Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

FOMO คืออะไร? เมื่อผู้บริโภค “กลัว” การตกกระแส

SHARE

เทคโนโลยีมาพร้อมกับความไวในการติดต่อสื่อสาร เทรนด์บนโลกออนไลน์เกิดขึ้นใหม่ได้ทุกๆ เสี้ยววินาที และก่อให้เกิดภาวะที่เรียกว่า FOMO (Fear of missing out) ที่ผู้คนจำนวนมากกลัวการ “พลาด” หรือ ตกเทรนด์อะไรบางอย่าง

นั่นทำให้คนจำนวนมากได้เห็นกระแสต่างๆ มากมายภายใต้การทำการตลาดที่ทำให้รู้สึกว่า “พลาดไม่ได้แล้ว!!” ทั้งการออกสินค้าใหม่ของแบรนด์ใหญ่ การลดราคารายเดือน 

นี่คือการเจาะเข้าไปในกระแสของ FOMO เพื่อให้การตลาดของคุณเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

FOMO คืออะไร การตลาดเบื้องหลังคำว่า “ห้ามพลาด”

Fear of missing out หรือ FOMO เป็นคำนิยามพฤติกรรมของคนที่วิตกกังวลว่าตนเองจะพลาด หรือตกเทรนด์อะไรบางอย่าง รวมถึงการพลาดโอกาสจากแคมเปญทำให้ต้องติดมือถือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อยู่ตลอดเวลา 

พฤติกรรมแบบ FOMO ไม่ใช่เรื่องแปลกและเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะคนยุคมิลเลนเนียล (Millennial) ที่โตมาในยุคสมัยที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนได้ไว

การทำการตลาดเพื่อคนเหล่านี้โดยเฉพาะจึงเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กต้องให้ความสำคัญ เพราะถ้ากระแสติดแล้วจะสามารถกระจายเป็นไวรัลขนาดใหญ่ได้ง่ายมากๆ ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่การใช้โฆษณา เพลง วิดีโอ รูปภาพ หรือแม้กระทั่งมีม (Meme) ที่โดนใจคนบนโลกออนไลน์ พร้อมชี้นำให้คนเหล่านั้นให้หันเข้าหาสินค้าและบริการของเรา

บทความ fomo คือ

การทำการตลาดที่เหมาะสมกับ FOMO

1.กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน

แม้ว่าพฤติกรรมของกลุ่ม FOMO จะเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่การเจาะตลาดของคนเหล่านี้ได้นั้น ควรจะมีการแบ่งกลุ่มเป้าหมายย่อยออกมาด้วย เช่น อายุ สายอาชีพ ความสนใจ เพื่อให้คอนเทนต์ แคมเปญหรือสินค้าและบริการที่สร้างขึ้นมาเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

เช่น การกำหนดกลุ่มผู้ซื้อแบบแยก Gen X, Gen Y, Millennial การแยกจากอาชีพ อย่างนักเรียน นักศึกษา นักลงทุน ข้าราชการ พนักงาน 

ยิ่งกำหนดชัดเจนเท่าไหร่ การโฆษณาและการสร้างแคมเปญก็จะเจาะกลุ่มเฉพาะ เพิ่มโอกาสในการทำการขายสินค้าได้เท่านั้น

2. มีการ “สร้าง” หรือ “อิง” เทรนด์ต่างๆ อยู่เสมอ 

Fear of missing out จะเกี่ยวกับกระแสในโลกอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกระแสเองหรือการอิงกระแส ดังนั้นคนที่ตองการทำการตลาดแบบนี้ หลังจากศึกษากลุ่มเป้าหมายแล้วอาจต้องทดลองทำหรืออิงกระแสเป็นระยะๆ เช่น

