Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

5G กับอิทธิพลในการสร้างอุตสาหกรรมอัจฉริยะ

SHARE

5G กับอิทธิพลในการสร้างอุตสาหกรรมอัจฉริยะ

5G เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายรุ่นล่าสุดที่เริ่มใช้งานอย่างแพร่หลาย ซึ่งช่วยให้การถ่ายโอนข้อมูลเร็วขึ้นกว่าเดิม ใช้เวลาแฝงที่ต่ำกว่า และความจุของเครือข่ายที่มากขึ้น จึงมีแนวโน้มที่จะส่งอิทธิพลและสร้างโอกาสอันยิ่งใหญ่ให้กับธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ มากมายทั่วโลก

ถ้าอยากรู้ว่า 5G คืออะไร? พร้อมตัวอย่างอุตสาหกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากเทคโนโลยี 5G บทความนี้ PTT ExpresSo มีคำตอบ

5G คืออะไร

5G คืออะไร? 

5G เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายรุ่นที่ 5 มาตรฐานระดับโลก มีความเร็วในการส่งต่อข้อมูลสูงสุดแบบ Multi-Gbps ซึ่งใช้เวลาแฝงต่ำมาก แต่มีความจุเครือข่ายใหญ่ขึ้น ความพร้อมใช้งานที่เพิ่มขึ้น และสามารถสร้างประสบการณ์ที่เป็นหนึ่งเดียวให้กับผู้ใช้ได้มากกว่าเครือข่าย 4G, 3G, 2G และ 1G ที่เคยมีก่อนหน้านี้ จึงเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ช่วยเชื่อมต่อทุกคนและทุกสิ่งเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร วัตถุ และอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่โลกเคยมีมา

ข้อมูลของ Viavi Solutions ระบุว่าเมื่อเดือนมิถุนายน 2021 การให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ได้ถูกนำไปใช้มากกว่า 1,500 เมืองใน 60 ประเทศทั่วโลกแล้ว นอกจากนี้ เทคโนโลยี 5G จะยิ่งทวีความสำคัญเมื่อมีการใช้งานอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) มากขึ้น เพราะจำเป็นต้องใช้ 5G ในการรับส่งข้อมูลมหาศาลแบบเรียลไทม์ โดยคาดว่าอุปกรณ์ IoT จะเพิ่มจำนวนขึ้นจาก 12,000 ล้านในปี 2020 เป็นมากกว่า 30,000 ล้านในปี 2025 

ตัวอย่าง 3 อุตสาหกรรมที่ได้รับอิทธิพลจาก 5G

ปัจจุบัน เจ้าของธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อใช้ประโยชน์จาก 5G ให้ได้สูงสุด ต่อไปนี้ คือ ตัวอย่าง 3 อุตสาหกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากเทคโนโลยี 5G

 5G IoT

1. การผลิต

5G ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตอย่างมาก ตามรายงานของ IHS Markit คาดการณ์ว่าการเชื่อมต่อที่ดีขึ้นผ่าน 5G จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจทั่วโลกจากอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ถึง 13 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2035 โดยหนึ่งในสามของมูลค่าทั้งหมดจะมาจากภาคการผลิตเพียงอย่างเดียว

เนื่องจาก 5G ช่วยให้กระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมมีความยืดหยุ่น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่มากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตสามารถสร้าง “โรงงานอัจฉริยะ” ที่ใช้ทั้งระบบอัตโนมัติ (Automation) เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อุปกรณ์ IoT และเซ็นเซอร์จำนวนมาก ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถขับเคลื่อนและเชื่อมต่อสายการผลิตทั่วทั้งโรงงานได้ด้วยเทคโนโลยี 5G

2. พลังงานและสาธารณูปโภค

5G เป็นเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาโซลูชันและนวัตกรรมด้านพลังงาน เช่น การเพิ่มคุณสมบัติและศักยภาพของสมาร์ทกริดให้เชื่อมต่อกันได้ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้โครงข่ายพลังงานและสาธารณูปโภคได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการหยุดชะงักหรือขัดข้องน้อยลง ช่วยลดค่าไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายด้านพลังงานโดยรวม

นอกจากนี้ 5G ยังมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานรับส่งข้อมูลต่อหน่วยมากกว่าเครือข่าย 4G ถึง 90% และอาจช่วยเพิ่มอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ในอุปกรณ์ต่างๆ ได้มากถึง 10 ปี รวมทั้งช่วยปรับการใช้เซ็นเซอร์ IoT จำนวนมากให้กลายเป็นโซลูชันที่ใช้งานได้จริงในอุตสาหกรรมพลังงาน เช่น การใช้โดรนผ่าน 5G เพื่อตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและการบำรุงรักษา

5G internet

3. ยานยนต์และการคมนาคมขนส่ง

เมื่อเครือข่าย 5G เป็นที่แพร่หลาย เมืองต่างๆ จะสามารถออกแบบการจัดการจราจรอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วยการเชื่อมต่อ 5G ทำให้ระบบขนส่งสาธารณะมีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นมากขึ้นผ่านการวางแผนเส้นทางตามสภาพการจราจรหรือสภาพอากาศ ช่วยประหยัดเวลาให้ผู้ขับขี่และลดการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงขณะรถติดไฟแดงได้อีกด้วย โดยผลการศึกษาของมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon พบว่า สัญญาณไฟจราจรที่รวบรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์ช่วยลดปัญหารถติด 40% ลดการปล่อยมลพิษ 21% และลดเวลาเดินทาง 26%

นอกจากนี้ 5G ยังมีบทบาทสำคัญต่อการใช้ระบบ C-V2X หรือ Cellular-Vehicle-to-Everything ซึ่งเป็นโซลูชัน Smart City ที่ช่วยในการบริหารระบบนิเวศการคมนาคมขนส่งด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายความเร็วสูง เช่น ยานยนต์ไร้คนขับที่สามารถตรวจสอบสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สัญญาณไฟจราจร ป้ายก่อสร้างบนถนน เพื่อให้การขับขี่ดำเนินไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยจึงเชื่อว่า 5G จะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไร้คนขับ (Autonomous Vehicle) เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ในอนาคต โดยข้อมูลของ Analysys Mason บริษัทที่ปรึกษาด้านโทรคมนาคมคาดการณ์ว่า จำนวนการเชื่อมต่อ 5G สำหรับยานยนต์จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 96 ล้านคันภายในปี 2027

สรุป

5G กำลังส่งอิทธิพลอย่างมากในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและโซลูชันสำหรับอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ช่วยปรับปรุงวิธีการทำงานและกระบวนการผลิตให้ดียิ่งขึ้น ปัจจุบันมีธุรกิจและอุตสาหกรรมจำนวนมากที่เริ่มนำเทคโนโลยี 5G ไปปรับใช้ เพื่อพัฒนาระบบต่างๆ ให้ทันสมัย ก้าวทันยุค Industry 4.0 และเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น

ทั้งนี้ การเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยี 5G ยังมีโอกาสอีกมากมายให้เจ้าของธุรกิจต่างๆ ได้กำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถทางการแข่งขันในโลกอนาคต

ติดตามข่าวสารและคอนเทนต์ดีๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อมที่คุณไม่ควรพลาด

ได้ที่ Facebook PTT ExpresSo

 

New call-to-action

รวม Startup กับเทคโนโลยี Decarbonize ในวงการยานยนต์

SHARE

เทคโนโลยี Decarbonize เป็นกุญแจสำคัญที่ธุรกิจ Startup ยุคใหม่โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการช่วยหยุดยั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ลดการปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายเร่งด่วนที่ทั่วโลกต้องร่วมมือกัน

บทความนี้ PTT ExpresSo จะพาไปทำความรู้จักเทคโนโลยี Decarbonize และ 5 ธุรกิจ Startup ที่น่าจับตามองในฐานะฮีโร่ผู้คิดค้นเทคโนโลยีกำจัดคาร์บอนเพื่อช่วยกอบกู้โลกอย่างยั่งยืน

Decarbonize Technology_Lower CO2 emissions

เทคโนโลยี Decarbonize คืออะไร?

ปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คำว่า Decarbonize กลายเป็นคำศัพท์ใหม่มาแรงที่ใช้อธิบายการกำจัดหรือยุติการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนต่างๆ เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล การเกษตร อุตสาหกรรมหนัก ฯลฯ ซึ่งถือเป็นแนวทางสำคัญในการแก้ปัญหาก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก

ด้วยเหตุนี้ เทคโนโลยี Decarbonize จึงเริ่มเป็นที่ต้องการและได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

เห็นได้จาก Innovation Map in Environment กรอบงานโซลูชันเพื่อความยั่งยืนที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ของ GlobalData ที่มุ่งติดตามนวัตกรรมเป้าหมายระดับโลกเกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษ ความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพยากรธรรมชาติ โดยในภาคส่วนของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะมุ่งเน้นไปที่โซลูชัน Decarbonize ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ขับเคลื่อนโดยบริษัท Startup เช่น เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน เชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำ การจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าและแหล่งพลังงานหมุนเวียน

รวม 5 Startup สายเทคโนโลยี Decarbonize

ในแต่ละปีมี Startup เกิดขึ้นใหม่หลายพันแห่งทั่วโลกและหลายบริษัทมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น เทคโนโลยี Decarbonize อ้างอิงจากข้อมูล Global Startup Heat Map บนแพลตฟอร์ม StartUs Insights Discovery ที่ระบุว่า ในปี 2022 มี Startup ที่พัฒนาโซลูชัน Decarbonize มากถึง 2,457 บริษัททั่วโลก

บทความนี้ PTT ExpresSo ได้คัดเลือกและรวบรวมข้อมูล 5 Startup สายเทคโนโลยี Decarbonize ในวงการยานยนต์ที่น่าจับตามองมานำเสนอเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณแล้ว ดังนี้

1. Eco Energy International

การเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงทางเลือกเป็นแนวคิดขั้นต้นของการกำจัดคาร์บอนให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากรถยนต์รุ่นเก่าที่ใช้เชื้อเพลิงจากปิโตรเลียมเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมลภาวะ แม้ว่ายานยนต์ไฟฟ้าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจแต่ก็มีราคาค่อนข้างสูงจนทำให้ผู้ใช้รถยนต์หลายคนยังไม่กล้าตัดสินใจซื้อ

ด้วยเหตุนี้ Eco Energy International บริษัท Startup ในประเทศสหรัฐอเมริกาจึงเริ่มต้นพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพด้วยการผลิตน้ำมันดีเซลหมุนเวียน (Renewable Diesel) จากขยะมูลฝอยในเขตเทศบาล ซึ่งใช้กระบวนการผลิตแนวทางเดียวกันกับปิโตรเลียมดีเซล (Petro-Diesel) จึงมีคุณสมบัติเหมือนกันทางเคมีแต่ไม่ก่อให้เกิดคาร์บอน ช่วยให้ผู้ใช้รถยนต์รุ่นเก่าไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อยานยนต์ไฟฟ้าหรือหาวิธีดัดแปลงเครื่องยนต์เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

