Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

Digital Twin กับประโยชน์ในการจำลองโมเดลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

SHARE

Digital Twin เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญของยุค Industry 4.0 ที่สามารถสร้างแบบจำลองและให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการผลิตทั้งหมด ปัจจุบัน อุตสาหกรรมต่างๆ จึงเริ่มใช้ประโยชน์จาก Digital Twin กันมากขึ้น เพราะเป็นวิธีที่คุ้มค่าในการสร้างต้นแบบเพื่อทดสอบ วิเคราะห์ และประเมินผลการจำลองโมเดล ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้น

บทความนี้ PTT ExpresSo จะพาไปทำความรู้จักว่า Digital Twin คืออะไร? ใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตได้อย่างไร? พร้อมตัวอย่างการใช้ Digital Twin ในอุตสาหกรรมยานยนต์

Digital Twin คืออะไร?

Digital Twin คือ การสร้างแบบจำลองเสมือนของวัตถุหรือกระบวนการต่างๆ บนโลกแห่งความเป็นจริงให้ออกมาเป็นรูปแบบดิจิทัล พร้อมใส่กลไกการทำงานเชื่อมต่อกับวัตถุจริง ทำให้สามารถเก็บข้อมูลต่างๆ ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อนำข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาใช้จำลองความเป็นไปได้ในการทำงานเพื่อลดความผิดพลาด ใช้ประกอบการตัดสินใจในการทำงาน รวมถึงใช้ในการปรับปรุงระบบต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น  

โดยทั่วไป Digital Twin มี 3 ประเภท ได้แก่

  1. ประเภท Product: ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่
  2. ประเภท Production: ใช้ตรวจสอบกระบวนการผลิต
  3. ประเภท Performance: ใช้รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และตัดสินใจเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต 

 

ถ้ามีการบูรณาการระหว่าง Digital Twin ทั้ง 3 ประเภทนี้จะเรียกว่า Digital Thread ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วยการรวบรวมข้อมูลในทุกขั้นตอนของผลิตภัณฑ์และวงจรการผลิต

เนื่องจาก Digital Twin มีต้นทุนต่ำกว่าการสร้างต้นแบบจริง จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้อุตสาหกรรมต่างๆ เข้าใจกระบวนการผลิตที่ซับซ้อน ตลอดจนการดำเนินงานและการตอบสนองในทุกขั้นตอน ด้วยแบบจำลองเสมือนที่สามารถรวบรวมข้อมูลและทดสอบซ้ำได้หลายพันครั้งผ่านซอฟต์แวร์ ซึ่งจะช่วยค้นหาโซลูชันการผลิตที่เหมาะสม ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุดได้ดียิ่งขึ้น

Digital Twin ใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตได้อย่างไร?

1. ปรับปรุงการออกแบบระบบ

โรงงานสามารถใช้ Digital Twin ในการวางแผนและทดสอบสายการผลิตใหม่ พร้อมค้นหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและพื้นที่ที่ควรปรับให้เหมาะสมก่อนสร้างระบบทางกายภาพ เทคนิคการสร้างภาพจำลองด้วย Digital Twin ทำให้มองเห็นปัญหาได้ชัดเจน วางแผนการทำงานได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดทั้งเวลาและเงินทุน

2. การทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่

ก่อนหน้านี้ ทีมวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) ต้องใช้เวลาทดลองและตรวจสอบข้อผิดพลาดอย่างยาวนาน เพื่อคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมให้ดีขึ้น แต่ด้วยเทคโนโลยี Digital Twin ทำให้ผู้ผลิตสามารถทดสอบการตั้งค่าระบบ รวมทั้งการจำลองสถานการณ์ต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็วโดยไม่จำเป็นต้องผลิตจริง จึงช่วยลดความเสี่ยงจากการคำนวณที่ผิดพลาดซึ่งจะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นตามไปด้วย

3. การตรวจสอบและการบำรุงรักษาเครื่องจักร

โดยปกติ ทีมงานฝ่ายผลิตจะรวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับเครื่องจักรเป็นประจำอยู่แล้ว เช่น ระดับความชื้น การเคลื่อนไหว การสั่นสะเทือน ฯลฯ แต่ในปัจจุบัน เพียงแค่มีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ IoT (Internet of Things) กับเทคโนโลยี Digital Twin ก็สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านมุมมองที่ครอบคลุมของระบบได้ในทันที รวมทั้งการตรวจสอบความผิดปกติของการใช้งาน หรือปัญหาของเครื่องจักรที่ไม่คาดคิดและอาจสังเกตเห็นได้ยาก จึงช่วยให้ทีมงานได้รับทราบและหาทางป้องกันล่วงหน้า ก่อนที่จะเกิดปัญหาจนทำให้กระบวนการผลิตต้องหยุดชะงักหรือเกิดอันตรายกับผู้ใช้งาน

ตัวอย่างการใช้ Digital Twin ในอุตสาหกรรมยานยนต์

บริษัทยานยนต์ชั้นนำอย่าง Porsche, BMW และแบรนด์อื่นๆ กำลังพัฒนารถยนต์แห่งอนาคตด้วยเทคโนโลยี Digital Twin ทำให้ตอนนี้บริษัทต่างๆ สามารถจำลองโมเดลต้นแบบได้ทุกประเภทโดยไม่ต้องใช้ต้นทุนสูงเหมือนแต่ก่อน

