Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

Manufacturing Automation: ยกระดับการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ

SHARE

Manufacturing Automation ได้ปฏิวัติและยกระดับภาคการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก เนื่องจากความก้าวหน้าของวิทยาการหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ และ Machine Learning ที่ช่วยให้เครื่องจักรทำงานได้มีประสิทธิภาพเหนือกว่ามนุษย์มากยิ่งขึ้น จึงส่งผลให้บรรดาผู้ผลิตในยุค Industry 4.0 ต่างมองหาโซลูชัน Manufacturing Automation เข้ามาใช้ เพื่อตอบสนองความต้องการในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนได้อย่างต่อเนื่อง

บทความนี้ PTT ExpresSo จะพาทำความรู้จักว่า Manufacturing Automation คืออะไร? มีกี่ประเภท รวมถึงประโยชน์ในด้านต่างๆ ของการใช้ระบบอัตโนมัติในการผลิต

Automation manufacturing process of the Industry 4.0

Manufacturing Automation คืออะไร?

Manufacturing Automation หรือ ระบบอัตโนมัติในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม คือ การใช้เทคโนโลยี เช่น อุปกรณ์ เครื่องจักร และซอฟต์แวร์ต่างๆ เพื่อลดขั้นตอนการทำงานของมนุษย์ ด้วยการทำให้ระบบหรือกระบวนการผลิตเป็นไปโดยอัตโนมัติ รวมทั้งสามารถตั้งโปรแกรมให้เหมาะสมกับกระบวนการผลิตได้หลายประเภท

โรงงานส่วนใหญ่จึงสามารถเลือกใช้ประโยชน์จากระบบอัตโนมัติประเภทใดประเภทหนึ่งได้ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักในการปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตและลดต้นทุนทางธุรกิจไปพร้อมกัน

ประเภทของ Manufacturing Automation

1. ระบบอัตโนมัติคงที่ (Fixed Automation)

ระบบอัตโนมัติประเภทนี้เป็นระบบการผลิตแบบคงที่ เหมาะสำหรับการทำงานซ้ำๆ มีจุดแข็งในการผลิตสินค้าปริมาณมาก การเขียนโปรแกรมส่วนใหญ่สามารถกำหนดความเร็วและลำดับของกระบวนการผลิตผ่านอุปกรณ์หรือสายการผลิตได้

ตัวอย่างของ Fixed Automation เช่น การผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ไม่ต้องใช้ระบบซับซ้อน เช่น การปั๊มหรือการหล่อที่สามารถทำซ้ำได้ในปริมาณมากหลักล้านชิ้น โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ กับระบบ Fixed Automation อาจจำเป็นต้องปิดสายการผลิตเพื่อให้ช่างเทคนิคสลับเครื่องมือด้วยตนเอง ซึ่งส่งผลให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นและสูญเสียเวลาจากการที่ระบบต้องหยุดทำงาน จึงไม่เหมาะกับการผลิตสินค้าในปริมาณน้อยหรือผลิตภัณฑ์ที่มีวงจรชีวิตสั้น

Factory automation. Smart factory. INDUSTRY 4.0

2. ระบบอัตโนมัติที่ตั้งโปรแกรมได้ (Programmable Automation)

เป็นระบบการผลิตอัตโนมัติแบบตั้งโปรแกรมได้ โดยโปรแกรมจะทำหน้าที่เป็นชุดคำสั่งที่ระบบใช้อ่าน ตีความ และดำเนินการผลิต

คุณลักษณะสำคัญของ Programmable Automation คือ ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงและรองรับการกำหนดค่าผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างหรือใช้ลำดับขั้นตอนที่ไม่หมือนกัน จึงเหมาะกับการผลิตแบบกลุ่ม (Batch Production) หรือการผลิตตามคำสั่งซื้อ ซึ่งอาจมีลักษณะเฉพาะของสินค้าที่ผลิตแยกเป็นกลุ่มๆ โดยในแต่ละกลุ่มจะผลิตตามมาตรฐานเดียวกันทั้งล็อต

3. ระบบอัตโนมัติที่ยืดหยุ่น (Flexible Automation)

เป็นระบบการผลิตที่มีความยืดหยุ่นด้วยการใช้เครื่องมือที่คล้ายคลึงกันหรือเลือกติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงโดยอัตโนมัติเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนการตั้งค่าโปรแกรมควบคู่กันด้วย จึงมักทำงานเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่สามารถตรวจสอบหรือควบคุมการผลิตจากระยะไกลได้

นอกจากนี้ บางโปรแกรมอาจได้รับการพัฒนาให้ทำงานแบบ Offline บนคอมพิวเตอร์ สามารถอัปโหลด เรียกใช้โปรแกรมใหม่ หรือนำโปรแกรมต่างๆ ไปใช้ในสายการผลิตที่มีอยู่ได้จากทุกที่ในโลก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวิธีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ของแต่ละระบบด้วย

ประโยชน์ของ Manufacturing Automation

การผลิตด้วยระบบอัตโนมัติมีความสำคัญอย่างมากในยุค Industry 4.0 ต่อไปนี้ คือ ประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่ธุรกิจของคุณจะได้รับจากการใช้ Manufacturing Automation

Factory automation. Smart factory. INDUSTRY 4.0

1. ลดต้นทุนการผลิต

แม้ว่าระบบ Manufacturing Automation อาจต้องใช้เงินลงทุนเริ่มแรกจำนวนมาก แต่ก็ให้ความคุ้มค่าสูงในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากธุรกิจของคุณต้องผลิตสินค้าจำนวนมากแข่งกับเวลา เนื่องจากเครื่องจักรระบบ Automation เครื่องหนึ่งสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าแรงงานคนหลายเท่า จึงช่วยลดต้นทุนการผลิตทั้งในด้านแรงงานและเวลาได้เป็นอย่างดี

2. ยกระดับความปลอดภัยของโรงงาน

กระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมมักต้องเกี่ยวข้องกับเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีกลไกซับซ้อน รวมทั้งสารเคมีและวัตถุมีพิษต่างๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุและส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของพนักงานได้ ด้วยเหตุนี้ ระบบ Automation จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันพนักงานจากกระบวนการหรือสารเคมีที่เป็นอันตราย พร้อมยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยให้กับโรงงานของคุณ

3. ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น

นอกจากระบบ Manufacturing Automation จะทำงานได้อัตโนมัติแบบ 24/7 คือ ตลอด 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง 7 วันทุกสัปดาห์โดยไม่มีการหยุดพัก เครื่องจักรยังสามารถรักษาความเร็วในการผลิตเท่าเดิมได้ตลอด นั่นหมายความว่ากระบวนการผลิตจะดำเนินต่อไปได้ยาวนานและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจของคุณมี ผลผลิตมากขึ้น รวมทั้งสามารถเพิ่มไลน์การผลิตสินค้าใหม่โดยไม่กระทบต่อสายการผลิตเดิม

4. รักษามาตรฐานและคุณภาพสินค้า

เครื่องจักรในระบบ Manufacturing Automation โดยทั่วไป สามารถดำเนินการผลิตสินค้าได้อย่างถูกต้องและมีความแม่นยำสูงกว่าแรงงานคน นอกจากนี้ ยังรักษามาตรฐานและคุณภาพการผลิตได้คงที่เหมือนกันทุกชิ้น จึงพบความผิดพลาดและข้อบกพร่องของสินค้าในอัตราที่ต่ำกว่าการใช้แรงงานคนในกระบวนการผลิตแบบเดิม

สรุป

Manufacturing Automation คือ การปฏิวัติทางเทคโนโลยีที่ช่วยขับเคลื่อนการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ โดยไม่ใช่เพียงแค่การใช้หุ่นยนต์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการนำปัญญาประดิษฐ์ Machine Learning หรือแม้แต่ Industrial Internet Of Things (IIoT) เข้ามาใช้ด้วย

หากธุรกิจของคุณสามารถนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยลดต้นทุนในระยะยาว ยกระดับความปลอดภัยของโรงงาน เพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นโดยที่ยังรักษามาตรฐานและคุณภาพสินค้าได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและได้เปรียบเหนือคู่แข่งในโลกอุตสาหกรรมยุคใหม่

 

ติดตามข่าวสารและคอนเทนต์ดีๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อมที่คุณไม่ควรพลาด

ได้ที่ Facebook PTT ExpresSo

 

New call-to-action

SDG Goals กับการประยุกต์ใช้เพื่อสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน

SHARE

SDG Goals คือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อจัดการกับความท้าทายระดับโลกที่ประชาคมระหว่างประเทศกำลังเผชิญอยู่อย่างเร่งด่วนที่สุด ครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายจึงจะสำเร็จ

บทความนี้ PTT ExpresSo จะพาไปทำความรู้จัก SDG Goals ให้มากขึ้นพร้อมแนวทางและขั้นตอนการประยุกต์ใช้เพื่อสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน

SDG - Sustainable Development Goals_Business Technology Concept

SDG Goals คืออะไร?

SDG Goals (Sustainable Development Goals) คือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการ ซึ่งผ่านการรับรองจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อปี 2015 โดยมุ่งระดมความพยายามและเรียกร้องให้มีการดำเนินการระหว่างรัฐบาล ธุรกิจ และภาคประชาสังคมทั่วโลก เพื่อจัดการกับปัญหาสำคัญที่มีความท้าทาย เช่น การยุติความยากจน การต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมและความอยุติธรรม รวมทั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้บรรลุเป้าหมายภายในปี 2030

หลังจากก่อนหน้านี้ ในระหว่างปี 2000 ถึง 2015 ได้มีการจัดทำ Millennium Development Goals (MDGs) หรือเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาที่สำคัญและประสบความสำเร็จในหลายด้าน จึงต่อยอดสู่การจัดทำ SDG Goals เพื่อเพิ่มความท้าทายของเป้าหมายในการขจัดปัญหาที่เชื่อมโยงกันทั้งมิติทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน

SDG Goals 17 ประการ ได้แก่

1. No Poverty : ความยากจนต้องหมดไป

2. Zero Hunger : ความอดอยากต้องหมดไป

3. Good Health and Well-Being : สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

4. Quality Education : การศึกษาที่มีคุณภาพ

5. Gender Equality : ความเท่าเทียมทางเพศ

6. Clean Water and Sanitation : น้ำสะอาดและสุขอนามัย

7. Affordable and Clean Energy : พลังงานสะอาดราคาถูก

8. Decent Work and Economic Growth : งานที่ดีและเศรษฐกิจที่เติบโต

9. Industry Innovation and Infrastructure : อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน

10. Reduced Inequalities : ลดความเหลื่อมล้ำ

11. Sustainable Cities and Communities : เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน

12. Responsible Consumption and Production : บริโภคและผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ

13. Climate Action : แก้ปัญหาโลกร้อน

14. Life Below Water : ชีวิตในน้ำ

15. Life on Land : ชีวิตบนบก

16. Peace and Justice Strong Institutions : สันติภาพ ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง

17. Partnerships for the Goals : ร่วมมือเพื่อพิชิตเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

Sustainable Development Goals_Icon Set

SDG Goals จึงถือเป็นแผนงานที่ครอบคลุมมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหประชาชาติ โดยระดมข้อมูลสำคัญจากทุกภาคส่วนของประชาคมโลกผ่าน UN Global Compact รวมทั้งมีการนำเป้าหมายนี้ไปใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้ว โดยรัฐบาลแต่ละประเทศได้รับการคาดหวังให้ประยุกต์ใช้ SDG Goals เป็นแผนปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาตามความเป็นจริงและศักยภาพในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ

5 ขั้นตอนการประยุกต์ใช้ SDG Goals เพื่อสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน

แม้ว่า SDG Goals จะมุ่งเน้นเป้าหมายที่รัฐบาลเป็นหลัก แต่ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรและธุรกิจได้หลากหลาย เพื่อสร้างกรอบการทำงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกัน ดังนั้น ผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจยุคใหม่จึงควรคำนึงถึงผลกระทบทางสังคมและตระหนักถึงบทบาทของภาคธุรกิจที่จะช่วยให้ประชาคมโลกบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้

ต่อไปนี้ คือ 6 ขั้นตอนการประยุกต์ใช้ SDG Goals เพื่อสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน

1. ระบุเป้าหมายและวางแผนเชิงกลยุทธ์

ขั้นตอนสำคัญสำหรับบริษัทต่างๆ คือ การระบุว่า SDG Goals เกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อมกับธุรกิจของตนเองอย่างไร เป้าหมายใดมีผลกระทบมากที่สุดในแง่ของความเสี่ยงและโอกาสในระยะยาว พร้อมวางแผนเชิงกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย SDG ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้า พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ ซึ่งจะช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกให้เกิดขึ้นจริง

2. พัฒนาเป้าหมายและ KPI

เมื่อบริษัทมีเป้าหมาย SDG ที่สำคัญพร้อมแผนเชิงกลยุทธ์แล้ว ควรพัฒนาเป้าหมายให้มีความชัดเจนและกำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพ (KPI) เพื่อติดตามและตรวจสอบความคืบหน้าในการดำเนินงาน ทั้งนี้ บริษัทควรพิจารณาเป้าหมายและ KPI ให้สอดคล้องกับ SDG ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกำหนดวิธีการติดตามและวัดผลที่เหมาะสม

3. สร้างโอกาสทางธุรกิจ

นอกจาก SDG Goals จะช่วยกำหนดกรอบการทำงานแล้ว ยังช่วยสร้างรายได้และเพิ่มโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจจากการส่งเสริมนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ที่ช่วยขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย SDG ตามที่วางไว้ อาทิ

  • ระบุพื้นที่และกลุ่มชุมชนด้อยโอกาสที่อาจได้รับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์และบริการซึ่งเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อความยั่งยืน
  • ลงทุนด้านการศึกษาพร้อมส่งเสริมศักยภาพและสร้างโอกาสทางอาชีพให้แก่คนในชุมชน เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม
  • สร้างความเชื่อมโยงระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

4. สร้างความร่วมมือระหว่างกัน

บริษัทเดียวอาจไม่สามารถแก้ปัญหาทุกอย่างได้เพียงลำพัง ดังนั้น การสร้างความร่วมมือจากหลายภาคส่วนและการทำงานร่วมกันข้ามกลุ่มอุตสาหกรรมและประเภทธุรกิจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การประยุกต์ใช้ SDG Goals ประสบความสำเร็จ โดยมีประเด็นที่บริษัทควรพิจารณา อาทิ

  • ระบุโอกาสในการทำงานร่วมกับลูกค้า ซัพพลายเออร์ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ตลอดจนบริษัทต่างๆ ที่สามารถประสานความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายและแบ่งปันความรับผิดชอบร่วมกัน
  • สร้างความร่วมมือกับรัฐบาลและภาคประชาสังคม ด้วยการปรับใช้รูปแบบธุรกิจ เทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนควบคู่กับการสร้างเสถียรภาพทางการค้าและผลประโยชน์ทางธุรกิจ

Business Network_Sustainable Development Goals

5. ประเมินผลและจัดทำรายงาน

ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงานของตน รวมถึงการรายงานความคืบหน้าในการขับเคลื่อนเป้าหมายที่เชื่อมโยงกับ SDG Goals โดยมีประเด็นที่บริษัทควรพิจารณาในการประเมินผลและจัดทำรายงาน อาทิ

  • การสื่อสารเกี่ยวกับประสิทธิภาพการดำเนินงานในบริบทของ SDG Goals อย่างเปิดเผย และผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การประเมินผลในแง่มุมต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนาและบูรณาการประเด็น SDG Goals เข้ากับการตัดสินใจทางธุรกิจในอนาคต

สรุป

SDG Goals ยังคงต้องการวิธีคิดใหม่และเป้าหมายที่เชื่อมโยงถึงกัน เพราะความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีความร่วมมือใหม่ๆ ระหว่างภาคธุรกิจ รัฐบาล และภาคประชาสังคม ปัจจุบัน มีการจัดทำกรอบแนวทางการประยุกต์ใช้เพื่อให้บริษัทต่างๆ เข้าใจมากขึ้นว่าพวกเขาจะมีส่วนร่วมใน SDG Goals ได้อย่างไร รวมทั้งการนำเสนอแผนงานสำหรับบริษัทต่างๆ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรเกี่ยวกับวิธีการสร้างกลยุทธ์ที่ยั่งยืน ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ไม่เพียงเท่านั้น ยังรวมถึงการสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนที่พวกเขาดำเนินการอยู่ด้วย

ติดตามข่าวสารและคอนเทนต์ดีๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อมที่คุณไม่ควรพลาด

ได้ที่ Facebook PTT ExpresSo

 

New call-to-action

การบริหารแบบ Micromanagement: ข้อควรระวังในการขับเคลื่อนธุรกิจ Startup

SHARE

การบริหารแบบ Micromanagement ไม่ช่วยให้ Startup ไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนและอาจสั่นคลอนความมั่นคงของธุรกิจได้อย่างไม่น่าเชื่อ

เนื่องจาก Micromanagement เป็นวิธีจัดการธุรกิจโดยสร้างภาพลวงตาว่าทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ก่อตั้ง และจะช่วยป้องกันไม่ให้มีความผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้น แต่น่าเสียดายที่สิ่งที่คิดอาจตรงกันข้ามกับความเป็นจริง เพราะเมื่อผู้ก่อตั้งให้ความสำคัญกับงานยิบย่อยมากเกินไปก็จะไม่มีเวลามุ่งเน้นไปที่บทบาทและความรับผิดชอบในภาพรวม ซึ่งมีความสำคัญและส่งผลต่อความอยู่รอดของธุรกิจในระยะยาว

บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักว่า Micromanagement คืออะไร? มีผลกระทบอย่างไร? พร้อมแนะนำ 5 วิธีจัดการธุรกิจให้หลุดจากกรอบ Micromanagement

 Micromanagement startup ธุรกิจ ทางแก้

Micromanagement คืออะไร?

Micromanagement คือ การบริหารจัดการธุรกิจที่มุ่งเน้นการควบคุมมากเกินไป และใส่ใจในรายละเอียดเกี่ยวกับงานของลูกน้องมากกว่าการมองภาพใหญ่ของธุรกิจ ซึ่งในบางกรณีการจัดการรูปแบบนี้อาจเหมาะสม เช่น โครงการขนาดเล็ก แต่โดยทั่วไป Micromanagement มักมีความหมายเชิงลบเพราะแสดงให้เห็นถึงการขาดความไว้วางใจและจำกัดเสรีภาพในการทำงานของพนักงานมากเกินเหตุ

ต่อไปนี้ คือสัญญาณเตือนที่ควรระวังว่าคุณกำลังตกหลุมพรางของการบริหารธุรกิจ Startup แบบ Micromanagement อยู่หรือไม่

  • เชื่อมั่นในกระบวนการตัดสินใจจากบนลงล่าง
  • ใส่ใจรายละเอียดมากกว่าผลลัพธ์ปลายทาง
  • ล้มเหลวในการมอบหมายงาน และเข้าไปพัวพันกับการทำงานของลูกน้องมากเกินไป
  • ไม่ค่อยพอใจกับผลงานของลูกน้อง
  • ชอบให้ลูกน้องทำงานตามคำสั่งทุกขั้นตอน
  • ร้องขอให้มีการอัปเดตความคืบหน้าของงานบ่อยเกินไป
  • สนุกกับการจับผิดข้อบกพร่องและแก้ไขงานผู้อื่น

ผลกระทบของ Micromanagement ที่ควรระวัง

Micromanagement ส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานและทำให้ระดับการมีส่วนร่วมของพนักงานลดลง รวมทั้งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้พนักงานตัดสินใจลาออกจากบริษัท นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบด้านลบของ Micromanagement อีกมากมายที่ควรระวัง เช่น

  • Productivity หรือผลิตภาพ และอัตราการเติบโตของธุรกิจลดลง
  • ปิดกั้นโอกาสในการริเริ่มนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ
  • พนักงานไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน เพราะไม่รู้ว่าผลงานที่ทำจะได้รับการชื่นชมหรือมีคุณค่าสำหรับบริษัทหรือไม่
  • พนักงานสูญเสียความมั่นใจในการทำงานและมีแนวโน้มที่จะพึ่งพาผู้จัดการมากขึ้น
  • พนักงานขาดแรงบันดาลใจที่จะเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเอง
  • ปัญหาสุขภาพจิตและความเครียดอันเนื่องมาจากการถูกตำหนิหรือต้องคอยรองรับอารมณ์ของผู้จัดการอยู่เป็นประจำ
  • พนักงานรู้สึกไม่มั่นคงในการทำงาน กลัวถูกลดตำแหน่งหรือโดนไล่ออกโดยไม่เป็นธรรม

Micromanagement startup ธุรกิจ ทางแก้

5 วิธีจัดการธุรกิจให้หลุดจากกรอบ Micromanagement

กุญแจสำคัญของการจัดการธุรกิจให้หลุดจากกรอบ Micromanagement คือ การไว้วางใจและปล่อยวางในส่วนงานที่ความเสี่ยงน้อย ผู้ก่อตั้ง Startup ส่วนใหญ่มักประสบปัญหาไม่กล้ามอบความไว้วางใจให้กับพนักงานอย่างเต็มที่ เพราะยังกลัวความเสี่ยงและความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจ หากไม่ได้เป็นผู้ควบคุมดูแลทุกอย่างด้วยตัวเอง

ต่อไปนี้ คือ 5 วิธีที่จะช่วยให้คุณปล่อยวางและสามารถจัดการธุรกิจออกจากกรอบ Micromanagement ได้สำเร็จ

1. จ้างงานเฉพาะคนที่ใช่

กระบวนการจ้างงานเป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ดีขึ้น เพราะการจ้างคนที่ใช่จะช่วยให้คุณอุ่นใจได้เสมอ โดยเฉพาะพนักงานที่มีความรับผิดชอบสูงจะทำให้คุณสามารถมองข้ามการจัดการแบบ Micromanagement และยอมมอบความไว้วางใจให้ทำงานต่างๆ แทนมากขึ้นเรื่อยๆ