Decarbonize Technology_Lower CO2 emissions

2. Jaunt Motors

ความกังวลเรื่องต้นทุนของยานยนต์ไฟฟ้าที่สูงในช่วงเริ่มต้นทำให้ผู้คนลังเลใจที่จะซื้อและถือเป็นความท้าทายที่ขัดขวางกระบวนการ Decarbonize ในภาคยานยนต์ ดังนั้น Jaunt Motors บริษัท Startup ในประเทศออสเตรเลียจึงได้คิดค้นและนำเสนอโซลูชันการติดตั้งชิ้นส่วน EV ที่พร้อมใช้งานเพิ่มเติม ประกอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ระบบชาร์จ เบรกแบบหมุนเวียน แบตเตอรี่ ตลอดจนพวงมาลัยพาวเวอร์จากผู้ผลิตรายต่างๆ เช่น ใช้ชุดแบตเตอรี่ของ Tesla มอเตอร์ไฟฟ้าของ Netgain เป็นต้น

ประโยชน์ที่ผู้ใช้ยานยนต์จะได้รับ คือ การแปลงโฉมรถเครื่องยนต์สันดาปภายในทั่วไปให้กลายเป็นยานยนต์ไฟฟ้าด้วยชิ้นส่วน EV ที่มีคุณภาพแต่ใช้ต้นทุนต่ำ นอกจากจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนแล้ว โซลูชันดังกล่าวยังช่วยเพิ่มอายุการใช้งานของยานพาหนะได้อีกด้วย

3. Traxial

เนื่องจากการจัดหาวัสดุสำหรับผลิตยานยนต์ไฟฟ้ามีส่วนเพิ่มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างต่อเนื่อง การคิดค้นเทคโนโลยีที่ช่วยปรับปรุงกระบวนการจัดหาวัสดุและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่อลดปริมาณ Carbon Footprint จากการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ

Traxial บริษัท Startup สัญชาติเบลเยียมเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้พัฒนา Yokeless Axial Flux Motors ซึ่งเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าความเร็วสูงสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า โดยผสมผสานระหว่างระบบระบายความร้อนที่ได้รับการจดสิทธิบัตร, มอเตอร์เหนี่ยวนำแม่เหล็กถาวรแบบโรเตอร์คู่, Yokeless Stator และเหล็กไฟฟ้าเพื่อเพิ่มความหนาแน่นของพลังงาน นอกจากนี้ มอเตอร์ของ Traxial ยังมีน้ำหนักเบาจึงเหมาะกับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าภาคพื้นดิน รวมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและประหยัดเชื้อเพลิงได้อีกด้วย

4. ELO Mobility

เนื่องจากยานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่จะช่วย Decarbonize ได้อย่างยั่งยืนก็ต่อเมื่อใช้พลังงานหมุนเวียนในการชาร์จไฟเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม ยานยนต์ที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนจะปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ รวมทั้งใช้ระยะเวลาในการเติมเชื้อเพลิงพลังงานไฮโดรเจนน้อยกว่ายานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) อีกด้วย

นั่นคือเหตุผลที่ ELO Mobility บริษัท Startup ในประเทศเยอรมนีเริ่มคิดค้นและให้บริการออกแบบรถบัสเชื้อเพลิงไฮโดรเจน ซึ่งมี Modular Platform ที่ผสมผสานองค์ประกอบการจัดการพลังงาน ระบบการตรวจวัดระยะและส่งข้อมูลทางไกล รวมทั้งการพัฒนารถไฟที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจน นอกจากนี้ ELO Mobility ยังได้ปรับปรุงรถโดยสารประจำทางรูปแบบใหม่ รุ่น ELO H2 Bus ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถ OEM ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วและช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย

Decarbonize Technology_Lower CO2 emissions

5. Uniti

ผู้คนที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมักชอบใช้บริการรถร่วมและระบบขนส่งสาธารณะมากกว่าการเป็นเจ้าของรถยนต์ เพราะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างยั่งยืนมากกว่า ด้วยเหตุนี้ แค่ยานยนต์ไฟฟ้าอาจยังไม่เพียงพอและไม่ใช่คำตอบสุดท้ายในการ Decarbonize วงการยานยนต์ให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero Emission

Uniti บริษัท Startup สัญชาติสวีเดนได้ริเริ่มสร้างยานยนต์ไฟฟ้าที่ออกแบบเพื่อการสัญจรร่วมกัน โดยใช้กลยุทธ์การจัดการคาร์บอนและทรัพยากร (Carbon and Resource Management Strategy: CRMS) เพื่อพัฒนายานยนต์ที่เป็นกลางต่อสภาพอากาศ น้ำหนักเบา และคล่องตัว เลือกใช้วัสดุและเทคนิคการผลิตที่เหมาะสมกับการสัญจรในเมือง นอกจากนี้ ยังใช้แนวทางการออกแบบที่ช่วยอำนวยความสะดวกแบบ Peer-to-Peer (P2P) รวมถึงการใช้งานแบบ Fleet Car Sharing ด้วย

สรุป

Startup สายเทคโนโลยี Decarbonize ในวงการยานยนต์ทั้ง 5 บริษัทที่เราได้นำเสนอในบทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะหยุดยั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกจากการปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสะสมมาเป็นเวลานานจนเปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็งที่กำลังละลายอย่างรวดเร็ว

ดังนั้น ทุกธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์จึงจำเป็นต้องร่วมมือกันสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วยการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยี Decarbonize ร่วมกับแนวทางต่างๆ เช่น การดักจับคาร์บอน ระบบการค้าคาร์บอน รวมทั้งการลงทุนด้านพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ เพื่อให้การบรรลุเป้าหมาย Net Zero Emission ไม่ไกลเกินความเป็นจริง

ติดตามข่าวสารและคอนเทนต์ดีๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อมที่คุณไม่ควรพลาด

ได้ที่ Facebook PTT ExpresSo

 

New call-to-action

5 ตัวอย่างเทคโนโลยีโดรน ช่วยสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

SHARE

เทคโนโลยีโดรน หรือ UAV (Unmanned Aerial Vehicle) คือ ยานพาหนะทางอากาศไร้คนขับที่ทำงานผ่านการผสมผสานของเทคโนโลยีต่างๆ ได้ เช่น การมองเห็นแบบเสมือนจริง ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีการหลีกเลี่ยงวัตถุ และอื่นๆ นอกจากนี้ โดรนยังมีน้ำหนักเบา ต้นทุนต่ำ มีขั้นตอนเตรียมการและใช้โครงสร้างพื้นฐานเพียงเล็กน้อยเท่านั้นด้วย

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีโดรนได้กลายเป็นกระแสและถูกนำมาใช้ประโยชน์ในวงกว้างทั้งในด้านธุรกิจการค้า วิทยาศาสตร์และสันทนาการ ไม่ว่าจะเป็นการเฝ้าระวังด้านความมั่นคง การค้นหาและกู้ภัย การถ่ายภาพทางอากาศ การสำรวจพื้นที่ การขนส่งสินค้าไปจนถึงการสื่อสารดิจิทัล

ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยีโดรนยังมีบทบาทสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถประยุกต์การใช้งานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้หลากหลายรูปแบบ

บทความนี้เราจะพาไปดู 5 ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อช่วยสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

บทความ เทคโนโลยีโดรน

1. การทำแผนที่ทางอากาศและตรวจสอบธรรมชาติ

โดรนเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการทำแผนที่ทางอากาศ เพราะลอยตัวได้สูง สามารถหลบเลี่ยงปัญหาเมฆปกคลุมที่อาจบดบังสภาพพื้นที่ได้ พร้อมถ่ายภาพด้วยความละเอียดสูงส่งกลับมา นอกจากนี้ ยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์อุตุนิยมวิทยา เช่น เกจวัดลม เทอร์โมมิเตอร์ เซ็นเซอร์ความชื้นและความดันไปกับโดรน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพอากาศไปพร้อมๆ กับสภาพภูมิประเทศได้ในทุกภูมิภาคทั่วโลก แม้แต่พื้นที่ที่ยากในการเดินทางเข้าถึง ตัวอย่างการนำไปใช้งาน เช่น

  • การใช้โดรนทำแผนที่ป่าฝนในประเทศ Congo และ Suriname เพื่อแก้ไขปัญหาการอนุรักษ์ในพื้นที่ซับซ้อนซึ่งเป็นส่วนรอยต่อของระบบนิเวศและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของคนในท้องถิ่น
  • การใช้โดรนทำแผนที่กระแสลาวาใน Hawaii, แผนที่แหล่งน้ำรอบเมือง N’Djamena ประเทศ Chad และแผนที่บึงพรุโบราณใน Switzerland เพื่อช่วยให้นักอนุรักษ์สามารถวางแผนพัฒนาและฟื้นฟูได้ง่ายขึ้น

2. การบำรุงรักษาระบบพลังงานหมุนเวียน

หมดยุคแล้วกับวิธีการตรวจสอบกังหันลมด้วยการผูกมัดสายไฟแขวนไว้กับกังหันลม เมื่อบริษัทพลังงานหมุนเวียนสามารถใช้โดรนขนาดเล็กถ่ายวิดีโอสายไฟกลับมาแบบเรียลไทม์ พร้อมแสดงภาพ 3 มิติของใบพัดกังหัน หรือแม้แต่การส่งภาพวิดีโอที่คมชัดระดับ HD ของผนังเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำก็สามารถทำได้ นอกจากจะช่วยให้บริษัทตรวจสอบความเสียหายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการที่น้อยลงอีกด้วย

บทความ เทคโนโลยีโดรน

อีกตัวอย่างหนึ่งในอเมริกาเหนือ คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตั้งและตรวจสอบแผงโซลาร์เซลล์โดยใช้เทคโนโลยีโดรนตรวจจับภาพความร้อนเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างบริษัท DroneDeploy ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม Software ระบบคลาวด์สำหรับโดรนเชิงพาณิชย์ และบริษัท DJI ผู้ผลิตโดรนและเทคโนโลยีกล้องชั้นนำ

ผู้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์สามารถใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนให้โดรนบินอัตโนมัติและเก็บรวบรวมข้อมูลส่งไปยังโครงสร้างพื้นฐานบนคลาวด์ของ DroneDeploy เทคโนโลยีนี้ใช้ระยะเวลาน้อยกว่าการที่พนักงานต้องปีนขึ้นไปบนหลังคา และมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดในการวัดค่าต่างๆ น้อยกว่าการใช้แรงงานคนอีกด้วย ทำให้การบำรุงรักษาระบบมีประสิทธิภาพและช่วยลดต้นทุนการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาได้มากขึ้น