นอกจากนี้ เครื่องมือสร้างแบบจำลอง Digital Twin อย่าง CAD (Computer Aided Design) หรือโปรแกรมออกแบบ 3D ต่างๆ ยังได้รับการพัฒนาให้สามารถ Render ได้ในทันที จึงเหมาะกับการใช้ทดสอบประสิทธิภาพผ่านสถานการณ์จำลอง รวมถึงการปรับเปลี่ยนกลไกเชิงฟิสิกส์ เช่น การศึกษาว่ารถยนต์จะวิ่งในภูมิประเทศที่แตกต่างกันเป็นอย่างไร

ไม่เพียงแค่นั้น บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ยังสามารถใช้ Digital Twin เพื่อออกแบบระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ด้วยข้อมูลระบบเซ็นเซอร์อัจฉริยะที่ผ่านการสังเคราะห์ข้อมูล และจำลองรายละเอียดของสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในทุกรูปแบบ ซึ่งจำเป็นต่อการทดสอบตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในการพัฒนายานพาหนะที่สามารถตอบสนองได้อย่างแม่นยำ แม้ไม่มีคนขับอยู่ด้วย

สรุป

ตัวอย่างข้างต้นเป็นเพียงแง่มุมหนึ่งของการใช้ Digital Twin ในอุตสาหกรรมยานยนต์เท่านั้น เพราะปัจจุบัน Digital Twin ได้เข้าไปมีบทบาทเกือบทุกอุตสาหกรรม มีการใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อจำลองรูปแบบการจราจร การวิจัยทางการแพทย์ การทดลองทางคลินิก หรือแม้แต่การออกแบบและฝึกฝนโมเดลจำลองจากเทคโนโลยี AI

จะเห็นได้ว่า Digital Twin สามารถใช้ประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กับธุรกิจได้หลากหลาย อีกทั้งยังเป็นเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตด้วย ดังนั้น อาจถึงเวลาแล้วที่อุตสาหกรรมการผลิตต้องเริ่มปรับตัวและนำ Digital Twin ไปประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจในยุค Industry 4.0

 

ติดตามข่าวสารและคอนเทนต์ดีๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อมที่คุณไม่ควรพลาด

ได้ที่ Facebook PTT ExpresSo

 

New call-to-action

Quantum Computing กับอนาคตของวงการยานยนต์ไฟฟ้า

SHARE

Quantum Computing เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่น่าสนใจและแสดงให้เห็นถึงการเติบโตทางวิทยาศาสตร์แบบก้าวกระโดด ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเริ่มติดตามการพัฒนาเหล่านี้ เนื่องจาก Quantum Computing มีแนวโน้มที่จะช่วยปรับปรุงด้านการคำนวณและเพิ่มขีดความสามารถที่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการผลิตและแก้ไขปัญหาให้กับธุรกิจต่างๆ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในวงการยานยนต์ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

บทความนี้ PTT ExpresSo จะพาไปทำความรู้จักว่า Quantum Computing คืออะไร? พร้อมแนวทางการใช้ Quantum Computing กับวงการยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

Holding quantum computing concept with qubit icon.

Quantum Computing คืออะไร?

Quantum Computing คือ การคำนวณที่เกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ตามหลักการของทฤษฎีควอนตัมที่ควบคุมคุณสมบัติโดยรวมของสถานะควอนตัม เช่น การซ้อนทับ การรบกวน และการพัวพัน เพื่อสร้างวิธีการคำนวณแบบใหม่

จากเดิมคอมพิวเตอร์แบบคลาสสิกที่เราใช้กันทั่วไปถูกจำกัดให้เข้ารหัสข้อมูลเป็น Bit ที่มีค่า 1 หรือ 0 เท่านั้น แต่คอมพิวเตอร์ควอนตัมใช้ Qubit ซึ่งควบคุมความสามารถพิเศษของอนุภาคย่อยให้มีอยู่ได้มากกว่าหนึ่งสถานะ เช่น 1 และ 0 ในเวลาเดียวกัน จึงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยความเร็วสูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปแบบทวีคูณแต่ใช้พลังงานน้อยกว่ามาก นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์หรือจำลองข้อมูลขนาดใหญ่ได้อีกด้วย

แนวทางการใช้ Quantum Computing กับวงการยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

แม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่มีการพัฒนา Quantum Computing มาใช้ในเชิงพาณิชย์ แต่ก็มีแนวโน้มว่าในอนาคต บริษัทผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่าของวงการยานยนต์ไฟฟ้าจะสามารถใช้ประโยชน์จาก Quantum Computing ในด้านต่างๆ เช่น โซลูชันไฮบริดที่มีคลัสเตอร์ HPC (High Performance Computing) ซึ่งต้องอาศัยการประมวลผลสมรรถนะสูงเพื่อช่วยแก้ปัญหาเฉพาะด้าน

ต่อไปนี้ คือ ตัวอย่างแนวทางที่บริษัทผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงการยานยนต์ไฟฟ้าสามารถนำ Quantum Computing ไปประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต

Holding quantum computing concept with qubit icon.