ดังนั้น ควรใช้เวลากับกระบวนการสรรหาและตรวจสอบให้แน่ใจว่า ผู้สมัครคนใดที่มีความเหมาะสมทั้งในแง่คุณสมบัติและความเข้าใจเกี่ยวกับงานตรงตามที่บริษัทกำลังมองหาอยู่มากที่สุด

2. บอกความคาดหวัง ไม่ใช่งาน

ก่อนจะเริ่มต้นทำโครงการอะไร ให้คุณบอกเป้าหมายและความคาดหวังที่ชัดเจนแทนการอธิบายแบบลงรายละเอียดเกี่ยวกับงานแต่ละอย่างว่าใครต้องทำอะไรและต้องทำอย่างไร จากนั้น ให้พนักงานเป็นคนรับผิดชอบการทำงานเพื่อนำไปสู่เป้าหมายนั้นเอง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดแรงกดดันให้พนักงานไม่รู้สึกว่าถูกควบคุมตลอดเวลา และเปลี่ยนบทบาทของคุณให้กลายเป็นผู้นำที่คอยสนับสนุนเมื่อลูกน้องต้องการ

3. มอบหมายความไว้วางใจทีละเล็กทีละน้อย

การเปลี่ยนจาก Micromanagement เต็มรูปแบบไปสู่การมีส่วนร่วมด้านการจัดการที่น้อยลงอาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ก่อตั้ง Startup ซึ่งในทางปฏิบัติ คุณไม่จำเป็นต้องเร่งรัดการเปลี่ยนแปลงด้วยการมอบความรับผิดชอบทั้งหมดให้ผู้อื่นทันที หรือละทิ้งการบริหารจัดการทุกอย่างไปแบบปัจจุบันทันด่วน แต่สามารถเริ่มต้นด้วยการมอบหมายงานให้กับพนักงานที่เหมาะสมทีละเล็กทีละน้อยเพื่อถอยบทบาทออกมาอย่างช้าๆ วิธีนี้จะช่วยให้ทั้งคุณและพนักงานได้มีเวลาปรับตัวและเตรียมความพร้อม รวมทั้งช่วยลดความกังวลของคุณและป้องกันความเสี่ยงในด้านต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจได้อีกด้วย

4. ส่งเสริมวัฒนธรรมการสื่อสารที่เปิดกว้าง

Micromanagement เป็นสาเหตุของการขาดความไว้วางใจและทำให้เกิดปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างลูกน้องกับหัวหน้า หรือลูกจ้างกับนายจ้าง ดังนั้น ถ้าต้องการให้บริษัทของคุณมีวัฒนธรรมการทำงานและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในฐานะผู้ก่อตั้งจึงต้องทำให้พนักงานรู้สึกสบายใจที่จะแบ่งปันความคิดเห็น กล้าที่จะบอกปัญหาและข้อเสนอแนะในการทำงานกับคุณได้อย่างสนิทใจ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นรากฐานของการสร้างทีมที่แข็งแกร่งทั้งด้านความคิด คำพูด และการลงมือทำ

5. ให้พนักงานมีส่วนร่วมหรือมีความเป็นเจ้าของ

ลองเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจ เช่น การให้สิทธิ์ถือหุ้น วิธีนี้จะทำให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท ไม่ใช่แค่คนที่รับจ้างทำงานให้เพียงอย่างเดียว จึงช่วยกระตุ้นให้พวกเขาอยากทำงานหนักขึ้น รวมทั้งตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ ด้วยความรอบคอบและชาญฉลาดยิ่งขึ้น เพื่อปกป้องผลประโยชน์และสร้างผลกำไรที่มากขึ้นให้กับบริษัท

สรุป

ผู้ก่อตั้ง Startup มักตกหลุมพรางของ Micromanagement เพราะเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจมาตั้งแต่เริ่มต้น จึงมั่นใจว่าตนเองคือบุคคลเดียวที่สามารถตัดสินใจและควบคุมการดำเนินงานต่างๆ ได้ดีที่สุด แต่ถ้ายังดึงดัน ไม่ยอมปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการธุรกิจด้วยการมองภาพใหญ่ให้มากขึ้น ก็อาจนำไปสู่ปัญหาที่บานปลายจนทำให้ธุรกิจต้องสะดุดล้มลงในที่สุด

แม้ว่าการปล่อยวางเพื่อเปลี่ยนแปลงจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่เมื่อผู้ก่อตั้ง Startup เริ่มตระหนักและเข้าใจถึงปัญหาก็จะนำไปสู่การเรียนรู้วิธีจัดการธุรกิจให้หลุดจากกรอบ Micromanagement ด้วยการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ทุกคนเป็นเจ้าของความสำเร็จของบริษัท รวมทั้งสามารถค้นหาจุดสมดุลระหว่างการมอบความไว้วางใจกับการควบคุมพนักงาน เพื่อช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ Startup ให้เติบโตต่อไปในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

 

ติดตามข่าวสารและคอนเทนต์ดีๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อมที่คุณไม่ควรพลาด

ได้ที่ Facebook PTT Expresso

New call-to-action

ทำไม Human Touch จึงสำคัญต่อธุรกิจในยุคดิจิทัล

SHARE

ประสบการณ์ดิจิทัลไม่ใช่สิ่งเดียวที่ผู้บริโภคต้องการ การสร้าง Human Touch และประสบการณ์ส่วนบุคคลในโลกแห่งความเป็นจริงให้กับลูกค้ายังคงมีความสำคัญและมีคุณค่าต่อธุรกิจอย่างมหาศาล

ในโลกที่ทุกอย่างกำลังขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล แบรนด์ต่างๆ จะรักษา Human Touch ในการติดต่อกับลูกค้าได้อย่างไร และทำไม Human Touch ถึงสำคัญต่อธุรกิจในยุคดิจิทัล บทความนี้มีคำตอบ

บทความ human touch

Human Touch คืออะไร

Human Touch คือ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ เช่น การพูดคุยโต้ตอบหรือการบริการด้วยความเป็นมิตรและเอาใจใส่ แต่ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้การโต้ตอบระหว่างแบรนด์กับลูกค้าจำเป็นต้องก้าวให้ทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ปัจจุบันบริษัทต่างๆ ได้เพิ่มช่องทางที่หลากหลายเพื่อให้ลูกค้าเลือกติดต่อได้ตามสะดวกในทุกเมื่อที่ต้องการ จึงมีการนำเทคโนโลยีอย่างระบบตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติ และ AI Chatbot เข้ามาใช้ เพื่อช่วยให้บริษัทไม่พลาดโอกาสในการมีส่วนร่วมกับลูกค้าหรือผู้มีโอกาสเป็นลูกค้า ในขณะเดียวกันทางฝั่งลูกค้าก็ได้รับคำตอบเกี่ยวกับคำถามหรือข้อกังวลต่างๆ ที่พวกเขาอยากรู้แทบจะในทันที

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีที่ช่วยโต้ตอบกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สุดท้ายลูกค้าก็ยังต้องการติดต่อกับ “คน” มากกว่า Chatbot โดยเฉพาะเมื่อมีคำถามที่ซับซ้อน และต้องการคำอธิบายโดยละเอียด

ความสำคัญของ Human Touch ต่อธุรกิจในยุคดิจิทัล

แม้แต่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของโลกที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับดิจิทัลโดยตรง เช่น Google, Facebook Apple, หรือ Amazon ก็ยังไม่มองข้ามเรื่อง Human Touch เพราะตระหนักดีว่าการเชื่อมต่อกับผู้บริโภคในระดับบุคคลมีความสำคัญเพียงใด

ผลการสำรวจของ PwC พบว่าลูกค้า 2 ใน 3 รายให้ความสำคัญกับ Human Touch โดย 73% ยังต้องการบริการจากคนจริงๆ และอยากพูดคุยกับพนักงานที่เป็นคนมากกว่า Chatbot หรือระบบตอบรับอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าระบบนั้นจะทำงานได้อย่างไม่มีที่ติก็ตาม เรียกได้ว่าแทบไม่มีลูกค้ารายใดเชื่อว่าการให้บริการแบบ Human Touch มีความสำคัญเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย

ต่อไปนี้ คือความสำคัญของ Human Touch ที่มีต่อธุรกิจในยุคดิจิทัล

ช่วยตอบสนองเหตุผลทางอารมณ์ให้กับลูกค้า

ลูกค้าในปัจจุบันมีความฉลาดและรู้ความต้องการของตนเองมากขึ้น พวกเขาคาดหวังว่าเมื่อติดต่อบริษัทผ่านช่องทางใดก็ตามจะได้พบกับความเคารพ ความสุภาพ และการเอาใจใส่ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้จาก Human Touch เท่านั้น นอกจากนี้ ลูกค้ามักจะเลือกเชื่อมต่อกับบริษัทที่สามารถตอบสนองเหตุผลทางอารมณ์จนทำให้พวกเขาตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการได้

การแสดงอารมณ์ความรู้สึกเป็นหัวใจสำคัญของการให้บริการ

อีกเหตุผลหนึ่งที่ Human Touch มีความสำคัญ เพราะเครื่องจักรและคอมพิวเตอร์ทำงานบางอย่างแทนมนุษย์ตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ได้ แต่มีสิ่งหนึ่งที่พวกเขาไม่สามารถทำได้ คือ การแสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น ความเห็นอกเห็นใจและการดูแลเอาใจใส่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความต้องการพื้นฐานที่ลูกค้าส่วนใหญ่จะเลือกสานต่อความสัมพันธ์กับบริษัทต่างๆ Human Touch จึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการบริการลูกค้าอย่างแท้จริง

ช่วยสร้างผลกำไรและลูกค้าที่มีความภักดี

บริษัทที่สามารถจัดการด้าน Human Touch และให้บริการลูกค้าเชิงรุกอย่างสม่ำเสมอจะประสบความสำเร็จมากกว่าบริษัทอื่น เนื่องจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีบนพื้นฐานของความเห็นอกเห็นใจและการดูแลเอาใจใส่ลูกค้าในทุกแง่มุมของธุรกิจถือเป็นจุดแข็งที่คู่แข่งเอาชนะได้ยาก เพราะช่วยสร้างลูกค้าที่ภักดี นำมาซึ่งผลกำไรและชื่อเสียงให้กับบริษัทได้อย่างมากมายเกินคาด

บทความ human touch

4 วิธีสร้าง Human Touch ให้กับธุรกิจในยุคดิจิทัล

1. สนับสนุนพนักงานบริการลูกค้าออนไลน์

แม้ว่าปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนการบริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ควรมีช่องทางให้ลูกค้าเข้าถึงพนักงานที่เป็นมนุษย์ได้เสมอเมื่อต้องการ เพราะผู้ที่โทรผ่านระบบตอบรับอัตโนมัติจำนวนมากจะวางสายด้วยความหงุดหงิด หากพวกเขาไม่สามารถติดต่อพนักงานได้ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยเฉพาะเมื่อต้องการสอบถามปัญหาที่มีความซับซ้อน หรือต้องการทราบแนวทางแก้ไขอย่างเร่งด่วนจากเจ้าหน้าที่ที่สามารถอธิบายข้อมูลให้เข้าใจได้โดยละเอียด