3. การสร้างความยั่งยืนทางการเกษตร

ปัจจุบัน โดรนได้กลายเป็นเครื่องมือที่มีบทบาทในการทำฟาร์มของเกษตรกร เช่น การติดตามปศุสัตว์ การเพาะปลูก และการตรวจสอบระดับน้ำในพื้นที่ด้วยภาพถ่ายความละเอียดสูงที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของพืชผล รวมทั้งยังใช้สร้างภาพ 3 มิติของภูมิทัศน์ทั่วทั้งฟาร์ม เพื่อวางแผนปรับปรุงผลผลิต ขยายพื้นที่เพาะปลูก และลดต้นทุนด้านการบริหารจัดการได้ในอนาคต นอกจากนี้ ยังช่วยปรับกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น เช่น

  • การใช้โดรนเป็นเครื่องมือฉีดพ่นปุ๋ยให้พืชในทิศทางการบินที่เหมาะสม ซึ่งพบว่าลดการใช้ปุ๋ยได้ถึง 20%
  • ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัย Timiryazev State Agrarian ในกรุงมอสโกได้ทดลองใช้โดรนจับภาพความละเอียดสูงในโครงการเพาะพันธุ์ข้าวสาลี จากนั้นได้นำภาพมาสร้างแผนที่ในแอปพลิเคชัน เพื่อวางแผนปรับปรุงการใช้ไนโตรเจนในพืชให้เหมาะสม ซึ่งส่งผลให้มีการใช้ไนโตรเจนลดลงถึง 20%
  • ประเทศไทยก็มีการใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตรเช่นกัน ได้แก่ บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด หนึ่งใน Startup ที่ PTT Expresso ร่วมลงทุน โดยเป็นผู้คิดค้นระบบการวิเคราะห์การเจริญเติบโตของอ้อยด้วยภาพถ่ายความละเอียดสูงจากโดรนแบบ TAILSITTER ซึ่งสามารถตรวจสอบจุดที่อ้อยล้มและไม่เจริญเติบโตได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้แรงงานคน รวมทั้งช่วยให้เกษตรกรวางแผนการตัดอ้อยในระยะเวลาที่เหมาะสมได้อีกด้วย ปัจจุบันมีการทดลองใช้ในจังหวัดอุทัยธานีและขอนแก่น พบว่าเกษตรกรสามารถปลูกอ้อยได้ปริมาณผลผลิตต่อพื้นที่ดีขึ้นจึงส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

บทความ เทคโนโลยีโดรน

4. การบรรเทาภัยพิบัติ

ปัจจุบัน มีการใช้โดรนในการประเมิน ป้องกัน และต่อสู้กับภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้วยการถ่ายภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมาวิเคราะห์สถานการณ์พร้อมวางแนวทางการบรรเทาความเสียหายและช่วยชีวิตผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • เมื่อปี 2556 พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนเข้าโจมตีชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของฟิลิปปินส์ โดรน SenseFly ถูกนำมาใช้เก็บข้อมูลเพื่อสร้างแผนที่ 2 มิติโดยละเอียดและทำแบบจำลองภูมิประเทศ 3 มิติของเขตเมืองในท้องถิ่น ทำให้สามารถประเมินความเสียหายจากพายุพร้อมวางแผนการฟื้นฟูและสร้างที่พักพิงใหม่ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
  • กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาใช้โดรนบินตรวจสอบเพื่อหาทางป้องกันและต่อสู้กับไฟป่าที่เกิดขึ้นบ่อยในแคลิฟอร์เนีย
  • ประเทศจีนใช้โดรนในการเฝ้าระวังถนนมอเตอร์เวย์ที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดแผ่นดินถล่ม เพื่อหารอยร้าวและรอยแยกในช่วงที่ภัยพิบัติใกล้จะเกิดขึ้น โดยจะแจ้งเตือนไปยังเจ้าหน้าที่ทันทีที่พบเห็น

5. การปลูกป่า

Jimmy Donaldson ยูทูบเบอร์เจ้าของช่อง MrBeast ได้รับคำท้าจากผู้ติดตามของเขาให้ปลูกต้นไม้ 20 ล้านต้นเพื่อฉลองการมีผู้ติดตามถึง 20 ล้านคน แทนที่จะตอบปฏิเสธ Donaldson กลับยอมรับคำท้าที่ดูเป็นไปได้ยากนี้ โดยชวน Mark Rober เพื่อนยูทูบเบอร์ซึ่งเป็นอดีตวิศวกรของ NASA ร่วมกับมูลนิธิ Arbor Day Foundation สร้างแคมเปญที่ชื่อว่า #TeamTrees โดยเงินบริจาคทุกๆ หนึ่งดอลลาร์ที่ได้รับจะนำไปปลูกต้นไม้หนึ่งต้น

เนื่องจากการปลูกต้นไม้เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและแรงงานมาก Rober จึงบินไปเจรจากับบริษัท DroneSeed ที่รัฐวอชิงตันเพื่อให้ผลิตโดรนขนาดใหญ่ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับวางแผนปลูกต้นไม้บนพื้นที่ขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว รวมทั้งต้องมีอัตราการอยู่รอดและเจริญเติบโตของเมล็ดพืชให้ได้สูงสุดด้วย

วิธีการทำงานของ DroneSeed เริ่มต้นด้วยการส่งโดรนหนึ่งตัวออกไปสแกนภูมิประเทศแบบ 3 มิติ จากนั้นจึงใช้ Software วิเคราะห์ข้อมูลภูมิประเทศและกำหนดตำแหน่งที่ดีที่สุดในการวางเมล็ดพันธุ์เพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของต้นไม้ให้ได้มากที่สุด เมื่อได้เส้นทางการบินที่เหมาะสมแล้ว ฝูงโดรนจะบินไปตามเส้นทางโดยอัตโนมัติเพื่อโปรยเมล็ดพันธุ์พร้อมปุ๋ยและพริกขี้หนูสำหรับป้องกันกระรอก หนู และสัตว์อื่นๆ มากัดกินเมล็ดพืช

หลังจากทดลองใช้โดรนในการปลูกป่า พวกเขาพบว่าโดรนเพียงสามตัวสามารถปลูกต้นไม้ได้เร็วกว่าการใช้แรงงานคนถึงหกเท่า ปัจจุบัน แคมเปญ #TeamTrees ของ Jimmy Donaldson และ Mark Rober ยังคงดำเนินอยู่เป็นปีที่ 2 โดยมียอดเงินบริจาคและจำนวนต้นไม้ที่ปลูกมากกว่า 20 ล้าน (ดอลลาร์/ต้น) แล้ว

 

สรุป

ปัจจุบัน เทคโนโลยีโดรนได้มีบทบาทสำคัญในการปกป้องและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ด้วยความสามารถในการถ่ายภาพและเก็บข้อมูลเชิงลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถประยุกต์การใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การทำแผนที่ทางอากาศและตรวจสอบธรรมชาติ การบำรุงรักษาระบบพลังงานหมุนเวียน การสร้างความยั่งยืนทางการเกษตร

การบรรเทาภัยพิบัติ หรือแม้แต่การปลูกป่า

ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีโดรนจะยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์ได้ทำไว้ให้หมดไปในชั่วข้ามคืน แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการใช้เทคโนโลยีในทิศทางที่ถูกต้อง ใครจะรู้ว่าในอนาคตความก้าวหน้าของเทคโนโลยีโดรนอาจเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยนำพาเราโบยบินไปสู่เป้าหมายของการสร้างโลกสีเขียวที่ยั่งยืนให้สำเร็จก็เป็นได้

New call-to-action

เจาะลึกเทคโนโลยี mRNA มิติใหม่แห่งวงการแพทย์

SHARE

ก่อนหน้านี้คนส่วนใหญ่อาจไม่เคยรู้จัก mRNA มาก่อน บางคนอาจเคยได้ยินมาบ้างสมัยเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เรื่องโครงสร้างโมเลกุลในร่างกายหรือสารพันธุกรรม จนกระทั่งมีการพัฒนาวัคซีน Moderna COVID-19 และ Pfizer-BioNTech ขึ้นมาใช้ป้องกันโรคระบาดที่คร่าชีวิตคนไปหลายล้านคนได้สำเร็จ วัคซีนสองตัวนี้เองเป็นวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยี mRNA มาสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายด้วยการถอดรหัสจากเชื้อไวรัส

วัคซีน mRNA ที่ผลิตขึ้นมาใช้ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งสองตัวนี้ยังถือเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาวัคซีนชนิดอื่นอีกด้วยโดยมีประสิทธิภาพมากกว่า 80 – 90% เลยทีเดียว

เทคโนโลยีวัคซีนถอดรหัสพันธุกรรมนอกจากจะป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แล้ว ยังเป็นความหวังใหม่ในวงการแพทย์อีกด้วย เพราะมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อนำไปต่อยอดการรักษาโรคอื่น ๆ และคาดการณ์ว่า mRNA จะกลายเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญในอนาคต

เทคโนโลยีวัคซีน mRNA คืออะไร

ก่อนจะไปรู้จักเทคโนโลยีวัคซีน mRNA เรามาทำความรู้จัก mRNA กันก่อน ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมี DNA และ RNA อยู่ สิ่งนี้คือสารพันธุกรรมที่บรรจุข้อมูลพันธุกรรมเอาไว้ ตัว mRNA หรือชื่อเต็มว่า Messenger Ribonucleic Acid คือ​ RNA ประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่ส่งต่อหรือนำข้อมูลสารพันธุกรรมไปสร้างโปรตีน

เทคโนโลยีของวัคซีน mRNA (Messenger RNA) ใช้คุณสมบัติของการส่งต่อข้อมูลพันธุกรรมนี้มาทำเป็นวัคซีน โดยนำชิ้นส่วนสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส เช่น Spike Protein, Antigen หรือ Molecule (ในกรณีโควิด-19 จะเป็นสารที่สร้างปุ่มหนามของไวรัส Spike Protein) สังเคราะห์เป็นคำสั่ง mRNA หุ้มด้วยเซลล์เปลือกไขมันเพื่อเป็นตัวนำพาฉีดเข้าร่างกาย เมื่อเข้าสู่ร่างกายเซลล์ในร่างกายจะผลิตโปรตีนสารพันธุกรรมของไวรัสได้ทำให้ภูมิคุ้มกัน (Antigen) ของร่างกายรู้จักเชื้อไวรัส และกระตุ้นให้มีการสร้างภูมิคุ้มกัน (Antibody) ต่อโรคนี้นั่นเอง