ซัพพลายเออร์ (Supplier)

ซัพพลายเออร์ ‘Tier n’ หรือบริษัทผู้ส่งมอบเริ่มต้นซึ่งอยู่ลำดับแรกสุดในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดหาวัตถุดิบโดยใช้อัลกอริทึมที่พัฒนาผ่าน Quantum Computing รวมทั้งการใช้งานรูปแบบอื่นๆ เช่น การปรับปรุงการจัดเก็บพลังงาน การออกแบบเครื่องกำเนิดพลังงาน การพัฒนาระบบทำความเย็น เป็นต้น

นอกจากนี้ Quantum Computing ยังช่วยให้ซัพพลายเออร์ปรับแต่งคุณสมบัติด้านการเคลื่อนไหวของวัสดุ เช่น การใช้โครงสร้างน้ำหนักเบา การจำลองกระบวนการทางเคมีและพลศาสตร์ของไหลเพื่อให้ได้รับข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญด้วย

ธุรกิจจัดการคลังสินค้า การจัดจำหน่าย และการจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain)

Quantum Computing สามารถปรับปรุงการจัดการคลังสินค้า การจัดจำหน่าย การขนส่ง และการจัดการ ซัพพลายเชนได้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพในการกำหนดเส้นทางของหุ่นยนต์คลังสินค้า หรือเพิ่มความแม่นยำในการพยากรณ์ความต้องการไปยังซัพพลายเออร์ ‘Tier n’ โดยจำลองสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนได้เป็นอย่างดี

โรงงานรับผลิตสินค้า OEM (Original Equipment Manufacturer)

โรงงาน OEM ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าสามารถใช้ Quantum Computing ในการออกแบบยานยนต์เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เช่น การลดแรงต้านและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ Quantum Computing เพื่อจำลองสถานการณ์ขั้นสูงในพื้นที่ต่างๆ เช่น พฤติกรรมการชนของรถและฉนวนกันเสียงในห้องโดยสาร รวมทั้งการฝึกฝนอัลกอริทึมที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ขับขี่อัตโนมัติ ด้วยศักยภาพของ Quantum Computing ช่วยลดเวลาในการประมวลผลจากหลายสัปดาห์ให้เหลือเพียงไม่กี่วินาที โรงงาน OEM จึงสามารถรับประกันเรื่องการสื่อสารระหว่างยานยนต์ไฟฟ้าได้แทบจะเรียลไทม์หรือทันทีทันใด

ตัวแทนจำหน่ายและศูนย์ซ่อม

ตัวแทนจำหน่ายและศูนย์ซ่อมยานยนต์ไฟฟ้าสามารถใช้ Quantum Computing เพื่อสนับสนุนการฝึกฝนอัลกอริทึมด้วย Machine Learning ซึ่งจะช่วยปรับปรุงซอฟต์แวร์การบำรุงรักษาในเชิงคาดการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

บริษัทผู้ให้บริการ (Service Provider)

บริษัท Service Provider สามารถใช้ Quantum Computing เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกำหนดเส้นทางของยานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งการช่วยเหลือผู้ให้บริการด้านคมนาคมขนส่งในการจำลองสถานการณ์หรือเส้นทางที่ซับซ้อน เพื่อช่วยให้พวกเขาคาดการณ์ได้ว่า พฤติกรรมและความต้องการของผู้ขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้าแตกต่างกันตามภูมิศาสตร์อย่างไร

สรุป

ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า Quantum Computing จะยังไม่สามารถใช้งานเชิงพาณิชย์ในธุรกิจส่วนใหญ่เป็นเวลาอย่างน้อยสิบปี แต่บริษัทต่างๆ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจำเป็นต้องติดตามความก้าวหน้าและทำความเข้าใจทางเลือกทั้งหมดเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้ โดยมองหาโอกาสและความเป็นไปได้สำหรับการลงทุนหรือการร่วมทุนทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อขยายขีดความสามารถหลักของธุรกิจในวงการยานยนต์ไฟฟ้าและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในโลกอนาคต

ติดตามข่าวสารและคอนเทนต์ดีๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อมที่คุณไม่ควรพลาด

 

ได้ที่ Facebook PTT ExpresSo

New call-to-action

รวมเทคโนโลยีสีเขียวช่วยบ้านประหยัดพลังงาน

SHARE

เป้าหมายของเทคโนโลยีสีเขียว คือ การปกป้องสิ่งแวดล้อมและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ก่อนหน้านี้ ทั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ บริษัทจำนวนมากเริ่มตั้งเป้าหมายที่จะดำเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับผู้คนในระดับครัวเรือนที่พยายามนำเทคโนโลยีสีเขียวมาปรับใช้เพื่อให้บ้านประหยัดพลังงานมากขึ้น

บทความนี้ PTT ExpresSo ได้รวมตัวอย่างเทคโนโลยีสีเขียวที่จะทำให้บ้านของคุณประหยัดพลังงานและค่าไฟฟ้า แถมยังช่วยให้โลกน่าอยู่ขึ้นอีกด้วย

green technology

7 เทคโนโลยีสีเขียวช่วยบ้านประหยัดพลังงาน

ในชีวิตประจำวัน เราทุกคนจำเป็นต้องใช้พลังงานภายในบ้านจำนวนมากทั้งในรูปแบบของระบบทำความเย็นและความร้อน น้ำประปา รวมไปถึงการใช้ไฟฟ้า ต่อไปนี้คือตัวอย่างเทคโนโลยีสีเขียว 7 รูปแบบที่สามารถประยุกต์ใช้กับบ้านของคุณเพื่อสร้างสรรค์ไลฟ์สไตล์ที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