สำหรับบางบริษัทที่มีพนักงานไม่เพียงพอแต่จำเป็นต้องรองรับการให้บริการลูกค้าจำนวนมากพร้อมกันในบางช่วงเวลา สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการเปิดช่องทาง Live Chat เพื่อโต้ตอบกับลูกค้าผ่านการพิมพ์ข้อความสนทนาแบบเรียลไทม์ รวมทั้งในกรณีที่มีคำถามจากลูกค้าที่คล้ายคลึงกัน ตัวเลือก Live Chat จะช่วยให้ฝ่ายบริการลูกค้าสามารถจัดการปัญหาและตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าการสนทนาทางโทรศัพท์แบบเดิม โดยที่ยังให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับการพูดคุยกับพนักงานที่เป็นมนุษย์

2. ใส่ใจการแนะนำตัว

พนักงานขายหรือฝ่ายบริการลูกค้าควรใส่ใจกับการเริ่มต้นแนะนำตัวเอง รวมทั้งการสอบถามชื่อลูกค้าอย่างสุภาพ ซึ่งวิธีนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นการโต้ตอบที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า และทำให้แน่ใจในเบื้องต้นว่าลูกค้าจะได้รับประสบการณ์แบบ Human Touch ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อผ่านช่องทางออนไลน์ ทางโทรศัพท์หรือที่หน้าร้านตั้งแต่วินาทีแรก

3. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย

แม้ว่าบางครั้งการสอบถามปัญหาของลูกค้าจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงเทคนิค แต่ลูกค้ามักจะพึงพอใจกับคำอธิบายที่ตรงไปตรงมาและเข้าใจง่ายมากกว่าคำตอบที่เต็มไปด้วยศัพท์เทคนิคเฉพาะทาง ดังนั้น พนักงานที่ติดต่อกับลูกค้าควรมีความรอบรู้ในการเลือกใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และบริการให้มีความเรียบง่ายและหลีกเลี่ยงศัพท์เฉพาะให้ได้มากที่สุด เพื่อให้คนทั่วไปสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว

4. ฝึกอบรมพนักงานให้มี Human Touch

ถึงแม้จะมีพนักงานที่เป็นคนจริงๆ แต่หากขาดใจรักในการให้บริการ Human Touch ก็จะไม่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ การฝึกอบรมพนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้พนักงานตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ มีส่วนร่วมในการบริการลูกค้าอย่างแข็งขัน พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ อย่าลืมให้อำนาจพนักงานในการส่งมอบของขวัญหรือบริการพิเศษโดยไม่มีค่าใช้จ่ายให้กับลูกค้าผู้มีอุปการคุณตามวาระและโอกาสต่างๆ เพื่อทำให้ลูกค้าประหลาดใจและพึงพอใจ ซึ่งถือเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการสร้างความภักดีของลูกค้า ช่วยให้ลูกค้าจดจำและช่วยบอกต่อแบรนด์ของคุณในแง่บวกได้อีกด้วย

สรุป

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอาจทำให้หลายบริษัทมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าแบบ Human Touch ลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม บริษัทที่ชาญฉลาดจะรู้จักเลือกใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีโดยไม่มองข้ามการบริการลูกค้าแบบ Human Touch เพราะเทคโนโลยีควรเข้ามาช่วยส่งเสริมและยกระดับ ไม่ใช่การเข้ามาแทนที่ทั้งหมด

ตราบใดที่ลูกค้ายังต้องการความรู้สึกมีคุณค่า ชื่นชอบการแบ่งปันความคิดเห็นและการพร่ำบ่นกับบุคคลอื่น รวมถึงปรารถนาการตอบสนองเชิงอารมณ์ที่เทคโนโลยียังทำไม่ได้ การบริการลูกค้าด้วย Human Touch จึงยังเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้า ซึ่งจะช่วยดึงดูดและรักษาลูกค้าไว้ไปพร้อมๆ กับการสร้างผลกำไรและความสำเร็จให้กับบริษัทในระยะยาว

คุณสามารถอัปเดตคอนเทนต์เกี่ยวกับธุรกิจ Startup สิ่งแวดล้อม รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อความรู้ความเข้าใจที่ครอบคลุมมากขึ้นได้ที่ Facebook PTT Express

New call-to-action

FOMO คืออะไร? เมื่อผู้บริโภค “กลัว” การตกกระแส

SHARE

เทคโนโลยีมาพร้อมกับความไวในการติดต่อสื่อสาร เทรนด์บนโลกออนไลน์เกิดขึ้นใหม่ได้ทุกๆ เสี้ยววินาที และก่อให้เกิดภาวะที่เรียกว่า FOMO (Fear of missing out) ที่ผู้คนจำนวนมากกลัวการ “พลาด” หรือ ตกเทรนด์อะไรบางอย่าง

นั่นทำให้คนจำนวนมากได้เห็นกระแสต่างๆ มากมายภายใต้การทำการตลาดที่ทำให้รู้สึกว่า “พลาดไม่ได้แล้ว!!” ทั้งการออกสินค้าใหม่ของแบรนด์ใหญ่ การลดราคารายเดือน 

นี่คือการเจาะเข้าไปในกระแสของ FOMO เพื่อให้การตลาดของคุณเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

FOMO คืออะไร การตลาดเบื้องหลังคำว่า “ห้ามพลาด”

Fear of missing out หรือ FOMO เป็นคำนิยามพฤติกรรมของคนที่วิตกกังวลว่าตนเองจะพลาด หรือตกเทรนด์อะไรบางอย่าง รวมถึงการพลาดโอกาสจากแคมเปญทำให้ต้องติดมือถือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อยู่ตลอดเวลา 

พฤติกรรมแบบ FOMO ไม่ใช่เรื่องแปลกและเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะคนยุคมิลเลนเนียล (Millennial) ที่โตมาในยุคสมัยที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนได้ไว

การทำการตลาดเพื่อคนเหล่านี้โดยเฉพาะจึงเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กต้องให้ความสำคัญ เพราะถ้ากระแสติดแล้วจะสามารถกระจายเป็นไวรัลขนาดใหญ่ได้ง่ายมากๆ ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่การใช้โฆษณา เพลง วิดีโอ รูปภาพ หรือแม้กระทั่งมีม (Meme) ที่โดนใจคนบนโลกออนไลน์ พร้อมชี้นำให้คนเหล่านั้นให้หันเข้าหาสินค้าและบริการของเรา

บทความ fomo คือ

การทำการตลาดที่เหมาะสมกับ FOMO

1.กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน

แม้ว่าพฤติกรรมของกลุ่ม FOMO จะเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่การเจาะตลาดของคนเหล่านี้ได้นั้น ควรจะมีการแบ่งกลุ่มเป้าหมายย่อยออกมาด้วย เช่น อายุ สายอาชีพ ความสนใจ เพื่อให้คอนเทนต์ แคมเปญหรือสินค้าและบริการที่สร้างขึ้นมาเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

เช่น การกำหนดกลุ่มผู้ซื้อแบบแยก Gen X, Gen Y, Millennial การแยกจากอาชีพ อย่างนักเรียน นักศึกษา นักลงทุน ข้าราชการ พนักงาน 

ยิ่งกำหนดชัดเจนเท่าไหร่ การโฆษณาและการสร้างแคมเปญก็จะเจาะกลุ่มเฉพาะ เพิ่มโอกาสในการทำการขายสินค้าได้เท่านั้น

2. มีการ “สร้าง” หรือ “อิง” เทรนด์ต่างๆ อยู่เสมอ 

Fear of missing out จะเกี่ยวกับกระแสในโลกอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกระแสเองหรือการอิงกระแส ดังนั้นคนที่ตองการทำการตลาดแบบนี้ หลังจากศึกษากลุ่มเป้าหมายแล้วอาจต้องทดลองทำหรืออิงกระแสเป็นระยะๆ เช่น

  • กระแสลดราคาพิเศษในวันที่เลขวันและเดือนตรงกัน เช่น 11.11 ที่ทำให้ร้านค้าออนไลน์ปรับเปลี่ยนมาทำแคมเปญลดราคาพร้อมกันในทุกๆ เดือน
  • กระแสอิงมีม (MEME) ที่เป็นรูปและข้อความที่น่าสนใจซึ่งแพร่กระจายอย่างรวดเร็วบนโลกอินเทอร์เน็ต เพื่อให้การโฆษณาไปได้ไวขึ้น
  • กระแสกลุ่มจัดโต๊ะคอมพิวเตอร์ จัดบ้าน หรือแม้กระทั่งกลุ่มอาหาร
  • กระแสโฆษณาผ่าน influencer เช่น opthus, grainey และ Advice 

เมื่อมีคนเข้าถึงเยอะ มีตัวอย่างเยอะ ผู้ชมจะสัมผัสถึงความ “พลาดไม่ได้” จากสินค้าและบริการนั้นๆ ทำให้มีโอกาสในการซื้อขายได้มากขึ้น

บทความ fomo คือ

3. มีช่องทางที่เหมาะสมสำหรับการทำการตลาด

การเจาะกลุ่ม FOMO สามารถทำได้มีประสิทธิภาพที่สุดบนโลกออนไลน์ แต่ก็ต้องเลือกช่องทางการตลาดที่เหมาะสมด้วย เช่น

  • การใช้เว็บไซต์เพื่อรองรับการขายสินค้าและนำเสนอคอนเทนต์ระยะยาว
  • การใช้ Twitter และ Facebook เพื่อนำเสนอคอนเทนต์ที่เน้นความไว ตามกระแสแฮชแท็ก
  • การใช้ Tiktok เพื่อสร้างคอนเทนต์และใช้เทรนด์วิดีโอสั้นให้เป็นประโยชน์
  • การใช้ Youtube เพื่ออัปเดตคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอที่ค่อนข้างยาว

ดังนั้นการวางแผนสำหรับแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อให้การตลาดมีประสิทธิภาพสูงสุด และแน่นอนว่าอาจไม่ได้หยุดเพียงแค่แพลตฟอร์มฮิตๆ อย่าง Facebook หรือ Tiktok แต่รวมไปถึงแพลตฟอร์มที่ค่อนข้างเฉพาะทางกว่า เช่น การโปรโมตอีเวนต์เฉพาะสายอาชีพลงไปใน LinkedIn ซึ่งเป็นโซเชียลมีเดียสำหรับการหางานโดยเฉพาะ เป็นต้น

4. ใช้เทคนิคด้าน “จำนวน” ของสิ่งต่างๆ เพื่อความน่าสนใจ

กระแสจะเกิดได้ก็จากการที่มีคนสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการโชว์ให้คนอื่นๆ เห็นความฮิต ความน่าสนใจของกระแสที่กำลังถูกสร้างขึ้นก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะยอดไลก์ ยอดแชร์ หรือการใช้แฮชแท็ก

สำหรับแอปพลิเคชันอย่าง Facebook และ Twitter ที่มีการแสดงยอดการไลก์หรือการรีทวิตอยู่แล้วนั้น การจัดแคมเปญจะแสดงให้เห็นถึงความน่าสนใจมากขึ้นไปอีก