กล่าวให้เข้าใจง่ายก็คือ การส่งแม่พิมพ์เชื้อไวรัสเข้าไปในร่างกายเพื่อสร้างส่วนอาวุธของเชื้อไวรัสและให้ร่างกายเรียนรู้อาวุธของเชื้อไวรัส หลังจากนั้น ก็จะเกิดภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสในร่างกายได้เอง ซึ่ง mRNA จะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโดยที่ไม่ต้องติดเชื้อก่อนและยังช่วยป้องกันการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส จึงทำให้เป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงนั่นเอง

ข้อจำกัดของวัคซีน mRNA คือ เรื่องของการเก็บรักษาวัคซีนซึ่งต้องอยู่ในอุณหภูมิที่ต่ำมากๆ โดยปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่อุณหภูมิ -20 ถึง -70 องศาเซลเซียส เนื่องจากสารพันธุกรรม mRNA ค่อนข้างเปราะบางและไม่เสถียร หากเก็บรักษาไม่ดีจะทำให้สารพันธุกรรมนี้สลายไป

บทความ mRNA

เทคโนโลยีวัคซีน mRNA หรือ Messenger RNA คือ เทคโนโลยีใหม่ที่มีการผลิตและใช้เป็นผลสำเร็จครั้งแรกในโลกกับโรคระบาดโควิด-19 ที่เกิดจากไวรัสโคโรน่า วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยี mRNA ผลิตก็คือวัคซีนจากบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer-BioNTech) และโมเดอร์นา (Moderna) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกนั่นเอง

ด้วยความที่เทคโนโลยี mRNA ถือเป็นเรื่องใหม่ในวงการวัคซีน จึงทำให้ในตอนแรกหลายคนต่างก็ไม่มั่นใจในเทคโนโลยีวัคซีนนี้ แต่อันที่จริง mRNA ไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะมีการคิดค้นและศึกษาพัฒนามาตั้งแต่ปี 1989 โดย Vical นักวิจัยในบริษัทด้านชีววิทยาเป็นผู้คิดค้น และได้รับการพัฒนาต่อจนประสบผลสำเร็จโดย Dr. Katalin Kariko ร่วมกับ Dr. Drew Weissman


“เทคโนโลยีใหม่ไม่ใช่สิ่งน่ากลัว แต่เป็นโอกาสที่ควรเปิดใจ”

 

มีความกังวลเกี่ยวกับวัคซีน mRNA มากมายเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีวัคซีนใหม่ จึงทำให้คนมีความหวาดกลัวและสงสัยในเรื่องต่างๆ เช่น ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นอย่างรุนแรง ผลข้างเคียงระยะยาวที่จะส่งผลต่อ DNA เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีใหม่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเรื่องที่น่ากลัวเสมอไป

ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดาของวัคซีนทุกประเภทโดยอาการจะขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละบุคคล องค์กรอนามัยโลก WHO (World Health Organization) ได้มีการยืนยันแล้วว่า ผลข้างเคียงรุนแรงที่เกิดจากวัคซีน mRNA มีเปอร์เซ็นต์เป็นส่วนน้อยกว่าหากเทียบกับผลดีในการรักษาโรคให้หายจากกรณีเชื้อไวรัสโควิด-19 ความกังวลอีกประการหนึ่ง คือ mRNA จะเข้าไปเปลี่ยนพันธุกรรมของมนุษย์หรือไม่? ซึ่งธรรมชาติของสารพันธุ mRNA นั้นเมื่อทำหน้าที่ของตนเสร็จแล้วจะถูกกำจัดออกจากร่างกายหรือสลายไปเอง หน้าที่ของวัคซีน mRNA มีเพียงแค่สร้างโปรตีนพันธุกรรมของไวรัสให้ร่างกายมีภูมิเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่สามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมในตัวมนุษย์ได้

เทคโนโลยีวัคซีนต่างๆ กับวัคซีน mRNA

วัคซีนคือสิ่งที่ผลิตมาเพื่อสอนให้ร่างกายรู้จักและมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคหรือเชื้อไวรัส เพื่อช่วยป้องกันโรค ป้องกันการป่วยหนักถึงชีวิตและลดการติดเชื้อ โดยวัคซีนเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีมานานตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบัน มีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นมากมาย เชื้อไวรัสที่วิวัฒน์ไปอย่างรวดเร็วพร้อมกับโลกทำให้มีการพัฒนาวัคซีนอยู่เสมอเพื่อช่วยชีวิตผู้คนจากโรคร้ายต่างๆ ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับเทคโนโลยีวัคซีนแต่ละประเภทกัน

เทคโนโลยีวัคซีนในปัจจุบัน ได้แก่

  • วัคซีนเชื้อตาย (Inactivated vaccines)

วัคซีนเชื้อตาย คือ วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อไวรัสที่ถูกทำให้ตายเหลือเพียงเปลือกร่างกาย ทำให้ไม่สามารถแบ่งจำนวนหรือเกิดการติดเชื้อได้อีก ข้อดีของวัคซีนเชื้อตาย คือ สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้นกันได้ดีในระดับหนึ่งและมีความแม่นยำในการจดจำไวรัส ผลิตง่ายและทำได้รวดเร็วที่สุด แต่ข้อเสียก็คือ มีโอกาสที่เชื้อไวรัสจะไม่ตายสนิทหรืออาจทำให้ติดเชื้ออย่างอื่นได้ง่ายแทน ตัวอย่างโรคที่ใช้วัคซีนเชื้อตายเช่น โรคโปลิโอ โรคหัด โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคพิษสุนัขบ้า และโรคโควิด-19 เป็นต้น

  • วัคซีนเชื้ออ่อนแรง (Live-attenuated vaccines)

วัคซีนเชื้ออ่อนแรง คือ การนำเอาเชื้อไวรัสชนิดนั้นๆ มาทำให้อ่อนแรงลงแต่ยังคงมีความสามารถในการติดเชื้อและแบ่งตัวได้อยู่ ข้อดีของวัคซีนนี้จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้อย่างเต็มที่มากที่สุด แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อเสียเพราะอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและมีโอกาสที่เชื้อโรคจะสามารถแบ่งตัวและทำให้ติดเชื้อได้ ตัวอย่างโรคที่ใช้วัคซีนเชื้ออ่อนแรงเช่น โรคหัด โรคคางทูม โรคหัดเยอรมัน โรคอีสุกอีใส และโรคงูสวัด เป็นต้น

  • วัคซีนหน่วยย่อย (Protein subunit vaccines)

วัคซีนหน่วยย่อย คือ วัคซีนที่ใช้ส่วนเฉพาะของเชื้อโรค เช่น โปรตีน น้ำตาล หรือปลอกหุ้มเชื้อโรค (Capsid) ฉีดเข้าไปในร่างกายจึงทำให้มีการกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่สูง โดยภูมิคุ้มกันจะมุ่งเป้าไปที่การทำลายส่วนสำคัญของเชื้อโรค ข้อดีของวัคซีนนี้ คือ เป็นวัคซีนที่ฉีดได้แทบจะทุกคนรวมถึงผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอด้วย เนื่องจากวัคซีนนี้ใช้ส่วนของเชื้อโรคแค่บางส่วนจึงไม่เสี่ยงติดเชื้อ แต่ข้อเสียก็คือ วัคซีนเหล่านี้ต้องฉีดซ้ำหลายครั้งเพื่อกระตุ้นภูมิอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างโรคที่ใช้วัคซีนหน่วยย่อยเช่น ไวรัสตับอักเสบบี และโรคไวรัสโควิด-19 เป็นต้น

  • วัคซีนท็อกซอยด์ (Toxoid vaccines)

วัคซีนท็อกซอยด์ คือ วัคซีนที่ผลิตด้วยการนำพิษของเชื้อโรคหรือแบคทีเรียมาทำให้หมดฤทธิ์แต่ยังสามารถกระตุ้นภูมิได้มาฉีดเข้าร่างกาย ร่างกายจะมุ่งตอบสนองต่อพิษของโรค ข้อดี คือ เทคโนโลยีวัคซีนท็อกซอยด์สามารถนำมาผลิตวัคซีนป้องกันโรคคอตีบและโรคบาดทะยักได้ แต่ข้อเสียของวัคซีนประเภทนี้ คือ จำเป็นต้องฉีดซ้ำบ่อยเช่นกัน

  • วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Viral vector vaccines)

วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ คือ วัคซีนที่มีการนำไวรัสของโรคมาทำให้อ่อนแรง จากนั้นตัดต่อสารพันธุกรรมของไวรัสไปใส่ใน Viral vector ซึ่งเป็นไวรัสที่ไม่ก่อให้เกิดโรค เมื่อฉีดเข้าร่างกายจึงสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ ข้อดีของเทคโนโลยีวัคซีนนี้ คือ ได้ผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันดีกว่าวัคซีนเชื้อตาย เนื่องจากร่างกายเรียนรู้การติดเชื้อครบขั้นตอนและไม่ทำให้ป่วยและยังจัดเก็บง่าย ข้อเสียก็คือสำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันกับตัว Viral vector อาจกำจัดวัคซีนทิ้งก่อนเกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ในกรณีที่เป็นโรคอุบัติใหม่ขั้นตอนหา Viral vector ที่สามารถเข้ากับไวรัสที่ต้องการป้องกันอาจทำได้ล่าช้าและมีข้อจำกัดในการผลิตปริมาณมากโดยโรคส่วนใหญ่ที่ใช่วัคซีนพาหะจะเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ โรคอีโบล่า และไวรัสโควิด-19

  • วัคซีน mRNA (Messenger RNA vaccines)

วัคซีน mRNA คือ วัคซีนที่นำส่วน mRNA ของไวรัสหุ้มด้วยเซลล์ไขมันฉีดเข้าไปในร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถเรียนรู้และสร้างภูมิคุ้มกันจากไวรัสได้โดยที่ร่างกายไม่ต้องติดเชื้อก่อน ข้อดี คือ เป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง ไม่ทำให้ร่างกายเสี่ยงติดเชื้อ พัฒนาได้ไว และยังสามารถผลิตได้อย่างรวดเร็วหลังถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสได้ ข้อเสียของวัคซีน mRNA คือ ความไม่เสถียรของโปรตีน mRNA อาจทำให้เสื่อมประสิทธิภาพถ้าขาดการเก็บรักษาที่ดีและเป็นเทคโนโลยีใหม่ทำให้ต้องสร้างความเชื่อมั่นจากผู้คนเป็นวัคซีนที่นำมาใช้กับโรคโควิด-19 เป็นครั้งแรก

  • วัคซีน DNA Plasmid (DNA plasmid vaccines)