1. แผงโซลาร์เซลล์

แผงโซลาร์เซลล์เป็นการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับบ้านของคุณ แผงโซลาร์เซลล์สมัยใหม่มีการออกแบบที่ทันสมัย ประสิทธิภาพสูงขึ้นและราคาถูกกว่ารุ่นก่อน สามารถติดตั้งได้เกือบทุกจุดของบ้านที่มีแสงแดดส่องถึงโดยจะติดตั้งเองหรือจ้างคนมาติดตั้งให้ก็ได้ หลังจากนั้น คุณจะได้รับประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ช่วยทดแทนการใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นและช่วยประหยัดค่าไฟในระยะยาว จึงเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับความต้องการด้านพลังงานภายในบ้านของทุกคน

2. ถังเก็บน้ำฝน

ถังเก็บน้ำฝนเป็นเทคโนโลยีของระบบเก็บน้ำฝนที่เชื่อมต่อกับชั้นดาดฟ้า น้ำที่สะสมไว้สามารถใช้เช็ดล้างทำความสะอาดบ้านหรือชักโครก นอกจากนี้ ยังเป็นประโยชน์อย่างมากหากคุณมีสวนหลังบ้าน เพราะสามารถใช้น้ำฝนรดต้นไม้แทนน้ำประปาผ่านทางก๊อกน้ำที่ด้านล่างของถังได้ทุกเมื่อที่ต้องการ จึงช่วยให้คุณประหยัดเงินค่าน้ำประปาได้มากขึ้นอีกด้วย

3. เครื่องทำน้ำอุ่นพลังงานแสงอาทิตย์

เครื่องทำน้ำอุ่นทั่วไปใช้ไฟฟ้าหรือก๊าซธรรมชาติเพื่อทำความร้อนให้กับน้ำ ทุกครั้งที่คุณใช้เครื่องทำน้ำอุ่นจึงหมายถึงพลังงานและเงินที่ต้องสูญเสียไป ในขณะที่เครื่องทำน้ำอุ่นพลังงานแสงอาทิตย์ใช้หลักการรวบรวมพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์เพื่อให้ความร้อนกับน้ำ โดยน้ำอุ่นที่ได้จะถูกเก็บไว้ในถังที่มีฉนวนเหมือนเครื่องทำน้ำอุ่นทั่วไปจนกว่าคุณจะเปิดใช้งาน แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการติดตั้งจะแพงกว่าเครื่องทำน้ำอุ่นแบบเดิม แต่ช่วยประหยัดค่าไฟในระยะยาวได้ 50-80% จึงถือเป็นวิธีลดต้นทุนด้านพลังงานอย่างยั่งยืน

green technology

4. โถสุขภัณฑ์แบบคู่

รู้หรือไม่ว่าโถชักโครกทั่วไปใช้น้ำเฉลี่ย 4.8 ลิตรต่อครั้ง ทำให้เป็นหนึ่งในจุดสิ้นเปลืองน้ำที่ใหญ่ที่สุดของบ้าน อย่างไรก็ตาม คุณสามารถลดการใช้น้ำได้ด้วยการติดตั้งโถสุขภัณฑ์ระบบโลว์ฟลัชแบบคู่ ซึ่งจะช่วยให้คุณกดเลือกปริมาณน้ำที่เหมาะสมต่อการชำระล้างชักโครกในครั้งเดียว วิธีนี้นอกจากจะช่วยประหยัดน้ำยังลดค่าน้ำประปาให้กับบ้านของคุณได้อีกด้วย ทั้งนี้ คุณไม่จำเป็นต้องอัปเกรดระบบประปาภายในบ้านเพื่อติดตั้งโถสุขภัณฑ์แบบคู่ แต่อาจต้องจ้างช่างประปาให้ดำเนินการติดตั้งแทนคุณ

5. ฉนวนกันความร้อนจากวัสดุธรรมชาติ

ฉนวนกันความร้อนเป็นกุญแจสำคัญของการสร้างบ้านประหยัดพลังงานที่ยั่งยืน ปัจจุบัน มีฉนวนที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติหลายอย่าง เช่น ขนแกะ แฟลกซ์ (Flax) ป่าน เส้นใยไม้ หรือฉนวนเซลลูโลสที่มีสารประกอบอินทรีย์ต่ำซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เพราะผลิตจากทรัพยากรหมุนเวียน สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิล รวมทั้งย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ

6. รางปลั๊กไฟอัจฉริยะ

หลายคนมักเสียบปลั๊กอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้บ่อยทิ้งไว้เพื่อความสะดวก แต่รู้หรือไม่ว่าการกดปิดเครื่องไว้โดยไม่ดึงปลั๊กออก อุปกรณ์จะยังคงใช้พลังงานไฟฟ้าอยู่แม้จะเข้าสู่โหมดสแตนด์บายแล้วก็ตาม

รางปลั๊กไฟอัจฉริยะจึงถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ควบคุมการตัดกระแสไฟฟ้า หากคุณใช้ปลั๊กพ่วงภายในบ้านอยู่แล้ว เพียงแค่เปลี่ยนแถบเหล่านั้นด้วยรางปลั๊กไฟอัจฉริยะ เมื่อคุณกดปิด รางปลั๊กไฟอัจฉริยะจะตัดกระแสไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ทั้งหมดที่อยู่บนแถบดังกล่าว จึงช่วยประหยัดเงินค่าไฟ ลดการใช้พลังงานและยังรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย

7. เครื่องควบคุมอุณหภูมิอัจฉริยะ

การลงทุนด้านเทคโนโลยีสีเขียวที่ยอดเยี่ยมอีกอย่างหนึ่งสำหรับบ้านของคุณ คือ เครื่องควบคุมอุณหภูมิอัจฉริยะ ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งกับภูมิภาคที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในหลายฤดูกาลที่อาจส่งผลให้ค่าไฟแพงขึ้น และต้องคอยปรับอุณภูมิภายในบ้านแทบทุกวัน

เครื่องควบคุมอุณหภูมิอัจฉริยะจะช่วยปรับอุณหภูมิในบ้านของคุณให้เหมาะสมโดยอัตโนมัติและลดการสิ้นเปลืองพลังงาน เพราะสามารถตั้งค่าโปรแกรมเพื่อควบคุมอุณหภูมิห้องให้ไม่ร้อนหรือหนาวเย็นเกินไปในระหว่างวันที่คุณไม่อยู่ โดยจะเริ่มทำงานทันทีตั้งแต่คุณออกจากบ้านจนกระทั่งกลับถึงบ้าน

สรุป

แม้ว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจะไม่สามารถย้อนกลับไปสู่จุดเดิมได้ แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีสีเขียวที่ช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ให้เลวร้ายไปมากกว่านี้ คุณไม่จำเป็นต้องใช้เงินมากมายเพื่อทำให้บ้านของคุณเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อาจเริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนแปลงง่ายๆ เช่น การถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้งานหรือใช้รางปลั๊กไฟอัจฉริยะ การแยกถังขยะรีไซเคิล เมื่อมีความพร้อมมากขึ้นค่อยเพิ่มนวัตกรรมอื่นๆ ที่มีราคาสูงขึ้น เช่น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์และระบบหรือถังเก็บน้ำฝน ซึ่งการลงทุนในเทคโนโลยีสีเขียวเหล่านี้จะช่วยให้คุณประหยัดเงินและพลังงาน รวมทั้งเป็นหนทางไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในอนาคต

ติดตามข่าวสารและคอนเทนต์ดีๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อมที่คุณไม่ควรพลาด

ได้ที่ Facebook PTT Expresso

 

New call-to-action

Industry 4.0: ยุคแห่งอุตสาหกรรมดิจิทัล

SHARE

เรากำลังอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลก อันเนื่องมาจากการเติบโตแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามามีบทบาทในแวดวงอุตสาหกรรมมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตที่ชาญฉลาดและทันสมัยยิ่งกว่าเดิม จนได้รับการขนานนามว่าเป็นยุคแห่งอุตสาหกรรมดิจิทัลหรือ Industry 4.0 นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม Industry 4.0 ไม่ใช่แค่การลงทุนในเทคโนโลยีและเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปฏิวัติวิธีดำเนินงานและการพัฒนาทักษะที่จำเป็นให้แก่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมด้วย เพราะมีแค่ธุรกิจที่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและเล็งเห็นถึงข้อได้เปรียบเท่านั้นที่จะสามารถปรับตัวและยืนหยัดอยู่เหนือคู่แข่ง พร้อมรับมือกับทุกความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้าได้

กว่าจะเป็น Industry 4.0 มีวิวัฒนาการอย่างไร และเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อน Industry 4.0 มีอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ

บทความ industry 4.0

วิวัฒนาการของอุตสาหกรรมจาก Industry 1.0 ถึง 4.0

ก่อนจะถึงยุค Industry 4.0 โลกของเราผ่านการปฏิวัติอุตสาหกรรมมาแล้วถึง 3 ครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 คือ จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนวิธีการผลิตจากแรงงานคนและสัตว์มาเป็นเครื่องจักรที่ใช้พลังงานไอน้ำและพลังงานน้ำ
  • การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 คือ การปฏิวัติทางเทคโนโลยีด้วยพลังงานไฟฟ้า ทำให้โรงงานสามารถพัฒนาสายการผลิตที่ทันสมัย เพิ่มผลผลิตได้อย่างมหาศาล ถือเป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกเติบโตอย่างยิ่งใหญ่
  • การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 คือ การปฏิวัติดิจิทัลที่เกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาดิจิทัลขั้นสูง มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารในกระบวนการผลิตแทนที่แรงงานมนุษย์ด้วยระบบอัตโนมัติซึ่งมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ Industry 4.0 คือ ยุคแห่งอุตสาหกรรมดิจิทัลที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อฐานข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการผลิตและบริการ ทำให้โรงงานมีกระบวนการผลิตที่ชาญฉลาดมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีต่างๆ เช่น Internet of Things ปัญญาประดิษฐ์ และระบบ Automation ที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเองตามโปรแกรมที่มนุษย์ควบคุมผ่านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการพัฒนาเครื่องจักรให้สามารถผลิตชิ้นส่วนขนาดเล็กได้อย่างแม่นยำ จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการผลิตได้มากขึ้น

เทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อน Industry 4.0

บทความ industry 4.0

Internet of Things (IoT)

Internet of Things (IoT) เป็นองค์ประกอบสำคัญของ Smart Factory ในยุค Industry 4.0 โดยเครื่องจักรในโรงงานจะมีการติดตั้งเซ็นเซอร์อัจฉริยะพร้อมระบุที่อยู่ IP จึงช่วยให้เครื่องจักรเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งกลไกเหล่านี้ทำให้สามารถรวบรวม วิเคราะห์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสายการผลิตจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งเชื่อมต่อกับเครือข่ายธุรกิจ อีกทั้ง Supply Chain ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Cloud Computing