นอกจากจำนวนคน จำนวนต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าเองก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เช่น แคมเปญสินค้าจำนวนจำกัด กำหนดช่วงเวลาแคมเปญให้ชัดเจน ยิ่งคนรู้สึกว่าสิ่งนั้นพลาด การตลาดของการ “กล้วว่าจะพลาด” ก็ยิ่งมีผลเท่านั้น

บทความ fomo คือ

5. เปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถปฏิสัมพันธ์ได้

จุดแข็งของการทำการตลาดกับกลุ่ม FOMO คือ มีโอกาสที่ลูกค้าจะเข้ามาปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ รวมถึงสร้างคอนเทนต์เองสูงมาก (User Generated Content ) เมื่อคนสร้างมาก โอกาสที่คอนเทนต์จะไปไกลในระดับ Viral หรือทำตามหรือบอกต่อๆ กัน ก็เยอะตามไปด้วย

แบรนด์ที่ทำคอนเทนต์เพื่อกลุ่ม FOMO จึงต้องคิดการตลาดรูปแบบ “ให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาช่วยสร้างคอนเทนต์” ด้วย เช่น การทำ MEME การใช้วิดีโอเพื่อโปรโมทสินค้า การ Tie-in ไปจนถึงการชิงโชค

สิ่งสำคัญนอกเหนือจากการทำคอนเทนต์คือการ “รับมือ” กลุ่มเป้าหมายและผู้บริโภค แบรนด์อาจต้องคิดไว้ก่อนเลยว่าหากเกิดปัญหาจากแคมเปญ จะมีการรับมือและแก้ปัญหาอย่างไร ควรหลีกเลี่ยงแคมเปญแบบไหนที่อาจส่งผลเสียระยะยาวให้ตนเองในอนาคต ถ้าสามารถจับจุดและปรับปรุงตรงนี้ได้ จะทำให้การตลาดของแบรนด์นั้นแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

ไม่ว่าจะบริษัทไหนๆ ก็สามารถทำการตลาดกับกลุ่มลูกค้าที่เป็น FOMO ได้ แต่จะดียิ่งกว่าหากเป็นการทำการตลาดบนโลกออนไลน์ เนื่องจากสามารถตามเทรนด์ต่างๆ ได้ง่าย เปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถมีปฏิสัมพันธ์ พูดคุย แชร์ เกี่ยวกับสินค้าและบริการ ทำให้มีโอกาสซื้อขายได้มากยิ่งขึ้น

แน่นอนว่าสิ่งที่เสนอไปยังเป็นส่วนน้อย ยังมีเทคนิคอีกมากที่นักการตลาดหรือผู้ทำธุรกิจสามารถปรับใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดระยะเวลาแคมเปญ เพื่อให้คนสนใจในระยะเวลาอันสั้น หรือการลดราคาสินค้าหนักๆ จำนวนน้อยๆ เพื่อเรียกให้มีผู้สนใจและจดจำแบรนด์ได้ รวมถึงการทำแคมเปญเกี่ยวกับการประกันสินค้า เพื่อให้แบรนด์มีชื่อในระยะยาวมากขึ้น

JOMO ขั้วตรงข้ามของ FOMO

ถ้ามีพฤติกรรมกลัวการตกเทรนด์ก็ย่อมมีพฤติกรรมที่มีความสุขกับการตกเทรนด์เช่นกัน นั่นคือ JOMO หรือ Joy of missing out ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีความสุขกับการงดใช้หรือติดตามอินเทอร์เน็ต รวมถึงเลิกสนใจสิ่งต่างๆ และทำสิ่งอื่นแทน เช่น อ่านหนังสือ ท่องเที่ยวพักผ่อน เป็นต้น

แน่นอนว่าพฤติกรรมสามารถปรับเปลี่ยนได้แล้วแต่ในช่วงเวลา บางครั้งคนๆ หนึ่งอาจเสพติดข่าวสาร และในเวลาต่อมา คนๆ นั้นก็เลือกจะไม่สนใจเสพหรือติดตามเทรนด์ได้เช่นกัน ดังนั้นหากต้องการทำการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ ควรเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อการทำการตลาด ออกแคมเปญ และการนำเสนอสินค้าที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

สรุป

การทำความรู้จักพฤติกรรม Fear of missing out ไม่ใช่แค่เพื่อการทำการตลาดอิงเทรนด์ไปเรื่อยๆ เท่านั้น แต่เป็นการเปิดกว้างโอกาสในการทำการตลาดด้วยการศึกษากลุ่มเป้าหมายอย่างถ่องแท้ และวางแผนการตลาดให้สอดรับกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นระบบอีกด้วย

เนื่องจากเทรนด์เป็นสิ่งที่หมุนเวียนเปลี่ยนผ่านไปอย่างรวดเร็วเสมอ นอกจากการวางแผนเพื่อตามกระแสต่างๆ แล้ว แบรนด์จำเป็นต้องมีการรักษาคุณภาพสินค้าและบริการ รวมถึงการรับมือผู้บริโภคให้ดีเสมอ มิเช่นนั้นแล้ว การที่แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้างอาจกลายเป็นข้อเสียร้ายแรงได้ในเวลาถัดมา

จับตามอง BCG Model โมเดลเศรษฐกิจสีเขียวสู่ความยั่งยืนระยะยาว

SHARE

การวางโมเดลสำหรับพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาวสำหรับยุคปัจจุบันจำเป็นจะต้องมีปัจจัยด้านความยั่งยืนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า การรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด BCG Model คือหนึ่งในโมเดลเศรษฐกิจที่ประเทศไทยนำมาปรับใช้เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคง

BCG Model คืออะไร ทำไมไทยจึงให้ความสำคัญ

โมเดลเศรษฐกิจแบบ BCG คือ โมเดลที่มุ่งเน้นพัฒนาเศรษฐกิจ 3 ด้านหลัก คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และ เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาทั้งสามด้านพร้อมกันเพื่อผลักดันความสามารถในการแข่งขันของคนในประเทศ ขณะเดียวกันก็คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และพร้อมพัฒนาสิ่งต่างๆ อย่างยั่งยืน

ซึ่งรายละเอียดของเศรษฐกิจทั้ง 3 ด้านมีดังต่อไปนี้

Bioeconomy

เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) คือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและองค์ความรู้ต่างๆ ทางด้านชีวภาพ เช่น พันธุวิศกรรม ชีววิทยาเชิงระบบ (การแก้ไขด้านชีววิทยาความซับซ้อนสูง) และจีโนมิกส์ (ชีววิทยาด้านการจัดเรียงสารพันธุกรรม) มาเพิ่มมูลค่า ประสิทธิภาพการผลิต และส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าให้ถูกใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

Circular economy

เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เป็นการวางโครงสร้างเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญในด้านการลดความสูญเปล่าของทรัพยากรจนเหลือศูนย์ (Zero Waste) การออกแบบ ผลิต จนถึงขั้นตอนการกำจัดสิ่งต่างๆ ต้องมีการหมุนเวียนเป็นวงกลมเสมอ

bcg-model-eco-business-for-sustainability-04

การใช้งาน BCG Model ในไทย

สาเหตุที่ภาครัฐมีการใช้งาน BCG Model นี้ เนื่องจากประเทศไทยจำเป็นต้องมีการพัฒนาสิ่งแวดล้อม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรต่างๆ ในระยะยาว รวมถึงการกระจายรายได้ในชุมชนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โมเดลที่ใช้จึงต้องครอบคลุมอุตสาหกรรมสำคัญภายในประเทศและพัฒนาสิ่งแวดล้อมไปในเวลาเดียวกัน

โดยโมเดลดังกล่าวครอบคลุม 4 อุตสาหกรรม S-Curve ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมาก ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งมีการปรับใช้ดังนี้

อุตสาหกรรมเกษตร
นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางชีวภาพ เทคโนโลยีการเกษตรและการเก็บข้อมูลเข้ามาปรับใช้ให้แก่เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต เช่น Smart Farmer พัฒนาองค์ความรู้บุคลากร พร้อมกำหนดนโยบายต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการทำธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนในอนาคต

อุตสาหกรรมพลังงาน
เสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน สนับสนุนการผลิตพลังงานของชุมชนและการผลิตพลังงานหมุนเวียน เพื่อทำให้ภาคประชาชนได้เข้าถึงพลังงานกันทั่วถึงในราคายุติธรรม และช่วยลดความเสี่ยงในด้านการเกิดวิกฤตพลังงาน

bcg-model-eco-business-for-sustainability-05

อุตสาหกรรมการแพทย์
ส่งเสริมการผลิตยา วัคซีน และชุดตรวจต่างๆ เพื่อได้มาซึ่งกระบวนการที่ได้คุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ดูแลแนวทางการผลิต ใช้ และจัดการวัสดุต่างๆ หลังใช้เสร็จ ส่งผลทำให้เกิดการกำจัดสิ่งของเสียอย่างเหมาะสม

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
พัฒนาการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้เทคโนโลยีเข้าสนับสนุนเพื่อช่วยบริหารจัดการการท่องเที่ยว สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับการท่องเที่ยวพร้อมกับรักษาอัตลักษณ์และแก้ปัญหาทรัพยากรในการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ

เห็นได้ชัดเลยว่า BCG Model เป็นอีกโมเดลที่ช่วยกำหนดภาพรวมเศรษฐกิจทั้งใหญ่และเล็ก ทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์อย่างยั่งยืนพร้อมทั้งดีต่อสิ่งแวดล้อม มีการให้ความสำคัญกับการหมุนเวียนทรัพยากร เพิ่มมูลค่าของผลผลิตต่างๆ และลดต้นทุนไปในเวลาเดียวกัน

สรุป

BCG Model เป็นโมเดลเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสิ่งต่างๆ อย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยีเศรษฐกิจแบบชีวภาพ การจัดการทรัพยากร วัตถุดิบแบบหมุนเวียน รวมถึงการทำธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

สิ่งสำคัญที่ต้องจับตามากกว่าหลักการคือการปรับใช้จริงจากหน่วยงานต่างๆ และการได้รับการตอบรับโมเดลนี้จากภาคเอกชนและคนธรรมดา เนื่องจาก BCG Model เป็นโมเดลที่มองจากภาพรวมและพึ่งพาบุคลากรจำนวนมาก หากไม่ได้มีการดำเนินนโยบายชัดเจนเพียงพอ รวมถึงการทำความเข้าใจกับภาคส่วนต่างๆ โมเดลการทำธุรกิจนี้ก็อาจเป็นไปได้ยากในเวลาอันสั้น

New call-to-action

การทำธุรกิจแบบ Synergy เมื่อความร่วมมือ = การพัฒนาที่เหนือกว่า

SHARE

Synergy คือรูปแบบการทำธุรกิจที่ผสานความสามารถระหว่างองค์กร ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ บุคลากร หรือเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานทั้งหมด ทำให้มีโอกาสในการทำกำไรมากขึ้น และใช้ต้นทุนโดยรวมที่ลดลง ซึ่งอาจเป็นการควบรวมธุรกิจโดยตรงหรือการให้ความร่วมมือก็ได้

เรื่อง Synergy มีมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา แต่กระแสของเรื่องนี้กลับเงียบหายไปในเวลาไม่นาน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เราจะมาหาคำตอบกัน