วัคซีน DNA คือ วัคซีนที่ใช้สารพันธุกรรมเช่นเดียวกันกับ mRNA แต่วัคซีนตัวนี้จะใช้ส่วนของสารพันธุกรรมหลัก​ DNA ข้อดีก็คือ สามารถผลิตได้ง่าย แม่นยำ แต่ข้อเสียคือยังเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มากต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมอีก วัคซีนนี้อาจทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนองได้ไม่สูงเท่าวัคซีนอื่นๆ นอกจากนี้ ขั้นตอนการฉีดยังมีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่าการฉีดวัคซีนทั่วไปเนื่องจากต้องใช้ไฟฟ้าเป็นตัวนำพาเข้าสู่เซลล์ร่างกาย ปัจจุบันยังไม่มีการใช้กับโรคไหนอย่างเป็นทางการและอยู่ในขั้นตอนศึกษาและวิจัยอยู่

วัคซีน mRNA ดีกว่าเทคโนโลยีวัคซีนอื่นอย่างไร

บทความ mRNA

ประสิทธิภาพของวัคซีนที่ดีกว่าสามารถวัดได้จากความปลอดภัยหลังจากฉีดวัคซีน ประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อไวรัส รวมถึงประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายที่สูงกว่า

ข้อดีของวัคซีน mRNA คือ การทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสได้โดยไม่จำเป็นต้องเผชิญกับไวรัสจริงและเกิดการติดเชื้อก่อน ประกอบกับมีการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้แม่นยำสูงเนื่องจากถอดรหัสหน้าตาของไวรัสจากพันธุกรรมโดยตรง นอกจากนี้ วัคซีน mRNA ยังเป็นวัคซีนที่สามารถผลิตได้ง่ายและรวดเร็วหลังจากถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสชนิดนั้นได้ ในกรณีที่เชื้อไวรัสเกิดการกลายพันธุ์ ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในร่างกายนั้นก็ยังสามารถตอบสนองต่อเชื้อไวรัสได้

วัคซีน mRNA จะเข้ามาเปลี่ยนอนาคตอย่างไร?

หลังจากสถานการณ์โควิด-19 เทคโนโลยีวัคซีน mRNA ที่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ชี้ให้เห็นว่า นี่อาจเป็นโอกาสใหม่ในวงการแพทย์และเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยชีวิตคนได้อีกมากมายหากสามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้รักษาโรคอื่นๆ นอกจากไวรัสโควิด-19 ซึ่งเบื้องต้นได้มีนักวิจัยหลายทีมและบริษัทยาอีกหลายแห่งที่กำลังศึกษาและพัฒนาวัคซีนนี้อย่างต่อเนื่อง

จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี mRNA นั้นได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการส่งยาเข้าไปรักษาส่วนต่างๆ ภายในร่างกายถึงระดับเซลล์ แต่ในปี 2020 กลับพบว่าเทคโนโลยีนี้เหมาะที่จะนำมาใช้ผลิตวัคซีนด้วยเช่นกัน

เทคโนโลยี mRNA ในการรักษาโรคอุบัติใหม่
หลังจากการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี mRNA เพื่อใช้เป็นวัคซีนได้สำเร็จแล้ว ศักยภาพของเทคโนโลยี mRNA ยังเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคระบาดใหม่ที่อาจอุบัติขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย โดยสามารถใช้การถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัสนี้เพื่อนำมาผลิตวัคซีนได้อย่างรวดเร็ว

เทคโนโลยีรหัสพันธุกรรมในวัคซีนจะช่วยรักษาโรคทางพันธุกรรมที่หายยากได้
มีการศึกษาเรื่องการใช้เทคโนโลยี mRNA เพื่อนำมาใช้ทำร่วมกับระบบ CRISPR ในร่างกาย ความพิเศษของ 2 สิ่งนี้คือทั้งสองเป็นระบบที่มีอยู่แล้วภายในร่างกายและสามารถนำมาใช้เป็นเทคโนโลยีเพื่อรักษาโรคได้ถึงระดับเซลล์ 

CRISPR/cas9 คือ  คือระบบภูมิคุ้มกันแบคทีเรียในร่างกายที่มีหน้าที่กำจัด DNA แปลกปลอมที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย โดยการทำงานของ CRISPR จะเข้าไปทำให้ลำดับเบสของ DNA กลายเป็นปกติ  การศึกษาเรื่องคริสเปอร์ (CRISPR) นั้นมีมานานแล้วโดยจุดประสงค์ของการศึกษาสิ่งนี้ คือ การดัดแปลงสาย DNA ให้มีลำดับเบสที่ถูกต้องในระดับเซลล์ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม ลบ หรือเปลี่ยนแปลง ข้อมูลทางพันธุกรรมที่ผิดปกติ

นักวิจัยได้ค้นพบแล้วนำ mRNA มาเป็นตัวส่งมอบคำสั่งเพื่อแก้ไขยีน CRISPR ให้สามารถช่วยรักษาและแก้ไขในระดับเซลล์ ซึ่งหากทำได้สำเร็จเทคโนโลยี mRNA จะเข้ามาช่วยรักษาโรคทางพันธุกรรมของมนุษย์ที่มีโอกาสหายยากหรือไม่มีโอกาสหายได้ให้เป็นจริง

โรคทางพันธุกรรมต่างๆ ที่อาจรักษาได้ด้วยเทคโนโลยี mRNA และ CRISPR เช่น 

  • โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle Cell disease)
  • โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
  • ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome)
  • โรคตาบอดสี (Color Blindness)
  • โรคความผิดปกติของยีน (Cystic Fibrosis)
  • โรคประสาทชักกระตุก (Huntington’s Disease)
  • โรคถุงน้ำในไต (Polycystic Kidney Disease)
  • โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia)

เทคโนโลยี mRNA ในการใช้กับโรคที่รักษาไม่หาย

ในวารสารการแพทย์ New England ฉบับเดือนมิถุนายน 2021 ที่ผ่านมามีการกล่าวถึงงานวิจัยที่ทดลองใช้เทคโนโลยี mRNA เข้ารหัสและ CRISPR ในการรักษาโรคพันธุกรรมเพื่อให้ยากับมนุษย์ เทคโนโลยีนี้สามารถนำมาใช้ได้ทั้งกับการส่งคำสั่งแก้ไขระดับเซลล์และส่งมอบยาในระดับเซลล์ได้  ซึ่งหมายความว่าสามารถนำไปใช้รักษาถึงต้นตอของสาเหตุโรคได้นั่นเอง

เคสตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ ทีมวิจัยที่นำโดย Dr.Julian Gillmore ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคอะไมลอยโดซิส จากโรงพยาบาล Royal Free แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งได้ทดลองใช้โปรแกรม mRNA ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเซลล์ในการการผลิตโปรตีนพิษซึ่งไปสะสมที่ตับ โดยใช้ mRNA ส่งคำสั่งการแก้ไขยีนให้ลดการผลิตโปรตีนที่เป็นพิษหลังทดลองฉีดยา ทั้งนี้ 3 ใน 6 ของผู้ทดลองพบว่า ร่างกายตอบสนองต่อคำสั่งได้ดีและผลิตโปรตีนพิษลดลง แม้การทดลองระยะแรกได้ผลดี แต่ยังคงต้องติดตามอาการในระยะยาวต่อไป

การศึกษาเทคโนโลยี mRNA ที่ได้รับความสนใจมากขึ้นทำให้เรามองเห็นอนาคตในวงการแพทย์ว่า อาจนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้รักษาโรคทางกรรมพันธุ์อันมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากยีนอย่างโรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ โรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ได้ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาเพื่อนำไปใช้กับโรคที่รักษายากอย่างโรคไขกระดูก ระบบประสาท และกล้ามเนื้ออีกด้วย ซึ่งสามารถลดขั้นตอนการรักษาที่เจ็บปวดลงได้

บทความ mRNA

สรุป

mRNA เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามาช่วยให้ชีวิตของมนุษย์ดีขึ้นได้ ด้วยคุณสมบัติของ mRNA ประกอบกับเทคโนโลยีในการสร้างวัคซีนจึงทำให้วัคซีน mRNA มีประสิทธิภาพสูงกว่าวัคซีนอื่นและประสบความสำเร็จในการป้องกันโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอุบัติใหม่ที่ยังไม่มีการรักษาที่แน่นอน  ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่นี้เป็นการสร้างความหวังในวงการแพทย์และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้คนต่อเทคโนโลยี mRNA     

นอกจากความสำเร็จในการผลิตวัคซีนแล้ว เทคโนโลยี mRNA ยังสามารถนำมาใช้ได้อีกหลายทาง โดยเฉพาะในทางการแพทย์ที่นำ mRNA มาใช้รักษาโรคในระดับเซลล์ ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์อีกหลายพันล้านคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้การเดินทางของเทคโนโลยี mRNA ยังสามารถต่อยอดไปได้อีกไกลนำไปสู่การรักษาโรคหลากหลายแนวทางมากขึ้น โดยถือเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ก้าวต่อไปของ mRNA จะเป็นอย่างไรเรามาคอยติดตามการพัฒนาของเทคโนโลยีนี้ไปพร้อมกัน

 

ติดตามข่าวสารและคอนเทนต์ดีๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อมที่คุณไม่ควรพลาด

ได้ที่ Facebook PTT ExpresSo

New call-to-action

3 แนวทางสร้างโลกสีเขียวด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนจริงแบบ AR

SHARE

นักวิทยาศาสตร์พบว่า เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงแบบ AR (Augmented Reality) ช่วยสร้างประสบการณ์ที่ทำให้มนุษย์เข้าใจวิกฤตสภาพภูมิอากาศของโลกได้ดีขึ้น

Data-Driven EnviroPolicy Lab คือ กลุ่มสหวิทยาการของนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และโปรแกรมเมอร์ที่ Yale-NUS College ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งได้ศึกษาผลการใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงแบบ AR เพื่อสื่อสารปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยพบว่าเทคโนโลยี AR ช่วยทำให้มนุษย์ตระหนักถึงสาเหตุ ผลกระทบ และอันตรายของปัญหาได้อย่างลึกซึ้ง 

ตัวอย่างเช่น การทดสอบโดยให้คนลองตัดต้นไม้ผ่านเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง ขณะที่เขารู้สึกถึงการสั่นสะเทือนและเสียงของเลื่อยไฟฟ้า จะส่งผลให้บุคคลนั้นมีแนวโน้มที่จะประหยัดการใช้กระดาษในชีวิตจริงมากขึ้น

ปัจจุบันการใช้เทคโนโลยี AR ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น

บทความนี้เรามีตัวอย่าง 3 แนวทางการใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงแบบ AR เพื่อสร้างโลกสีเขียวอย่างยั่งยืน และการรับมือกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในอนาคตมาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้