การประมวลผลแบบ Cloud Computing เป็นรากฐานสำคัญของ Industry 4.0 เพราะช่วยเชื่อมต่อความต้องการทั้งด้านการผลิต การบูรณาการด้านวิศวกรรม Supply Chain การขายและการบริการให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ข้อมูลจำนวนมากที่จัดเก็บไว้บนระบบ Cloud ยังสามารถนำมาใช้วิเคราะห์และประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะกับเจ้าของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่ต้องการควบคุมค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับการใช้งานและการเติบโตของธุรกิจในแต่ละช่วงได้

AI และ Machine Learning

AI และ Machine Learning ช่วยให้ทุกธุรกิจใช้ประโยชน์จากปริมาณข้อมูลที่สร้างขึ้นได้อย่างเต็มที่ ไม่จำกัดแค่ในโรงงานเท่านั้น เพราะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ช่วยในการคาดการณ์และวางแผนระบบอัตโนมัติให้กับการดำเนินงานทางธุรกิจและกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม เช่น การใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากสินทรัพย์ประเภทต่างๆ รวมถึงข้อมูลรูปแบบการใช้งานของแต่สินทรัพย์ มาคาดการณ์ด้วยการสร้างอัลกอริธึมให้ระบบเกิดการเรียนรู้โดยสามารถระบุช่วงเวลาที่สินทรัพย์นั้นๆ มีแนวโน้มที่จะพังระหว่างกระบวนการดำเนินงานได้ ช่วยให้ธุรกิจวางแผนบำรุงรักษาเครื่องจักรได้ล่วงหน้า ป้องกันปัญหาและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

Augmented Reality (AR)

เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) รองรับการใช้งานได้หลากหลาย เช่น การเลือกชิ้นส่วนในคลังสินค้าและการส่งคำแนะนำการซ่อมแซมผ่านอุปกรณ์พกพา ทำให้บริษัทต่างๆ สามารถแจ้งข้อมูลแบบทันทีหรือเรียลไทม์ให้แก่พนักงาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการตัดสินใจแก้ปัญหาและวางแผนขั้นตอนการทำงานล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Cybersecurity

การโจมตีทางไซเบอร์ที่พบบ่อยที่สุดและมีผลกระทบต่อเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน (Operational Technology: OT) ได้แก่ Malware Phishing Spyware และการละเมิดความปลอดภัยของอุปกรณ์เคลื่อนที่ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ Industry 4.0 จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงแนวทางการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ครอบคลุมทั้งอุปกรณ์ IT และ OT ด้วยการวางระบบ Cybersecurity เพื่อช่วยป้องกันโรงงานและสายการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ปลอดภัยจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่เป็นอันตราย และอาจทำให้กระบวนการผลิตต้องหยุดชะงักหรือเกิดความเสียหาย

Digital Twin

การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของ Industry 4.0 ทำให้ผู้ผลิตสามารถสร้าง Digital Twin หรือแบบจำลองเสมือนของกระบวนการผลิตในโรงงานและ Supply Chain โดยดึงข้อมูลจากเซ็นเซอร์ IoT อุปกรณ์ Programmable Logic Control (PLC) และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ผู้ผลิตสามารถใช้ Digital Twin เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิต ปรับปรุง Workflow และออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยการจำลองกระบวนการผลิต หรือใช้ทดสอบการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการเพื่อหาวิธีลดเวลาหยุดทำงานและปรับปรุงกำลังการผลิต

สรุป

Industry 4.0 คือยุคสมัยใหม่ของการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เน้นการเชื่อมต่อระหว่างกันของเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญ เช่น Internet of Things (IoT), Cloud Computing, AI, AR, Machine Learning, Cybersecurity และ Digital Twin เพื่อใช้เทคโนโลยีต่างๆ สร้าง Smart Factory ที่มีกระบวนการผลิตอัจฉริยะ พร้อมสร้างระบบนิเวศแบบองค์รวมและการเชื่อมต่อทางเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นด้านการผลิตและการจัดการ Supply Chain

ปัจจุบัน Industry 4.0 ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทุกบริษัทต้องเผชิญกับความท้าทายในการปรับเปลี่ยนทั้งด้านกระบวนการผลิต การทำงานร่วมกับคู่ค้า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการ และบุคลากร นับจากนี้ บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินงาน และเพิ่มพูนทักษะของพนักงานให้สอดคล้องกับ Industry 4.0 ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสและการเติบโตให้กับธุรกิจในยุคแห่งอุตสาหกรรมดิจิทัลได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ติดตามข่าวสารและคอนเทนต์ดีๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อมที่คุณไม่ควรพลาด

ได้ที่เพจเฟซบุ๊ก PTT Expresso

New call-to-action

5 บทบาทสำคัญของเทคโนโลยี AI ในโลกธุรกิจ

SHARE

บทความ เทคโนโลยี Ai

เทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องล้าสมัยที่ควรมองข้าม โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพและ (ว่าที่) สตาร์ทอัพทั้งหลาย เนื่องจาก AI ยังคงมีวิวัฒนาการรุดหน้าอย่างต่อเนื่องและอยู่ในชีวิตประจำวันของเราหลากหลายรูปแบบ