  • กระแสลดราคาพิเศษในวันที่เลขวันและเดือนตรงกัน เช่น 11.11 ที่ทำให้ร้านค้าออนไลน์ปรับเปลี่ยนมาทำแคมเปญลดราคาพร้อมกันในทุกๆ เดือน
  • กระแสอิงมีม (MEME) ที่เป็นรูปและข้อความที่น่าสนใจซึ่งแพร่กระจายอย่างรวดเร็วบนโลกอินเทอร์เน็ต เพื่อให้การโฆษณาไปได้ไวขึ้น
  • กระแสกลุ่มจัดโต๊ะคอมพิวเตอร์ จัดบ้าน หรือแม้กระทั่งกลุ่มอาหาร
  • กระแสโฆษณาผ่าน influencer เช่น opthus, grainey และ Advice 

เมื่อมีคนเข้าถึงเยอะ มีตัวอย่างเยอะ ผู้ชมจะสัมผัสถึงความ “พลาดไม่ได้” จากสินค้าและบริการนั้นๆ ทำให้มีโอกาสในการซื้อขายได้มากขึ้น

บทความ fomo คือ

3. มีช่องทางที่เหมาะสมสำหรับการทำการตลาด

การเจาะกลุ่ม FOMO สามารถทำได้มีประสิทธิภาพที่สุดบนโลกออนไลน์ แต่ก็ต้องเลือกช่องทางการตลาดที่เหมาะสมด้วย เช่น

  • การใช้เว็บไซต์เพื่อรองรับการขายสินค้าและนำเสนอคอนเทนต์ระยะยาว
  • การใช้ Twitter และ Facebook เพื่อนำเสนอคอนเทนต์ที่เน้นความไว ตามกระแสแฮชแท็ก
  • การใช้ Tiktok เพื่อสร้างคอนเทนต์และใช้เทรนด์วิดีโอสั้นให้เป็นประโยชน์
  • การใช้ Youtube เพื่ออัปเดตคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอที่ค่อนข้างยาว

ดังนั้นการวางแผนสำหรับแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อให้การตลาดมีประสิทธิภาพสูงสุด และแน่นอนว่าอาจไม่ได้หยุดเพียงแค่แพลตฟอร์มฮิตๆ อย่าง Facebook หรือ Tiktok แต่รวมไปถึงแพลตฟอร์มที่ค่อนข้างเฉพาะทางกว่า เช่น การโปรโมตอีเวนต์เฉพาะสายอาชีพลงไปใน LinkedIn ซึ่งเป็นโซเชียลมีเดียสำหรับการหางานโดยเฉพาะ เป็นต้น

4. ใช้เทคนิคด้าน “จำนวน” ของสิ่งต่างๆ เพื่อความน่าสนใจ

กระแสจะเกิดได้ก็จากการที่มีคนสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการโชว์ให้คนอื่นๆ เห็นความฮิต ความน่าสนใจของกระแสที่กำลังถูกสร้างขึ้นก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะยอดไลก์ ยอดแชร์ หรือการใช้แฮชแท็ก

สำหรับแอปพลิเคชันอย่าง Facebook และ Twitter ที่มีการแสดงยอดการไลก์หรือการรีทวิตอยู่แล้วนั้น การจัดแคมเปญจะแสดงให้เห็นถึงความน่าสนใจมากขึ้นไปอีก

นอกจากจำนวนคน จำนวนต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าเองก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เช่น แคมเปญสินค้าจำนวนจำกัด กำหนดช่วงเวลาแคมเปญให้ชัดเจน ยิ่งคนรู้สึกว่าสิ่งนั้นพลาด การตลาดของการ “กล้วว่าจะพลาด” ก็ยิ่งมีผลเท่านั้น

บทความ fomo คือ

5. เปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถปฏิสัมพันธ์ได้

จุดแข็งของการทำการตลาดกับกลุ่ม FOMO คือ มีโอกาสที่ลูกค้าจะเข้ามาปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ รวมถึงสร้างคอนเทนต์เองสูงมาก (User Generated Content ) เมื่อคนสร้างมาก โอกาสที่คอนเทนต์จะไปไกลในระดับ Viral หรือทำตามหรือบอกต่อๆ กัน ก็เยอะตามไปด้วย

แบรนด์ที่ทำคอนเทนต์เพื่อกลุ่ม FOMO จึงต้องคิดการตลาดรูปแบบ “ให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาช่วยสร้างคอนเทนต์” ด้วย เช่น การทำ MEME การใช้วิดีโอเพื่อโปรโมทสินค้า การ Tie-in ไปจนถึงการชิงโชค