บทความ เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงแบบ AR

1. การสร้างความตระหนักถึงปัญหา Climate Change

เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี วันคุ้มครองโลก (Earth Day) เมื่อเดือนเมษายนปี 2020 นิตยสาร National Geographic ได้เปิดตัวหน้าปกฉบับพิเศษที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง Spark AR ของ Instagram เพื่อให้ทุกคนบน Instagram สามารถใช้งานได้ ไม่จำกัดเฉพาะผู้ติดตามของ @natgeo เท่านั้น

หน้าปกฉบับพิเศษนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างกระแสทางโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับปัญหา Climate Change ดึงดูดให้ผู้คนตระหนักถึงคำเตือนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้เห็นข้อมูลสภาพอากาศที่คาดการณ์ไว้ใน 12 เมืองสำคัญทั่วโลก และรับรู้ได้ว่าโลกจะรู้สึกอย่างไรในปี 2070 

เมื่อสแกนไปที่หน้าปก ผู้ใช้จะมองเห็นโลกเป็นแบบจำลอง 3 มิติและสามารถเดินไปรอบๆ ขณะหมุนได้ โลกจะแสดงจุดสีเหลืองในเมืองใหญ่ 12 เมือง เช่น Los Angeles, London, Istanbul, Chennai เมื่อคลิกที่แต่ละจุดจะแสดงข้อมูลสภาพอากาศปัจจุบันของเมืองนั้น ซึ่งบางเมืองจะแสดงเส้นไปยังเมืองอื่นที่คาดว่าจะมีสภาพอากาศแบบเดียวกันในอีก 50 ปีข้างหน้าด้วย

ยกตัวอย่างสภาพอากาศของเมือง Los Angeles มีความเชื่อมโยงกับจังหวัด Ouezzane ใน Morocco ดังนั้น ภายในปี 2070 เมือง Los Angeles จะรู้สึกเหมือนกับ Morocco ในทุกวันนี้ ส่วนที่ Hanoi เมืองหลวงของเวียดนาม ไม่ได้มีสภาพอากาศที่เชื่อมโยงกับเมืองใดๆ ดังนั้น ภายในปี 2070 ฮานอยจะรู้สึกไม่เหมือนกับที่ใดในโลกทุกวันนี้

 

How to Share With Just Friends

How to share with just friends.

Posted by Facebook on Friday, December 5, 2014

 

The Anthropocene Education Program เกิดจากความร่วมมือระหว่าง The Royal Canadian Geographical Society (RCGS) และ The Anthropocene Project (TAP) เป็นโครงการรวบรวมสื่อภาพยนตร์ ศิลปะ และความเสมือนจริงที่ถูกเติมแต่งให้มีความสวยงาม พร้อมช่วยปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการสื่อสารให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามนุษย์มีผลกระทบต่อสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมอย่างไร รวมทั้งออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนิสัยและพฤติกรรมของคนรุ่นต่อไปในอนาคต

Gilles Gagnier ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการและผู้จัดพิมพ์ RCGS กล่าวว่า “ด้วยเครื่องมือเหล่านี้ ครูจะสามารถสนับสนุนให้นักเรียนมองเห็นถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเอง เนื้อหาทางวิชาการจะแทรกอยู่ในกิจกรรมและบทเรียน ซึ่งออกแบบมาเพื่อพัฒนาความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง และนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมเชิงบวก”

โปรแกรมการศึกษานี้ช่วยให้ครูในประเทศแคนาดาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทั้งในรูปแบบของภาพยนตร์สั้นเพื่อการศึกษา รูปภาพแบบ Interactive ประสบการณ์โลกเสมือนจริงแบบ AR และอื่นๆ 

นอกจากนี้ ทางโครงการยังได้ผลิตคู่มือและแผนการสอนสำหรับครูที่เชื่อมโยงกับหลักสูตร โดยมีเป้าหมายเข้าสู่ห้องเรียนทั่วประเทศแคนาดาให้ได้มากกว่า 25,000 แห่ง

3. การสร้างเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เมื่อผู้คนเริ่มตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อน และรัฐบาลในหลายประเทศกำลังวางแผนสร้างเมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืนเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชน เช่น ประเทศสิงคโปร์ลงทุนงบ 73 ล้านดอลลาร์ให้กับโครงการ Virtual Singapore หรือในประเทศอินเดียที่นำซอฟต์แวร์ Smart World Pro ของ Cityzenith มาใช้กับเมือง Amaravati ในรัฐ Andhra Pradesh เพื่อสร้างเมืองฝาแฝดดิจิทัล

เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงแบบ AR (Augmented Reality) จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้ โดยมีเป้าหมายที่จะรวมโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค หรืออุปกรณ์ที่ช่วยฟื้นฟูสภาพอากาศ เพิ่มความสะดวกในการกำกับดูแลควบคู่กับการพัฒนาพื้นที่สาธารณะด้วยการบูรณาการแบบองค์รวม ทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล การจัดการทรัพยากร ความปลอดภัย สุขภาพ การคมนาคม ตลอดจนการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่

นอกจากนี้ ยังมีความพยายามที่จะผลักดันให้พลเมืองเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นผ่านการใช้เทคโนโลยี AR 

เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจพิมพ์เขียวของสถานที่ต่างๆ ได้ แต่เมื่อมีเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างเมืองเสมือนจริงในรูปแบบแผนที่ดิจิทัล 3 มิติที่ผู้คนสามารถเดินอยู่บนนั้น โต้ตอบกับวัตถุและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ในทันที

จึงช่วยให้ผู้คนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมกับชุมชนผ่าน AR ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่เพียงแค่นั้น เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงแบบ AR ยังช่วยออกแบบเมืองด้วยการเก็บข้อมูลตำแหน่งในทุกองค์ประกอบที่เป็นไปได้สำหรับใช้ติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ตั้งแต่คุณภาพอากาศ การบุกรุกพื้นที่ และการเกิดไฟป่าที่รุนแรง ซึ่งการทราบข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานภาคสนาม หาทางป้องกันและควบคุมสถานการณ์ได้ทันท่วงที รวมทั้งยังเป็นแนวทางให้กับบุคลากรทางการแพทย์ นักดับเพลิง และเจ้าหน้าที่ตำรวจในการจัดการเหตุฉุกเฉินต่างๆ ได้อีกด้วย

บทความ เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงแบบ AR

สรุป

ในบทความนี้จะเห็นได้ว่าความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีโลกเสมือนจริงแบบ AR กับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมไม่จำเป็นต้องเดินสวนทางกันเสมอไป แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในหลายแนวทาง ได้แก่

  • สร้างความตระหนัก ให้ผู้คนเห็นความสำคัญและเข้าใจถึงผลกระทบของปัญหา
  • สร้างโปรแกรมการศึกษาที่ช่วยสอนและปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้คนรุ่นใหม่
  • สร้างเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

หวังว่าจุดเริ่มต้นของแนวทางเหล่านี้จะกลายเป็นแรงบันดาลใจที่ช่วยส่งต่อการเปลี่ยนแปลงที่ดียิ่งขึ้นทั้งในระดับบุคคล สังคม และนานาประเทศทั่วโลก 

เมื่อถึงวันนั้นการสร้างโลกสีเขียวที่ยั่งยืนก็จะไม่ได้เป็นเพียงแค่โลกเสมือนจริงอีกต่อไป

New call-to-action

5 บทบาทสำคัญของเทคโนโลยี AI ในโลกธุรกิจ

SHARE

บทความ เทคโนโลยี Ai

เทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องล้าสมัยที่ควรมองข้าม โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพและ (ว่าที่) สตาร์ทอัพทั้งหลาย เนื่องจาก AI ยังคงมีวิวัฒนาการรุดหน้าอย่างต่อเนื่องและอยู่ในชีวิตประจำวันของเราหลากหลายรูปแบบ

ปัจจุบัน บริษัทต่างๆ ได้นำเทคโนโลยี AI ไปใช้กันมากขึ้นเพื่อเพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ รวมทั้งปรับปรุงการดำเนินงานของบริษัทให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เรียกได้ว่าเป็นยุคทองของ AI หนึ่งในเทคโนโลยีที่ทรงอิทธิพลแห่งยุคสมัย

เทคโนโลยี AI นั้นสำคัญไฉน

เทคโนโลยี AI คืออะไร

AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เกิดจากการวิจัยและพัฒนาระบบสมองกลของคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถในการเรียนรู้ข้อมูล รูปภาพ ภาษา การจดจำรูปแบบ การคิดวิเคราะห์ ตลอดจนคาดการณ์และตอบสนองสิ่งต่างๆ ได้แบบเดียวกับสมองของมนุษย์ แต่เพิ่มขีดความสามารถให้มีความฉลาดล้ำยิ่งขึ้น เพื่อช่วยจัดการปัญหาที่มีความซับซ้อนหรือทำงานซ้ำซากต่างๆ แทนมนุษย์ได้ในเวลารวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ความสำคัญของเทคโนโลยี AI ในบริบทของโลกธุรกิ

เนื่องจากโลกปัจจุบันเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารจำนวนมหาศาล รวมถึงความต้องการของลูกค้าที่มีความซับซ้อนและพร้อมเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา กระบวนการทางธุรกิจและลักษณะงานในศตวรรษที่ 21 จึงมีความยุ่งยากและท้าทายมากขึ้น จำเป็นต้องใช้ความรู้และทักษะขั้นสูงซึ่งศักยภาพของมนุษย์อาจมีขีดจำกัด ทำให้การดำเนินงานไม่มีประสิทธิภาพมากพอต่อการแข่งขัน และมีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้ง่าย

เมื่อบริษัทต่างๆ ไม่สามารถพึ่งพาแค่เทคโนโลยีดั้งเดิมในการทำธุรกิจได้อีกต่อไป การเปิดมุมมองความเป็นไปได้ใหม่ๆ ด้วยเทคโนโลยี AI เพื่อช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตและแข่งขันได้จึงเป็นสิ่งจำเป็น 

ยืนยันด้วยผลสำรวจ Global AI Survey: AI proves its worth, but few scale impact ของ McKinsey & Company บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารชั้นนำของโลก มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี AI ในแวดงธุรกิจต่างๆ อาทิ