ปัจจุบัน บริษัทต่างๆ ได้นำเทคโนโลยี AI ไปใช้กันมากขึ้นเพื่อเพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ รวมทั้งปรับปรุงการดำเนินงานของบริษัทให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เรียกได้ว่าเป็นยุคทองของ AI หนึ่งในเทคโนโลยีที่ทรงอิทธิพลแห่งยุคสมัย

เทคโนโลยี AI นั้นสำคัญไฉน

เทคโนโลยี AI คืออะไร

AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เกิดจากการวิจัยและพัฒนาระบบสมองกลของคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถในการเรียนรู้ข้อมูล รูปภาพ ภาษา การจดจำรูปแบบ การคิดวิเคราะห์ ตลอดจนคาดการณ์และตอบสนองสิ่งต่างๆ ได้แบบเดียวกับสมองของมนุษย์ แต่เพิ่มขีดความสามารถให้มีความฉลาดล้ำยิ่งขึ้น เพื่อช่วยจัดการปัญหาที่มีความซับซ้อนหรือทำงานซ้ำซากต่างๆ แทนมนุษย์ได้ในเวลารวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ความสำคัญของเทคโนโลยี AI ในบริบทของโลกธุรกิ

เนื่องจากโลกปัจจุบันเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารจำนวนมหาศาล รวมถึงความต้องการของลูกค้าที่มีความซับซ้อนและพร้อมเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา กระบวนการทางธุรกิจและลักษณะงานในศตวรรษที่ 21 จึงมีความยุ่งยากและท้าทายมากขึ้น จำเป็นต้องใช้ความรู้และทักษะขั้นสูงซึ่งศักยภาพของมนุษย์อาจมีขีดจำกัด ทำให้การดำเนินงานไม่มีประสิทธิภาพมากพอต่อการแข่งขัน และมีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้ง่าย

เมื่อบริษัทต่างๆ ไม่สามารถพึ่งพาแค่เทคโนโลยีดั้งเดิมในการทำธุรกิจได้อีกต่อไป การเปิดมุมมองความเป็นไปได้ใหม่ๆ ด้วยเทคโนโลยี AI เพื่อช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตและแข่งขันได้จึงเป็นสิ่งจำเป็น 

ยืนยันด้วยผลสำรวจ Global AI Survey: AI proves its worth, but few scale impact ของ McKinsey & Company บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารชั้นนำของโลก มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี AI ในแวดงธุรกิจต่างๆ อาทิ

  • การใช้เทคโนโลยี AI ในแวดวงธุรกิจทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบ 25% เมื่อเทียบปีต่อปี
  • ผู้บริหารที่ตอบแบบสอบถาม 44% ระบุว่า AI ช่วยลดต้นทุน และ 63% บอกว่า ช่วยสร้างรายรับให้กับบริษัทเพิ่มขึ้น
  • 22% ของบริษัทที่ใช้เทคโนโลยี AI มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 5% และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นในทุกปี
  • AI ช่วยทำเงินให้กับธุรกิจค้าปลีกได้มากถึง 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ธุรกิจการเงินและธนาคารมีรายได้มากขึ้น 50% ส่วนธุรกิจขนส่งและคมนาคมมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 89%
  • การใช้งาน AI ที่พบมากที่สุดในธุรกิจต่างๆ คือ งานเกี่ยวกับการปรับปรุงด้านการขาย (Sales) และการตลาด (Marketing)
  • บริษัทที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้เทคโนโลยี AI บอกกับ McKinsey ว่าพวกเขาวางแผนที่จะเพิ่มการลงทุนใน AI เพื่อรับมือกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของ COVID-19 

ข้อมูลข้างต้นยังสอดคล้องกับผลสำรวจของ Infosys ที่ 76% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า AI เป็นพื้นฐานสู่ความสำเร็จในการวางกลยุทธ์ขององค์กร และ 64% เชื่อว่าการเติบโตขององค์กรในอนาคตขึ้นอยู่กับการนำเทคโนโลยี AI ไปใช้ในวงกว้าง

5 บทบาทสำคัญของเทคโนโลยี AI ในโลกธุรกิจ

บทความ เทคโนโลยี Ai

1. เทคโนโลยี AI กับการบริการลูกค้า (Customer Service)

ปฏิเสธไม่ได้ว่าหัวใจสำคัญของการบริการลูกค้า คือ การสื่อสาร ซึ่งแต่ก่อนเป็นงานที่ต้องอาศัยมนุษย์เป็นหลัก แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI ทำให้มีการคิดค้นและพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า Chatbot เพื่อช่วยสื่อสารและสนับสนุนการให้บริการลูกค้า โดยแชทบอทสามารถพูดคุยโต้ตอบกับลูกค้าแบบอัตโนมัติได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุด แถมยังมีความฉลาดในการประมวลผลภาษาธรรมชาติ แยกแยะความแตกต่างของการสนทนาและเลียนแบบคำพูดของมนุษย์ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ

จากการศึกษาของ American Marketing Association (AMA) พบว่าการใช้ Chatbot ช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า และนำมาซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานให้กับบริษัทขนาดใหญ่ ในขณะเดียวกันก็ช่วยเติมเต็มช่องว่างให้กับบริษัทขนาดเล็กที่ยังไม่มีงบจ้างทีมบริการลูกค้าโดยเฉพาะ