1+1 = 3 หลักสำคัญของการทำธุรกิจ Synergy

การทำธุรกิจแบบ Synergy มีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การควบรวมองค์กร การให้ความร่วมมือระหว่างองค์กร การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี บุคลากร ไปจนถึงการขอความร่วมมือในการขายสินค้า (Cross-Selling และ Up-Selling) ของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งการทำธุรกิจแต่ละรูปแบบก็จะมีจุดอ่อน จุดแข็ง แตกต่างกันออกไป เช่น การควบรวมระหว่างสององค์กร อาจทำให้มีอัตราการเติบโตและการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีที่เหนือกว่า แต่ก็ทำให้ต้องมีการจัดสรรเงินทุนและการวิจัยสิ่งต่างๆ ใหม่ เป็นต้น

โดยหลักการเบื้องต้นของการทำงานแบบ Synergy คือ

  • การตั้งเป้าหมายร่วมกัน ที่ต้องสูงกว่าการตั้งเป้าหมายแบบปกติ
  • การแบ่งปันข้อมูล วัตถุดิบ และบุคลากรระหว่าง 2 องค์กร
  • การให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการพัฒนาองค์กร

จุดร่วมของ Synergy ทุกรูปแบบก็คือ ถ้าร่วมมือประสิทธิภาพจะต้องเหนือกว่า และการร่วมมือนั้นจะต้องไม่ทำให้เกิดปัญหาระหว่าง 2 องค์กร (หรือหน่วยงาน) ทั้งระยะสั้นและระยะยาว สิ่งเหล่านั้นคือหัวใจสำคัญในการทำงานแบบ Synergy ถ้าทำแล้วแย่ลง ควรหลีกเลี่ยง เพราะไม่ใช่ทุกองค์กรเหมาะกับการทำธุรกิจแบบนี้

why-synergy-is-important-3

ประโยชน์ของ Synergy

หากองค์กรของคุณสามารถปรับใช้ Synergy ได้อย่างมีคุณภาพ จะได้ประโยชน์โดยตรง 3 เรื่องหลัก คือ

1.ความหลากหลายในการทำงาน
ปริมาณคนในองค์กรที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลตรงต่อความหลากหลายในการทำงานที่เพิ่มขึ้นตาม ขอบเขตของการทำงานทั้งหมดก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ส่งผลให้งานที่ทำรวดเร็วมากขึ้น มีความแม่นยำ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ใช้เวลาที่สั้นลง

2.พัฒนาการของการทำงาน
Synergy ทำให้เกิดการแข่งขันภายในองค์กรเพิ่มขึ้น ต่างคนต่างต้องให้ความสำคัญกับการทำงานในหน้าที่ของตัวเอง เพื่อพัฒนาซึ่งกันและกัน และความสำเร็จก็เท่ากับความก้าวหน้าของทั้งสององค์กร

3.ความสร้างสรรค์ในการทำงาน
การมีคนมากก็ย่อมมีไอเดียที่มากขึ้นตาม ทั้งคุณภาพและปริมาณ การสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพเป็นอีกจุดแข็งของการทำงานแบบ Synergy ซึ่งหากมีการปรับใช้ ทางผู้บริหารควรมีการกำหนดทิศทางการทำงานในส่วนนี้อย่างเหมาะสมเพื่อเปิดโอกาสในความคิดที่หลากหลาย เพื่อการทำงานที่ดียิ่งขึ้น

นอกเหนือจากนั้น Synergy ยังช่วยในการบริหารจัดการปัจจัยต่างๆ ทำให้รับรู้วิสัยทัศน์ขององค์กรที่ร่วมมือด้วยและปรับใช้สิ่งเหล่านั้นร่วมกับองค์กรของเราอย่างเหมาะสม

บทบาทของ Synergy ที่หายไป

ทำไมจึงไม่ค่อยมีการพูดถึง Synergy หากการทำงานในรูปแบบนี้เวิร์ก หากกล่าวแบบเรียบง่ายที่สุดคือเทรนด์การทำงานแบบ Synergy นั้น ถูกกลืนเข้าไปในกระแสของการทำองค์กรสมัยใหม่ ที่ความร่วมมือดูจะเป็นเรื่องธรรมดา มิใช่อะไรที่พิเศษอีกต่อไป อีกทั้งการทำงานแบบใหม่นั้นยังรองรับความหลากหลายและวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างได้ดีกว่า ไม่จำเป็นต้องมีการจูนบุคลากรเข้าหากันเพื่อทำงาน

why-synergy-is-important-5

Synergy ภายใต้การทำงานปัจจุบัน

แน่นอนว่าการทำธุรกิจแบบ Synergy นั้นไม่ได้หายไปไหนเสียทีเดียว แต่มันถูกแปรเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสิ่งทีใหญ่ยิ่งกว่า นั่นคือ Business Ecosystem หรือระบบนิเวศทางธุรกิจ และการลงทุนในรูปแบบ Joint Venture เพื่อสนับสนุนธุรกิจต่างๆ แทนที่การร่วมมือกันแบบ 100% นอกเหนือจากนั้นคือการควบรวมองค์กร ซึ่งระบบภายในจะเกิดการ Synergy โดยตัวเองเพื่อความอยู่รอดของทั้งสององค์กร

บทบาทของ Synergy ยังถูกย่อยลงมาอยู่ในระดับทีม โดยใช้เป็นพื้นฐานในการปรับความเข้าใจและการทำงานระหว่างทีมต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยเฉพาะกรณีที่คนในทีมยังไม่เคยทำงานด้วยกันเลย เช่น การตั้งเป้าหมายระหว่างทีมร่วมกัน การแชร์วัตถุดิบในการทำงานระหว่างทั้งสองทีม เป็นต้น

สรุป

การทำธุรกิจแบบ Synergy เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการทำงานที่น่าสนใจ ภายใต้ความกดดันและสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาดหรือปัญหาด้านเศรษฐกิจ การเลือกควบรวมกิจการหรือแสวงหาความร่วมมือจากองค์กรอื่นๆ รวมถึงการปรับใช้เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าภายในทีมขององค์กรอีกด้วย

การเลือกมองรูปแบบการพัฒนาระหว่างองค์กรยังมีอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการให้ความร่วมมือ ร่วมทุน หรือแม้แต่สนับสนุนเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว ซึ่งในการทำงานจริงควรศึกษาและเลือกวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับองค์กรของตนเอง

PTT-ebook-1-startup

Social Listening เข้าใจลูกค้าด้วยการฟังเสียงของลูกค้า

SHARE

Social Media เป็นหนึ่งในช่องทางที่ส่งผลอย่างมากในการทำธุรกิจในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นด้านบวก หรือด้านลบ เนื่องจากเป็นแหล่งรวมของผู้คนจำนวนมาก การเก็บข้อมูลจากแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อสนับสนุนการทำการตลาดจึงเป็นเรื่องจำเป็น และเทคนิคนั้นถูกเรียกว่า Social Listening หรือการฟังเสียงผู้บริโภคในสังคมนั่นเอง

Social Listening เมื่อ “เสียง” มีความหมายกับธุรกิจกว่าที่คิด

Social Listening คือการใช้เครื่องมือในการบริหารจัดการข้อมูลของผู้บริโภคในโลกอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะจากช่องทาง Social Media เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจ สินค้า และบริการให้ดียิ่งขึ้น

การทำงานของ Social Listening มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการส่องคู่แข่งทางการค้า หรือตรวจสอบเทรนด์ต่างๆ บนโลกออนไลน์ แต่เทคนิค Social Listening ที่ใช้เป็นส่วนมากคือการใช้ประโยชน์จาก Keyword ที่มีอยู่มากมายบนสื่อในอินเทอร์เน็ต

social-listening-understanding-customers-by-thier-voices

Keyword คืออะไร ? Keyword คือคำสำคัญ ที่ได้รับการพูดถึง ค้นหา หรือใช้งานบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเรื่องใด ก็ตาม ยิ่งมีคำค้นหาสูง มีผู้คนพูดถึง มีปฏิสัมพันธ์กับคำเหล่านั้นมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ตัว Keyword แบรนด์ต่างๆ สามารถติดตามเพื่อฟังได้มากขึ้นเท่านั้น

นอกเหนือจากการใช้ Keyword แล้ว อีกเทคนิคนึงคือการติดตามความคิดเห็นของผู้คนผ่านโพสต์หรือ Email ของตัวเอง ตรวจสอบการเข้ามามาปฏิสัมพันธ์ (Engagement) หรือการซื้อขายที่เกิดขึ้นจากแคมเปญนั้นๆ โดยตรง รวมถึงฟีดแบ็กที่ได้จากการทำแคมเปญ และไม่ว่าจะเลือกเทคนิคไหน สิ่งสำคัญเลยคือต้องมีการปรับใช้ให้เหมาะสมกับแบรนด์ และช่วงเวลาที่ดำเนินการทำ Marketing

อุปกรณ์ที่เราใช้เพื่อเข้าใจลูกค้ามากขึ้น จะถูกเรียกว่า Social Listening Tools โดยมีตัวอย่างดังต่อไปนี้

Social Listening Tools มีอะไรบ้าง

social-listening-understanding-customers-by-thier-voices

HubSpot Social Media Management Software
เครื่องมือ Social Listening จากบริการ Marketing เจ้าดังอย่าง HubSpot ที่มีฟังก์ชันการจัดการโปรไฟล์ผ่านโซเชียลมีเดียเจ้าใหญ่ๆ ทั้ง Facebook, Instagram, Twitter และ LinkedIn สามารถใช้ตรวจสอบ ตั้งเวลาโพสต์ รวมถึงวิเคราะห์กระแสการตอบรับจากลูกค้าหรือผู้ที่สนใจสินค้าของเรา

social-listening-understanding-customers-by-thier-voices

Keyhole
Social Listening Tools ที่ใช้ร่วมกับ Twitter และ Instagram เป็นหลัก โดยเน้นการตรวจสอบแฮชแท็ก (Hashtags) แบบวันต่อวัน และใช้เทคโนโลยี AI ในการวิเคราะห์ทิศทางเทรนด์ต่างๆ ว่าจะมีแนวโน้มไปทางไหน ช่วยให้เราสามารถวางแผนการทำการตลาดล่วงหน้าได้

social-listening-understanding-customers-by-thier-voices

Mention
Mention คือ Tools ที่เน้นการตรวจสอบ ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับการทำการตลาดของแบรนด์ต่างๆ มีฟังก์ชันให้พนักงานทำงานร่วมกันเพื่อให้พนักงานแก้ปัญหา รวมถึงสามารถใช้ในการตรวจสอบคู่แข่ง (Competitor Analysis) ได้อีกด้วย

สังเกตได้ว่า Social Listening Tools เองก็จะมีฟังก์ชันและความเหมาะสมในการทำงานแตกต่างกันออกไปตามแบรนด์ ดังนั้นผู้ที่ต้องการใช้เทคนิค Social Listening ในการทำงานควรศึกษาอุปกรณ์ต่างๆ และเลือกใช้อย่างเหมาะสม เพราะยังมี Tools อีกมากที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึง

