานที่ดีนั้นควรเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะมากกว่าเทคโนโลยีที่ใหม่ 

เลือกผู้ให้บริการที่เชื่อถือได้

การใช้งาน Blockchain ณ ปัจจุบันก็มีผู้ให้บริการที่หลากหลายระดับหนึ่งอยู่แล้ว หากในปีต่อๆ ไปจะมีการดำเนินงานในด้านนี้ อาจต้องมีการตรวจสอบผู้ให้บริการ รวมถึง Services ที่รองรับให้ละเอียดขึ้น เนื่องจากผู้ให้บริการแต่ละเจ้าก็จะมีความถนัดและราคาที่แตกต่างกันออกไป 

การใช้งาน Blockchain กับประเทศไทย 

จะเห็นได้ว่า แม้จะไม่ได้มีการโปรโมทอย่างเป็นทางการมากแต่ก็มีแผนการการใช้งาน Blockchain ในประเทศไทยอยู่มากพอสมควร และบางส่วนเริ่มดำเนินการไปแล้ว เช่นโครงการอินทนนท์ของธนาคารกลางที่ทดลองดำเนินการธุรกรรมกันแล้ว 

นอกจากในส่วนของธนาคารแล้ว Blockchain เองก็จะเข้ามามีบทบาทด้านพลังงานในไทยด้วย โดยทาง PTT มีการจับมือกัน Energy Web Foundation (EWF) บริษัทด้าน Blockchain ที่มีความเชี่ยวชาญด้านพลังงาน เพื่อพัฒนาระบบที่เกี่ยวกับพลังงานทดแทน นอกเหนือจากนั้นยังมีการร่วมมือกับธนาคาร 22 ธนาคาร เพื่อพัฒนาหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย ซึ่งในปี 2021 ก็มีโอกาสที่ blockchain จะขยายความเป็นไปได้มากขึ้นไปอีกทั้งไทยและต่างประเทศ

New call-to-action

  • SUBSCRIBE TO BE
    THE FIRST INNOVATOR.

logo