สิ่งสำคัญนอกเหนือจากการทำคอนเทนต์คือการ “รับมือ” กลุ่มเป้าหมายและผู้บริโภค แบรนด์อาจต้องคิดไว้ก่อนเลยว่าหากเกิดปัญหาจากแคมเปญ จะมีการรับมือและแก้ปัญหาอย่างไร ควรหลีกเลี่ยงแคมเปญแบบไหนที่อาจส่งผลเสียระยะยาวให้ตนเองในอนาคต ถ้าสามารถจับจุดและปรับปรุงตรงนี้ได้ จะทำให้การตลาดของแบรนด์นั้นแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

ไม่ว่าจะบริษัทไหนๆ ก็สามารถทำการตลาดกับกลุ่มลูกค้าที่เป็น FOMO ได้ แต่จะดียิ่งกว่าหากเป็นการทำการตลาดบนโลกออนไลน์ เนื่องจากสามารถตามเทรนด์ต่างๆ ได้ง่าย เปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถมีปฏิสัมพันธ์ พูดคุย แชร์ เกี่ยวกับสินค้าและบริการ ทำให้มีโอกาสซื้อขายได้มากยิ่งขึ้น

แน่นอนว่าสิ่งที่เสนอไปยังเป็นส่วนน้อย ยังมีเทคนิคอีกมากที่นักการตลาดหรือผู้ทำธุรกิจสามารถปรับใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดระยะเวลาแคมเปญ เพื่อให้คนสนใจในระยะเวลาอันสั้น หรือการลดราคาสินค้าหนักๆ จำนวนน้อยๆ เพื่อเรียกให้มีผู้สนใจและจดจำแบรนด์ได้ รวมถึงการทำแคมเปญเกี่ยวกับการประกันสินค้า เพื่อให้แบรนด์มีชื่อในระยะยาวมากขึ้น

JOMO ขั้วตรงข้ามของ FOMO

ถ้ามีพฤติกรรมกลัวการตกเทรนด์ก็ย่อมมีพฤติกรรมที่มีความสุขกับการตกเทรนด์เช่นกัน นั่นคือ JOMO หรือ Joy of missing out ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีความสุขกับการงดใช้หรือติดตามอินเทอร์เน็ต รวมถึงเลิกสนใจสิ่งต่างๆ และทำสิ่งอื่นแทน เช่น อ่านหนังสือ ท่องเที่ยวพักผ่อน เป็นต้น

แน่นอนว่าพฤติกรรมสามารถปรับเปลี่ยนได้แล้วแต่ในช่วงเวลา บางครั้งคนๆ หนึ่งอาจเสพติดข่าวสาร และในเวลาต่อมา คนๆ นั้นก็เลือกจะไม่สนใจเสพหรือติดตามเทรนด์ได้เช่นกัน ดังนั้นหากต้องการทำการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ ควรเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อการทำการตลาด ออกแคมเปญ และการนำเสนอสินค้าที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

สรุป

การทำความรู้จักพฤติกรรม Fear of missing out ไม่ใช่แค่เพื่อการทำการตลาดอิงเทรนด์ไปเรื่อยๆ เท่านั้น แต่เป็นการเปิดกว้างโอกาสในการทำการตลาดด้วยการศึกษากลุ่มเป้าหมายอย่างถ่องแท้ และวางแผนการตลาดให้สอดรับกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นระบบอีกด้วย

เนื่องจากเทรนด์เป็นสิ่งที่หมุนเวียนเปลี่ยนผ่านไปอย่างรวดเร็วเสมอ นอกจากการวางแผนเพื่อตามกระแสต่างๆ แล้ว แบรนด์จำเป็นต้องมีการรักษาคุณภาพสินค้าและบริการ รวมถึงการรับมือผู้บริโภคให้ดีเสมอ มิเช่นนั้นแล้ว การที่แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้างอาจกลายเป็นข้อเสียร้ายแรงได้ในเวลาถัดมา

  • SUBSCRIBE TO BE
    THE FIRST INNOVATOR.

logo