ประโยชน์ของ Social Listening ต่อการทำธุรกิจในปัจจุบัน

1.ออกแบบกลยุทธ์ทางการตลาด
การใช้เทคนิค Social Listening จะทำให้ผู้บริหารรับรู้ถึงความต้องการของผู้บริโภค เกี่ยวกับสินค้า และบริการ รวมถึงรูปแบบการตลาดที่น่าสนใจ สามารถนำมาปรับใช้เพื่อออกแบบกลยุทธ์ทางการตลาด แคมเปญต่างๆ เช่น การลด แลก แจก แถม หรือการใช้อินฟลูเอนเซอร์เพื่อโปรโมทสินค้า

2.ทำให้รับรู้ผลลัพธ์และทิศทางของแคมเปญ
Social Listening สามารถใช้ติดตามผลลัพธ์ของสินค้า บริการ และแคมเปญของธุรกิจ เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งที่เราลงทุนไป ทั้งการทำแคมเปญ การโปรโมทสินค้า นั้นได้ผลเชิงบวกหรือลบมากกว่ากัน รวมถึงวัดความนิยมในการพูดถึงสินค้าและบริการต่างๆ ได้

3.วิเคราะห์คู่แข่ง
เนื่องจากการตรวจสอบและติดตาม Keyword นั้นสามารถดูได้จากภาพรวม จึงทำให้กลยุทธ์การใช้ Social Listening สามารถดูความเคลื่อนไหวและการทำแคมเปญต่างๆ ของคู่แข่งได้ด้วย Social Listening Tools บางตัวยังสามารถวิเคราะห์ได้อีกว่าการทำการตลาดของอีกฝ่ายสำเร็จหรือไม่ ช่วยเพิ่มแนวทางที่เหมาะสมในการทำงานของธุรกิจเราได้อีกด้วย

4.ใช้ร่วมกับการบริการลูกค้า
Social Listening Tools ไม่ได้เป็นเครื่องมือแค่การดูสิ่งต่างๆ ในภาพกว้างเท่านั้น มันยังสามารถเจาะจงมาใช้บริหารจัดการความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เข้ามาด้วย เช่น การตรวจสอบและตอบอีเมล แชท ที่เข้ามาในเว็บไซต์ เพื่อให้การทำการตลาดของเราสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

สรุป

Social Listening คือเทคนิคสำคัญสำหรับธุรกิจในโลกออนไลน์ที่ต้องการปรับตัวอย่างยั่งยืน และมีการฟังเสียงผู้บริโภคเพื่อใช้ในการบริหาร เพื่อนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการ และแคมเปญเป็นของตัวเอง รวมถึงศึกษาคู่แข่งว่ามีการทำงานอย่างไร

ทั้งนี้ทั้งนั้น Social Listening เป็นเพียงหนึ่งเทคนิคในการทำการตลาดเท่านั้น ยังมีวิธีการและเครื่องมืออีกมากมายที่สามารถใช้งานได้ ซึ่งธุรกิจต่างๆ ควรศึกษาข้อดี-ข้อเสีย ของการใช้งานเครื่องมือและการทำงานต่างๆ เพื่อทำให้สิ่งที่ทำลงไปนั้นเกิดประโยชน์สูงสุด

New call-to-action

เข้าใจ Data Privacy และ Security ปรับธุรกิจรับมือ PDPA

SHARE

เมื่อข้อมูลกลายเป็นขุมทรัพย์สำหรับบริษัทใหญ่และในบางครั้งการใช้ข้อมูลมากเกินไปก็ทำให้คนที่เกี่ยวข้องเดือดร้อนได้ การปรับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Privacy) และเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ข้อมูล (Data Security) ให้กับทุกๆ คน

โดยบทความนี้เป็นการสรุป พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างย่อเท่านั้น หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมรวมถึงข้อกฎหมายเชิงลึกสามารถอ่านได้ที่ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

knowing-data-privacy-and-security-for-pdpa

รู้จัก PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

Personal Data Protection Act (PDPA) หรือในชื่อไทยคือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อดูแลข้อมูลของผู้คนภายในประเทศไม่ให้องค์กหรือกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนำข้อมูลของเราไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม

พ.ร.บ.นี้ ใกล้ตัวขนาดไหน ? สำหรับประชาชนคนทั่วไปล่ะก็ อาจจะเคยเจอเหตุการณ์ เช่น บริษัทประกันโทรหาเพื่อเสนอขาย หรือมีการโฆษณาผ่านอีเมลจากที่ไหนไม่รู้โดยที่เราไม่ได้ยินยอมมาก่อน ซึ่งการเข้ามาของ PDPA จะช่วยลดเหตุการณ์เหล่านี้ให้น้อยลง เนื่องจากกลุ่มบุคคลการนำข้อมูลไปใช้โดยพละการจะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย

หากใครรู้สึกคุ้นๆ กับ PDPA นี้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ปรากฎเป็นข่าวมาพักใหญ่เมื่อช่วงปี 2563 แต่ได้มีการเลื่อนการบังคับใช้จากวันที่ 27 พ.ค.2563 เป็น 1 มิ.ย. 2565 เนื่องจากสถานการณ์ Covid-19 อย่างไรก็ดียังเป็นหน้าที่ของธุรกิจต่างๆ ที่ต้องตรวจสอบว่าธุรกิจของเรามีการละเมิด PDPA อยู่หรือเปล่า

knowing-data-privacy-and-security-for-pdpa

PDPA กับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ เป็นกฎหมายที่คุ้มครองข้อมูลทั้งบุคคลธรรมดา นิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทย บริษัทในไทย และบริษัทต่างประเทศที่มีการขายสินค้าและบริการในประเทศไทยด้วย โดยครอบคลุมด้านข้อมูลใน 2 ประเด็นหลัก คือการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy) ไม่ให้คนอื่นมาล่วงละเมิด อีกประเด็นคือความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security)

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ จะทำให้ประชาชนเข้าถึงวัตถุประสงค์การจัดเก็บข้อมูลของธุรกิจและภาคส่วนต่างๆ ที่มีการใช้ข้อมูล สามารถขอให้ลบ ทำลาย ขอให้ระงับใช้ข้อมูล ร่วมถึงสามารถร้องเรียนและเรียกค่าสินไหมทดแทนกรณีมีการละเมิดหรือใช้ข้อมูลนอกเหนือวัตถุประสงค์

ความปลอดภัยทางข้อมูล

มีการกำหนดบทลงโทษสำหรับบุคคล ธุรกิจ หรือหน่วยงานหากมีการเก็บรวบรวมเกินความจำเป็น ไม่ได้มีการรักษาความปลอดภัยทางข้อมูลให้เหมาะสม ไม่แจ้งเหตุเมื่อถูกละเมิดข้อมูล

บทลงโทษของ PDPA นั้นมีทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • โทษทางอาญา จำคุกไม่เกิน 6 เดือนถึง 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท ถึง 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • โทษทางปกครอง ปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท
  • ความรับผิดทางแพ่ง จ่ายสินไหมไม่เกิน 2 เท่าของสินไหมที่แท้จริง

แน่นอนว่าโทษของกฎหมายนี้ไม่ได้เบาเลย นั่นทำให้ทุกธุรกิจที่ทำงานเกี่ยวกับข้อมูลต้องให้ความสำคัญกับ PDPA ต้องมีการปรับตัวอย่างมาก เพื่อไม่ให้ทำผิดข้อกฎหมายไม่ว่าจะเป็นความประมาทไม่ตั้งใจหรือตั้งใจก็ตามที

Tip: กฎหมายนี้ในประเทศแถบยุโรปก็มีเช่นกัน โดยจะใช้ชื่อว่า General Data Protection Regulation (GDPR) โดยต่างกับ PDPA ของไทยที่บุคคลที่คุ้มครองและบทลงโทษของกฎหมาย

knowing-data-privacy-and-security-for-pdpa

การปรับธุรกิจเพื่อรับมือกับ PDPA

1.ให้ความรู้เพื่อให้คนในองค์กรเกิดความตระหนักและความเข้าใจกับเรื่อง PDPA

ไม่เพียงแค่ฝ่ายกฎหมายในองค์กรเท่านั้นที่ต้องให้ความสำคัญกับ PDPA เพราะเรื่องนี้ครอบคลุมตั้งแต่การออกนโยบาย การจัดเก็บข้อมูล ฝ่ายการตลาดที่ต้องทำความเข้าใจกับลูกค้า ดังนั้นทุกธุรกิจจึงต้องมีการกำหนดบทบาทและบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อรับผิดชอบงานด้านนี้ และทำการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลหากเกิดปัญหา

2.มีการชี้แจงเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลทุกครั้ง

ทางธุรกิจจะต้องมีการชี้แจงกับลูกค้าหรือบุคคลที่กำลังจะเก็บข้อมูลทุกครั้งก่อน และดำเนินการเก็บข้อมูลเมื่ออีกฝ่ายยินยอมเท่านั้น

ตัวอย่างในเรื่องนี้มักพบเห็นจากเว็บไซต์ต่างๆ หลายคนอาจเห็นแถบเล็กๆ ที่มีการเขียนระบุเกี่ยวกับ Privacy Policy หรือการอธิบายมาตรการเกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลส่วนตัว โดยจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่จัดเก็บ แหล่งที่มา วัตถุประสงค์การเก็บข้อมูล รวมถึงสิทธิของเจ้าของข้อมูล และในอนาคตจะมีหน้า Privacy Policy เช่นนี้ทุกเว็บไซต์เนื่องจากกฎหมายกำหนด

3.มีการป้องกันทางข้อมูลที่รัดกุม

การจารกรรมข้อมูลทางคอมพิวเตอร์เป็นอีกกรณีที่สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้งในปัจจุบัน ซึ่งถ้าธุรกิจที่มีการเก็บข้อมูล ไม่ได้มีการป้องกันข้อมูลที่ดีเพียงพอ หรือจงใจปล่อยให้ข้อมูลถูกจารกรรมจนมีผู้เสียหาย อาจถูกดำเนินคดีได้

ดังนั้นควรทำให้แน่ใจว่าเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มที่ถูกสร้างขึ้น มีความแข็งแกร่งมากพอ รวมถึงมีการป้องกันที่ดีพอไม่ให้ถูกเจาะและถูกล้วงข้อมูลได้ง่ายๆ

หากมีการปรับเปลี่ยนธุรกิจและการจัดการข้อมูลได้เหมาะสมแล้ว PDPA เองก็เป็นเพียงอีกหนึ่งข้อกฎหมายที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อความปลอดภัยของประชาชนคนทั่วไปเท่านั้นเอง

สรุป

PDPA เป็นอีกกฎหมายใหม่ที่คนทำธุรกิจทุกประเภทที่มีการเก็บข้อมูลลูกค้า ไม่ว่าจะออนไลน์หรือออฟไลน์จำเป็นจะต้องรู้เอาไว้ เพื่อการดำเนินงานที่ถูกต้องและโปร่งใส รวมถึงป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ซึ่งเป็นที่น่าจับตามองว่าหลังจากการประกาศใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองส่วนบุคคลนี้ไปแล้ว สถิติการละเมิดข้อมูลรวมถึงความปลอดภัยทางข้อมูลจะลดลงหรือไม่ คงต้องติดตามต่อไปในอนาคต