  • การใช้เทคโนโลยี AI ในแวดวงธุรกิจทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบ 25% เมื่อเทียบปีต่อปี
  • ผู้บริหารที่ตอบแบบสอบถาม 44% ระบุว่า AI ช่วยลดต้นทุน และ 63% บอกว่า ช่วยสร้างรายรับให้กับบริษัทเพิ่มขึ้น
  • 22% ของบริษัทที่ใช้เทคโนโลยี AI มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 5% และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นในทุกปี
  • AI ช่วยทำเงินให้กับธุรกิจค้าปลีกได้มากถึง 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ธุรกิจการเงินและธนาคารมีรายได้มากขึ้น 50% ส่วนธุรกิจขนส่งและคมนาคมมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 89%
  • การใช้งาน AI ที่พบมากที่สุดในธุรกิจต่างๆ คือ งานเกี่ยวกับการปรับปรุงด้านการขาย (Sales) และการตลาด (Marketing)
  • บริษัทที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้เทคโนโลยี AI บอกกับ McKinsey ว่าพวกเขาวางแผนที่จะเพิ่มการลงทุนใน AI เพื่อรับมือกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของ COVID-19 

ข้อมูลข้างต้นยังสอดคล้องกับผลสำรวจของ Infosys ที่ 76% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า AI เป็นพื้นฐานสู่ความสำเร็จในการวางกลยุทธ์ขององค์กร และ 64% เชื่อว่าการเติบโตขององค์กรในอนาคตขึ้นอยู่กับการนำเทคโนโลยี AI ไปใช้ในวงกว้าง

5 บทบาทสำคัญของเทคโนโลยี AI ในโลกธุรกิจ

บทความ เทคโนโลยี Ai

1. เทคโนโลยี AI กับการบริการลูกค้า (Customer Service)

ปฏิเสธไม่ได้ว่าหัวใจสำคัญของการบริการลูกค้า คือ การสื่อสาร ซึ่งแต่ก่อนเป็นงานที่ต้องอาศัยมนุษย์เป็นหลัก แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI ทำให้มีการคิดค้นและพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า Chatbot เพื่อช่วยสื่อสารและสนับสนุนการให้บริการลูกค้า โดยแชทบอทสามารถพูดคุยโต้ตอบกับลูกค้าแบบอัตโนมัติได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุด แถมยังมีความฉลาดในการประมวลผลภาษาธรรมชาติ แยกแยะความแตกต่างของการสนทนาและเลียนแบบคำพูดของมนุษย์ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ

จากการศึกษาของ American Marketing Association (AMA) พบว่าการใช้ Chatbot ช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า และนำมาซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานให้กับบริษัทขนาดใหญ่ ในขณะเดียวกันก็ช่วยเติมเต็มช่องว่างให้กับบริษัทขนาดเล็กที่ยังไม่มีงบจ้างทีมบริการลูกค้าโดยเฉพาะ

ตัวอย่างกรณีศึกษา : Sephora Reservation Assistant – Sephora

Sephora ถือเป็นผู้นำด้านการใช้ Chatbot ในโลกแห่งความงาม เพื่อปรับปรุงวิธีการสื่อสารและสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า  

Sephora Reservation Assistant คือ ผู้ช่วยนัดหมายแต่งหน้ากับผู้เชี่ยวชาญด้านความงามของ Sephora ผ่าน Chatbot บน Facebook Messenger เพียงแค่ลูกค้าบอกว่าพวกเขาอยู่ที่ไหน บอทจะค้นหาตำแหน่งร้านที่ใกล้ที่สุด พร้อมทำนัดหมายตามวันและเวลาที่ลูกค้าสะดวกให้โดยอัตโนมัติ

หลังเปิดให้บริการฟีเจอร์นี้พบว่า ลูกค้าสามารถจองคิวนัดหมายสำเร็จภายในสามขั้นตอนเท่านั้น โดยมียอดจองคิวเพิ่มขึ้น 11% ในสหรัฐอเมริกา แถมลูกค้าที่จองคิวแต่งหน้าผ่านแชทบอทยังมียอดการใช้จ่ายที่หน้าร้านโดยเฉลี่ยมากกว่า 50 ดอลลาร์สหรัฐอีกด้วย

2. เทคโนโลยี AI กับการขนส่งสินค้า (Logistic)

ธุรกิจที่กำลังมาแรงตีคู่กับ E-Commerce คงหนีไม่พ้นธุรกิจบริการด้านโลจิสติกส์ ซึ่งสามารถนำเทคโนโลยี AI มาช่วยปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นระบบหลังบ้าน งาน Operation การให้บริการและต่อยอดประสบการณ์ของลูกค้า

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ AI ด้านโลจิสติกส์ เช่น ใช้ AI จดจำสินค้าจากรูปภาพ พร้อมย้ายสินค้าใน Store ให้โดยอัตโนมัติ ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคาดการณ์ล่วงหน้า เช่น ค้นหาเส้นทางการจัดส่งที่เร็วที่สุด วิเคราะห์ความผันผวนของปริมาณการจัดส่งสินค้าทั่วโลก หรือแม้แต่การคาดเดาพฤติกรรมเพื่อวางแผนจัดส่งสินค้าล่วงหน้า

ตัวอย่างกรณีศึกษา : Domino’s Robotic Unit (DRU) – Domino Pizza

Domino’s delivery robot of the future

Domino’s Robotic Unit หรือ DRU คือ หุ่นยนต์ส่งพิซซ่าในรูปแบบยานพาหนะขนส่งไร้คนขับตัวแรกของโลก ภายใต้แบรนด์ Domino Pizza รูปลักษณ์ภายนอกคล้ายรถสี่ล้อ มีช่องที่บรรจุพิซซ่าได้ถึง 10 ถาด ทำหน้าที่เป็นทั้งเตาอบและตู้เย็นแบบใช้พลังงานต่ำ จึงเก็บของร้อนก็ดี เก็บของเย็นก็ได้ ทำให้อาหารที่ส่งถึงมือลูกค้ามีความสดใหม่เหมือนทานที่ร้าน

DRU สามารถขับเคลื่อนบนทางเท้าโดยจะเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดจากหน้าร้านไปจนถึงประตูบ้านของลูกค้า ด้วยความเร็วที่ปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีระบบเซ็นเซอร์ที่ช่วยหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางระหว่างทางได้อีกด้วย ปัจจุบันมีการทดลองใช้เจ้า DRU แค่ในบางพื้นที่ของประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

3. เทคโนโลยี AI กับการตลาดแบบ Personalized Marketing

ทุกวันนี้แบรนด์ต่างๆ เริ่มให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า เพราะเมื่อแบรนด์สามารถเข้าถึงใจผู้บริโภคได้ในระดับบุคคลแล้ว การนำเสนอผลิตภัณฑ์ บริการ และโปรโมชันต่างๆ ให้ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลา ก็เป็นเรื่องง่าย แถมยังช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมและกระตุ้นยอดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคลมีหลายรูปแบบ อาทิ

  • Geo-location คือ การนำเสนอสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับสถานที่ที่ลูกค้าไปบ่อย หรือกำลังอยู่ในขณะนั้น
  • Real-time Moment คือ การนำเสนอสินค้าและบริการขณะที่ลูกค้ากำลังใช้เวลาอยู่กับสิ่งนั้น
  • Recommendation System คือ การแนะนำสิ่งที่ลูกค้าสนใจจากการติดตามพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น การเสิร์ชหาข้อมูล หรือกดคลิกดูสินค้าประเภทนั้นบ่อยๆ 

ตัวอย่างกรณีศึกษา : AI WEATHERfx Footfall with Watson – Subway

Subway แบรนด์ขายแซนด์วิชชื่อดังจับมือกับ IBM Watson นำเทคโนโลยี AI ที่ชื่อ WEATHERfx Footfall with Watson มาใช้ประมวลผลสภาพอากาศ ร่วมกับยอดขาย และจำนวนก้าวของลูกค้าที่รวบรวมจากร้าน Subway ในแต่ละสาขา เพื่อปรับแต่งการโฆษณาและนำเสนอโปรโมชันที่เหมาะสมตามสภาพดินฟ้าอากาศ เช่น ในช่วงที่อากาศร้อนอบอ้าว AI จะดึงโฆษณาแซนด์วิชร้อนๆ ออกโดยอัตโนมัติ แล้วเปลี่ยนเป็นเมนูของทานเล่น หรือเครื่องดื่มเย็นๆ แทน

ผลปรากฏว่า Subway มีลูกค้าเข้าร้านมากขึ้น วัดได้จากจำนวนก้าวในร้านที่เพิ่มขึ้น 31% นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดงบประมาณการซื้อมีเดียได้ถึง 53% และลดการแสดงผลโฆษณาที่สูญเปล่าได้ประมาณ 7.9 ล้านครั้ง

4. เทคโนโลยี AI กับการลงทุน

บทความ เทคโนโลยี Ai

เจ้าหน้าที่วางแผนด้านการเงินและการลงทุนของธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ มักประสบปัญหาในการเข้าถึงความต้องการของลูกค้ารายบุคคล รวมทั้งไม่สามารถตอบสนองและรองรับการให้บริการลูกค้าจำนวนมากภายในเวลารวดเร็ว

ปัจจุบันจึงมีการคิดค้นเทคโนโลยีทางการเงิน (Fintech) ที่รวมศักยภาพของอัลกอริทึม การจัดการ Big Data และปัญญาประดิษฐ์ มาผนึกกำลังร่วมกับความเชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาด้านการเงิน เพื่อช่วยวิเคราะห์ และวางแผนการลงทุนเบื้องต้นให้กับลูกค้าได้แบบอัตโนมัติ ตอบโจทย์ทุกความต้องการขั้นพื้นฐานให้กับกลุ่มมือใหม่หัดลงทุน

ตัวอย่างกรณีศึกษา : ROBO ADVISORบริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ (SCBS) 

ROBO ADVISOR คือ บริการผู้ช่วยวางแผนด้านการลงทุนในรูปแบบ AI ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยออกแบบและบริหารพอร์ตกองทุนรวมอัตโนมัติ ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ความต้องการ และระดับความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนแต่ละคน ช่วยคัดเลือกกองทุนรวมที่มีศักยภาพ ปรับพอร์ตให้เหมาะสมตามภาวะตลาดพร้อมกระจายความเสี่ยง เพื่อให้ได้ผลตอบแทนคุ้มค่าที่สุด

ลูกค้าสามารถติดตามและจัดการพอร์ตลงทุนของตัวเองได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชัน แถมไม่ต้องเสียค่าบริการเพิ่มเติม จึงช่วยประหยัดเงินมากกว่าการใช้บริการแบบ Human Advisor

นอกจากนักลงทุนจะได้รับความสะดวกสบาย และความพึงพอใจที่มากขึ้น ROBO ADVISOR ยังช่วยลดภาระงานในส่วนการดูแลลูกค้ารายย่อย จึงช่วยให้พนักงานมีเวลาทุ่มเทเพื่อปิดดีลกับลูกค้ารายใหญ่ที่มีความต้องการด้านการลงทุนที่ซับซ้อนกว่า แต่ช่วยสร้างรายได้และผลกำไรที่คุ้มค่าให้กับองค์กรได้มากขึ้น