New call-to-action

Business Ecosystem เคล็ดลับการสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ

SHARE

การทำธุรกิจย่อมต้องมีปัจจัยแวดล้อมคอยสนับสนุนและกระตุ้นอยู่เสมอ ตั้งแต่ระดับบุคลากร หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน และเมื่อหลายฝ่ายมีการรวมตัวกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะกลายเป็นระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystem) วงจรที่คอยสนับสนุนซึ่งกันและกัน

นั่นเป็นคำตอบที่ว่าทำไมบางบริษัทถึงมีการเติบโตไวกว่าบริษัทอื่น เพราะปัจจัยที่อยู่รอบ ๆ นั้นเอื้อต่อการเติบโต โดยเราจะมาเจาะลึกกันว่าการสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจนี้ทำได้อย่างไร

Business Ecosystem สิ่งที่ธุรกิจขาดไม่ได้

ระบบนิเวศทางธุรกิจ หรือ Business Ecosystem คือ การรวมตัวกันของธุรกิจ บุคลากร องค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริม เกื้อหนุนกันให้ทุก ๆ ฝ่ายสามารถพัฒนาไปข้างหน้าได้ ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต สิ่งที่น่าสนใจคือภายในระบบนิเวศไม่จำเป็นจะต้องเป็นมิตรกันเสมอไป เช่น การมีคู่แข่งเข้ามาอยู่ในระบบนิเวศสามารถช่วยผลักดันให้แต่ละบริษัทปรับตัวจนสามารถเติบโตขึ้นจากการพัฒนาเช่นกัน

ซึ่งในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีดิจิทัลพัฒนายกระดับก้าวไกลขึ้น ทำให้ทุกธุรกิจต้องมีการปรับตัวและนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาปรับใช้เพื่อเพิ่มมูลค่า ส่งเสริมการผลิต การจัดการ และการบริการบุคลากร ยิ่งทำให้การสร้าง Business Ecosystem กับบริษัทใหม่ ๆ สำคัญมากขึ้นไปอีก

business-ecosystem-the-competitve-advantage

การปรับใช้ Business Ecosystem

Business Ecosystem มีการใช้งานที่หลากหลาย สำหรับธุรกิจต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีจุดเริ่มต้นที่เหมือนกันก็สามารถเชื่อมโยงกันได้ โดย Business Ecosystem มีพื้นฐานในการทำงานอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

Solution Ecosystem

การสร้าง Ecosystem โดยที่ธุรกิจของเรามีหน้าที่เข้าไปช่วยแก้ปัญหา หรือหาวัตถุดิบต่าง ๆ ตลอดจนสนับสนุนบริษัทอื่น ๆ ให้ขยายตัวยิ่งขึ้น และเมื่อทั้งระบบขยายตัวขึ้นเราจะมีการเติบโตตาม จนบริษัทของเราสามารถก้าวเข้าสู่ความยิ่งใหญ่ได้

Transaction Ecosystem

การสร้างระบบนิเวศประเภท Transaction เปรียบเสมือนระบบที่มีตัวกลางให้บริษัทหรือธุรกิจต่าง ๆ เข้ามา เช่น การที่ Shopee เป็นตัวกลางของผู้ซื้อและผู้ขาย หรือ Grab เป็นตัวกลางระหว่างรถแท็กซี่กับผู้โดยสาร

นอกเหนือจากตัวอย่างนี้ Business Ecosystem อาจจะมีการแบ่งที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับมุมมองของธุรกิจต่าง ๆ เช่น การแบ่งแบบธุรกิจเล็ก ธุรกิจใหญ่ หรือการแบ่งประเภทด้วยการสร้างความสัมพันธ์กับคู่ค้า (Partnership) แต่สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้ว่า ธุรกิจของเราจะเข้าไปอยู่จุดไหนของระบบ เสมอ

business-ecosystem-the-competitve-advantage

ข้อดีของการมี Ecosystem ที่ดี

1.การพัฒนาที่รวดเร็วยิ่งขึ้น สำหรับยุคที่เทคโนโลยีครองทุกสิ่งทุกอย่าง การสร้าง Ecosystem ที่มีเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่ง จะทำให้เราสามารถพัฒนาระบบได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น จากการขอความร่วมมือ จ้างงาน หรือขอคำแนะนำเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งอาจมีตั้งแต่โปรแกรมง่าย ๆ จนถึงการใช้งานเครื่องจักรขนาดใหญ่เลยทีเดียว

2.ความเข้าใจระหว่างองค์กรที่มากขึ้น การมี Business Ecosystem จะทำให้ทางผู้บริหารเข้าใจตลาดได้ดียิ่งขึ้นจากข้อมูลและมุมมองขององค์กรอื่น ๆ เพิ่มความแม่นยำและเฉียบขาดในการตัดสินใจ ขณะเดียวกันก็ยังสานสัมพันธ์และมีความเข้าใจระหว่างแต่ละฝ่ายมากขึ้น ช่วยให้มีการพัฒนาร่วมกันหรือจัดกิจกรรม ตลอดจนแคมเปญต่าง ๆ รวมกันได้ดี

3.มูลค่าของธุรกิจเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน เมื่อมีการพูดคุยและทุกฝ่ายร่วมมือกัน การกำหนดทิศทางของธุรกิจ การเชื่อมโยงกลุ่มธุรกิจให้หลากหลายและมีความเกื้อหนุนกัน ส่งผลให้มูลค่าของธุรกิจต่าง ๆ และเม็ดเงินที่ไหลเวียนในระบบเพิ่มมากขึ้นตามอัตราการเติบโตของบริษัทที่อยู่ร่วมกัน อีกทั้งยังสามารถควบคุมสถานการณ์ต่าง ๆ หากเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เช่น สินค้าขาดตลาด ล้นตลาด ได้ง่ายอีกด้วย

4.ขยายธุรกิจให้หลากหลายได้ง่าย หนึ่งในข้อดีของการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมคือการสร้างธุรกิจที่หลากหลายขึ้นกว่าเดิมได้ง่ายด้วยความร่วมมือของหลาย ๆ ฝ่าย เช่น การลงทุนต่อยอดธุรกิจร้านค้าปลีก เช่น ร้านกาแฟ Cafe Amazon จากการให้บริการสถานีน้ำมัน ปตท. เป็นต้น

5.การแข่งขันอย่างมีคุณภาพ การต่อสู้ทางธุรกิจภายใน  Ecosystem ที่ไม่เน้นการเอาชนะคู่แข่งอย่างเดียว แต่เป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และปรับตัวให้ทั้งสองฝ่ายก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ทั้งตัวบริษัทและผู้บริโภคได้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

ตัวอย่างของการใช้ “ระบบนิเวศ” ให้เป็นประโยชน์

ธุรกิจที่นอกเหนือจากธุรกิจน้ำมันของ ปตท.

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ ปตท. เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดสำหรับการสร้าง Ecosystem ที่มีคุณภาพ โดยการร่วมมือกับหลาย ๆ หน่วยงาน ตั้งแต่การปรับสัดส่วนธุรกิจน้ำมันลง และเพิ่มธุรกิจอื่น ๆ มากขึ้น เช่น ธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจต่างประเทศ โดยให้ธุรกิจเหล่านี้ทำงานร่วมกันในพื้นที่เดียวกัน อย่างการเปิดร้านกาแฟ Cafe Amazon ในสถานีบริการน้ำมันปตท. ที่เปรียบเหมือนการสร้าง Solution Ecosystem ขนาดย่อมเตรียมไว้

business-ecosystem-the-competitve-advantage

จุดเริ่มต้นนี้คือการขยายอาณาจักรของ ปตท. อย่างแท้จริง ด้วยการปรับเปลี่ยนมุมมองสู่การค้าปลีก การหา พันธมิตร (Partner) เพื่อขายสินค้า และต่อยอดไปต่างประเทศ ทำให้ ปตท. สามารถคงเสถียรภาพ และได้กำไรเพิ่มขึ้นแม้ว่าสถานการณ์น้ำมันโลกจะขึ้น ๆ ลง ๆ ก็ตาม

นอกเหนือจากนั้น ปตท. ยังมีการร่วมมือกับ Microsoft เพื่อพัฒนาระบบภายใน และต่อยอดด้วยการสนับสนุน Tech Startup ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่าง PTT ExpresSo เพื่อการต่อยอดธุรกิจให้กว้างขวาง ยั่งยืน ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ได้มากขึ้นอีกด้วย

ความหลากหลายในการลงทุนของ CP

หากพูดถึง Ecosystem เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) เป็นอีกเจ้าหนึ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้ ซึ่งจุดเริ่มต้นของความยิ่งใหญ่นี้เกิดจากการเริ่มต้นร้านขายเมล็ดผักเจียไต๋ และเริ่มต่อยอดเข้าสู่การผลิตอาหารสัตว์ เลี้ยงไก่ และทำฟาร์ม โดยทุกธุรกิจมีการไหลเวียนของผลิตภัณฑ์ภายในทั้งนั้น เช่น ใช้ผักบางส่วนจากฟาร์มเพื่อเลี้ยงสัตว์ และใช้พื้นที่ในการพัฒนาร่วมกัน

หลังจากนั้นทางเครือเจริญโภคภัณฑ์ก็มีการขยายขอบเขตไปยังร้านค้าปลีกอย่าง 7-11 และ Makro ที่ทำหน้าที่เป็นทั้ง Solution และ Transaction Ecosystem โดยใช้สินค้าของตัวเองเป็นหลักในการขาย เพิ่มรายได้เข้าบริษัทอีกทาง ในขณะเดียวกันก็เป็นตัวกลางระหว่างผู้ผลิตและร้านขายของปลีก-ส่งด้วย และในภายหลัง CP ก็มีการจับมือกับ Partner มากมาย จนกลายเป็น Business Ecosystem ที่แข็งแกร่งที่สุดในประเทศไทยรายหนึ่งเลยทีเดียว

ในปัจจุบัน CP มีธุรกิจในเครือกระจายอยู่ทุกอุตสาหกรรม ทั้งเกษตร ค้าปลีก โทรคมนาคม การเงิน ยาและเวชภัณฑ์ ไปจนถึงยานยนต์และอสังหาริมทรัพย์ นับว่าเป็นความหลากหลายที่ไม่สิ้นสุด ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าจะไปหยุด ณ จุดไหนจริงๆ

สรุป

Business Ecosystem ที่ดีไม่จำเป็นต้องยิ่งใหญ่แต่แรกเสมอไป แต่ผู้ที่จะสร้างธุรกิจหรือนำธุรกิจเข้าสู่ระบบนิเวศได้นั้น จำเป็นต้องมีการเข้าใจ วางแผน และต่อยอดอย่างเป็นระบบและขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคสมัยปัจจุบัน ที่การพูดคุย ติดต่อสื่อสาร และเจรจาธุรกิจสามารถทำได้ง่ายกว่าเดิมมาก หากมีการวางแผนที่ดีก็สามารถทำระบบนิเวศให้เอื้อต่อธุรกิจของเราก็ไม่ใช่แค่ความฝันอย่างแน่นอน

New call-to-action
  • SUBSCRIBE TO BE
    THE FIRST INNOVATOR.

logo