5. เทคโนโลยี AI กับกระบวนการสรรหาบุคลากร

บริษัทต่างๆ เริ่มใช้เทคโนโลยี AI ในการคัดกรอง ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลของผู้สมัครงานเบื้องต้น ผ่านระบบอัตโนมัติของ AI ที่สามารถประมวลผลภาษาธรรมชาติโดยปราศจากอคติของมนุษย์ จึงช่วยให้บริษัทสรรหาบุคลากรที่มีคุณสมบัติและความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งงานอย่างแท้จริง เหมาะกับบริษัทที่มีผู้สนใจสมัครงานจำนวนมาก และมีการแข่งขันสูงในหลายตำแหน่งงาน เพราะ AI สามารถช่วยลดเวลาและภาระงาน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างบริษัท Recruitment หรือ Headhunter

ตัวอย่างกรณีศึกษา : Robot Veraบริษัท PepsiCo 

ครั้งหนึ่งบริษัท PepsiCo ต้องการสรรหาพนักงาน 250 ตำแหน่งให้ได้ภายในเวลา 2 เดือน ด้วยกรอบเวลาที่จำกัดและจำนวนผู้สมัครที่มากหลักพันคน พวกเขาจึงเลือกใช้ Robot Vera เข้ามาเป็นผู้ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้สมัครและสัมภาษณ์ ผลปรากฏว่า Robot Vera สามารถสัมภาษณ์ผู้สมัครจำนวน 1,500 คน โดยใช้เวลาเพียง 9 ชั่วโมงเท่านั้น เมื่อเทียบกับการใช้คนสัมภาษณ์แบบเดิมอาจต้องใช้เวลานานถึง 9 สัปดาห์ 

 

Video interview with Robot Vera

 

ใครจะเชื่อว่าวันหนึ่งสมองกลของ AI จะสามารถทำหน้าที่เสมือน HR Recruiter ที่ช่วยสรรหาคนให้เหมาะสมกับตำแหน่งงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเกินคาด

สรุป

“In the next five to 10 years, AI is going to deliver so many improvements in the quality of our lives.” Mark Zuckerberg, founder and CEO of Facebook

เมื่อปี 2017 มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก CEO และผู้ก่อตั้ง Facebook เคยกล่าวไว้ว่าในอีก 5-10 ปี ข้างหน้า AI จะทำให้คุณภาพชีวิตของเราดีขึ้นอย่างมาก ในวันนี้ดูเหมือนสิ่งที่เขาพูดกำลังใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ 

เพราะทุกวันนี้เทคโนโลยี AI ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในแวดวงธุรกิจหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริการลูกค้า ด้านการขนส่งสินค้า ด้านการตลาด ด้านการลงทุน ด้านการจ้างงาน และด้านอื่นๆ อีกมากมาย โดยมีตัวอย่างความสำเร็จให้เห็นเป็นรูปธรรมในหลายบริษัททั่วโลก และเชื่อว่าบทบาทของเทคโนโลยี AI จะไม่หยุดพัฒนาเพียงเท่านี้อย่างแน่นอน

New call-to-action

Eco Design งานออกแบบรักษ์โลกที่มากกว่าความสวยงาม

SHARE

การออกแบบและผลิตสินค้าขึ้นมาสักชิ้น จำเป็นจะต้องคำนึงถึงความสวยงามและการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ ทว่าในยุคสมัยต่อมาเมื่อผู้คนตระหนักได้ว่าการผลิตของตัวเองนั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าที่คิด จึงต้องมีแนวทางใหม่เพื่อให้สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นส่งผลดีต่อโลก นั่นเป็นที่มาของ Eco Design หรือ การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจนั่นเอง

แนวคิด Eco Design การออกแบบที่ส่งผลดีกับโลก

การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco Design) คือการผลิตที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นับตั้งแต่เริ่มต้นการผลิตจน การขนส่ง การใช้งาน ไปจนถึงการกำจัดสินค้านั้นๆ เพื่อเน้นความยั่งยืนของทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต และลดต้นทุนในระยะยาว

การผลิตแบบ Eco Design สามารถเกิดขึ้นได้กับสินค้าทุกหมวดหมู่ ตั้งแต่เครื่องครัว เครื่องใช้ไฟฟ้า ไปจนถึงเครื่องประดับต่างๆ

eco-design-the-design-that-more-than-beauty

Eco Design ที่ดีต้องมีอะไรบ้าง

1.ใช้วัสดุน้อย
Eco Design ควรมีการใช้วัสดุน้อยประเภทเพื่อการจัดการรีไซเคิลที่ง่าย สะดวก รวมถึงลดพลังงานในการผลิต

2.รีไซเคิลง่าย
การออกแบบควรมีการคิดถึงกระบวนการรีไซเคิล ตลอดจนการกำจัดรูปแบบอื่นหากไม่สามารถรีไซเคิลได้ เพื่อสร้าง Ecosystem หรือวัฏจักรของ Eco Design ได้อย่างสมบูรณ์

3.สามารถใช้งานได้คุ้มค่า
Eco Design ที่ดีไม่ใช่อุปกรณ์ที่ใช้งานประเดี๋ยวประด๋าว ใช้แล้วทิ้ง ไม่นานก็พัง แต่เป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้อย่างคุ้มค่า คุ้มราคา หลังจากใช้เสร็จก็สามารถนำไปรียูสเพื่อใช้ใหม่ได้

4.มีการใช้งานวัสดุที่ดีกับโลก
Eco Design ควรใช้วัสดุประเภท วัสดุชีวภาพ (biomaterials) หรือวัสดุอื่นๆ ที่สามารถหาได้ง่าย ไม่เป็นพิษกับโลก และมีวิธีการจัดการที่ง่ายในครัวเรือน

5.กระบวนการผลิตไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
ในกระบวนการผลิตสินค้าที่มีการออกแบบเพื่อโลก ต้องไม่ใช้พลังงานสูงมากเกินไปหรือใช้สารเคมีให้ก่อเกิดผลพิษ มิเช่นนั้นการใช้ Eco Design ก็ไร้ความหมาย

eco-design-the-design-that-more-than-beauty

ข้อดีของการใช้งาน Eco Design

1.ลดผลเสียที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม
การใช้งานวัสดุที่ดีกับโลก คำนึงถึงกระบวนการผลิตและการจัดการ จะส่งผลในแง่ดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีการปล่อยมลพิษ ใช้วัสดุน้อยชนิด ทำให้ไม่ต้องทำลายธรรมชาติมาก

2.ลดการใช้พลังงานในการผลิต
เมื่อมี Eco Design ดี การใช้พลังงานในการผลิตทั้งหมดย่อมลดลงอย่างไม่ต้องสงสัย ช่วยลดทรัพยากรพลังงานในภาพรวม และทำให้มีพลังงานเหลือใช้มากขึ้น

3.เกิดผลงานที่มีคุณภาพมากขึ้น
เมื่อมีการคิดและออกแบบอย่างครบวงจร ย่อมก่อให้เกิดการแข่งขัน มีผลงานคุณภาพ สวยงาม ตามกระแสความนิยม

4.สร้างอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน
Eco Design คือความยั่งยืน และการออกแบบที่ดีย่อมทำให้เกิดการดีไซน์ที่ดีต่อกันเรื่อยๆ กลายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ใช้พลังงานต่ำ ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ทำให้ได้รับความนิยมจากผู้รักสิ่งแวดล้อม และส่งผลดีในระยะยาว

5.ทำให้ตลาดเปิดกว้างมากขึ้น
เมื่อ 1 เจ้าประสบความสำเร็จ ย่อมมีผู้ทำตามมาเรื่อยๆ และสร้าง Ecosystem ขนาดมหึมาได้ในที่สุด และจะส่งผลให้ตลาดของ Eco Design นั้นเปิดกว้าง สร้างมูลค่าได้อย่างยั่งยืน

eco-design-the-design-that-more-than-beauty

การผสานธุรกิจร่วมกับการออกแบบอย่างยั่งยืน

สำหรับการประยุกต์ใช้งาน Eco Design ในธุรกิจอย่างจริงจัง อาจไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้รวดเร็วนัก เนื่องจากมี 2 ประเด็นหลักที่แม้แต่ในระดับสากลยังไม่อาจทำได้เต็มที่ นั่นคือส่วนของการสร้าง Ecosystem ให้รองรับ Eco Design และการดำเนินการใช้งาน Eco Design อย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่โครงการเพียงชั่วครั้งชั่วคราว

การสร้าง Ecosystem

การออกแบบอาจจะดี แต่ถ้า Ecosystem นั้นไม่ดี การทำงานของ Eco Design ก็ไม่อาจครบถ้วนตามที่ควรจะเป็น ดังนั้นการเริ่มต้นใช้งาน Eco Design ควรคำนึงถึงวงจร (Loop) การใช้งาน ว่าบริษัทมีการสร้างอย่างไร ใช้วัตถุดิบประเภทไหน ขนส่งอย่างไร เข้าถึงผู้คนจำนวนมากได้หรือไม่ และผู้คนเหล่านั้นสามารถจำกัดสิ่งที่ถูกสร้างด้วย Eco Design ได้อย่างที่ควรจะเป็นหรือเปล่า โดยต้องรับผิดชอบและคิดเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจด้วย เช่น การตั้งระบบรับฝาก รับทิ้ง หรือคำแนะนำในการรีไซเคิลอุปกรณ์เมื่อใช้งานเสร็จหรือหมดอายุการใช้งาน

Eco Design ที่ไม่ใช่แค่กระแส

กระแสของอุปกรณ์ ของใช้รักษ์โลกเป็นสิ่งที่มักพบได้ในปี 2021 แต่การทำงานด้วย Eco Design ไม่ควรเป็นเรื่องไปไว มาไว แต่เป็นสิ่งที่ต้องคิดถึงความยั่งยืน (Sustainability) และสามารถใช้งานได้ระยะยาวแม้ว่ากระแสต่างๆ จะซาไปมากขนาดไหน ยิ่งไปกว่านั้นควรมีระบบรองรับที่เป็นผลดีกับทั้งตัวบริษัทและผู้ใช้งานด้วย เช่น บริษัทจะสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้ด้วยการรีไซเคิลจากผลิตภัณฑ์ใช้แล้วของตนเอง เป็นต้น

สรุป

การใช้งาน Eco Design เป็นการออกแบบที่ต้องคำนึงอย่างครบวงจรตั้งแต่แรกเริ่มการผลิต จนถึงสิ้นสุดการกำจัด เพื่อสร้าง Ecosystem ที่สมบูรณ์ และสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ทางผู้ใช้งาน Eco Design จึงต้องคำนึงถึงแผนการระยะยาว เพื่อให้การดีไซน์ของคุณสมบูรณ์แบบมากที่สุด

PTT_ebook-EV

  • SUBSCRIBE TO BE
    THE FIRST INNOVATOR.

logo