ตัวอย่างกรณีศึกษา : Sephora Reservation Assistant – Sephora

Sephora ถือเป็นผู้นำด้านการใช้ Chatbot ในโลกแห่งความงาม เพื่อปรับปรุงวิธีการสื่อสารและสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า  

Sephora Reservation Assistant คือ ผู้ช่วยนัดหมายแต่งหน้ากับผู้เชี่ยวชาญด้านความงามของ Sephora ผ่าน Chatbot บน Facebook Messenger เพียงแค่ลูกค้าบอกว่าพวกเขาอยู่ที่ไหน บอทจะค้นหาตำแหน่งร้านที่ใกล้ที่สุด พร้อมทำนัดหมายตามวันและเวลาที่ลูกค้าสะดวกให้โดยอัตโนมัติ

หลังเปิดให้บริการฟีเจอร์นี้พบว่า ลูกค้าสามารถจองคิวนัดหมายสำเร็จภายในสามขั้นตอนเท่านั้น โดยมียอดจองคิวเพิ่มขึ้น 11% ในสหรัฐอเมริกา แถมลูกค้าที่จองคิวแต่งหน้าผ่านแชทบอทยังมียอดการใช้จ่ายที่หน้าร้านโดยเฉลี่ยมากกว่า 50 ดอลลาร์สหรัฐอีกด้วย

2. เทคโนโลยี AI กับการขนส่งสินค้า (Logistic)

ธุรกิจที่กำลังมาแรงตีคู่กับ E-Commerce คงหนีไม่พ้นธุรกิจบริการด้านโลจิสติกส์ ซึ่งสามารถนำเทคโนโลยี AI มาช่วยปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นระบบหลังบ้าน งาน Operation การให้บริการและต่อยอดประสบการณ์ของลูกค้า

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ AI ด้านโลจิสติกส์ เช่น ใช้ AI จดจำสินค้าจากรูปภาพ พร้อมย้ายสินค้าใน Store ให้โดยอัตโนมัติ ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคาดการณ์ล่วงหน้า เช่น ค้นหาเส้นทางการจัดส่งที่เร็วที่สุด วิเคราะห์ความผันผวนของปริมาณการจัดส่งสินค้าทั่วโลก หรือแม้แต่การคาดเดาพฤติกรรมเพื่อวางแผนจัดส่งสินค้าล่วงหน้า

ตัวอย่างกรณีศึกษา : Domino’s Robotic Unit (DRU) – Domino Pizza

Domino’s delivery robot of the future

Domino’s Robotic Unit หรือ DRU คือ หุ่นยนต์ส่งพิซซ่าในรูปแบบยานพาหนะขนส่งไร้คนขับตัวแรกของโลก ภายใต้แบรนด์ Domino Pizza รูปลักษณ์ภายนอกคล้ายรถสี่ล้อ มีช่องที่บรรจุพิซซ่าได้ถึง 10 ถาด ทำหน้าที่เป็นทั้งเตาอบและตู้เย็นแบบใช้พลังงานต่ำ จึงเก็บของร้อนก็ดี เก็บของเย็นก็ได้ ทำให้อาหารที่ส่งถึงมือลูกค้ามีความสดใหม่เหมือนทานที่ร้าน

DRU สามารถขับเคลื่อนบนทางเท้าโดยจะเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดจากหน้าร้านไปจนถึงประตูบ้านของลูกค้า ด้วยความเร็วที่ปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีระบบเซ็นเซอร์ที่ช่วยหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางระหว่างทางได้อีกด้วย ปัจจุบันมีการทดลองใช้เจ้า DRU แค่ในบางพื้นที่ของประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

3. เทคโนโลยี AI กับการตลาดแบบ Personalized Marketing

ทุกวันนี้แบรนด์ต่างๆ เริ่มให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า เพราะเมื่อแบรนด์สามารถเข้าถึงใจผู้บริโภคได้ในระดับบุคคลแล้ว การนำเสนอผลิตภัณฑ์ บริการ และโปรโมชันต่างๆ ให้ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลา ก็เป็นเรื่องง่าย แถมยังช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมและกระตุ้นยอดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคลมีหลายรูปแบบ อาทิ

  • Geo-location คือ การนำเสนอสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับสถานที่ที่ลูกค้าไปบ่อย หรือกำลังอยู่ในขณะนั้น
  • Real-time Moment คือ การนำเสนอสินค้าและบริการขณะที่ลูกค้ากำลังใช้เวลาอยู่กับสิ่งนั้น
  • Recommendation System คือ การแนะนำสิ่งที่ลูกค้าสนใจจากการติดตามพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น การเสิร์ชหาข้อมูล หรือกดคลิกดูสินค้าประเภทนั้นบ่อยๆ 

ตัวอย่างกรณีศึกษา : AI WEATHERfx Footfall with Watson – Subway

Subway แบรนด์ขายแซนด์วิชชื่อดังจับมือกับ IBM Watson นำเทคโนโลยี AI ที่ชื่อ WEATHERfx Footfall with Watson มาใช้ประมวลผลสภาพอากาศ ร่วมกับยอดขาย และจำนวนก้าวของลูกค้าที่รวบรวมจากร้าน Subway ในแต่ละสาขา เพื่อปรับแต่งการโฆษณาและนำเสนอโปรโมชันที่เหมาะสมตามสภาพดินฟ้าอากาศ เช่น ในช่วงที่อากาศร้อนอบอ้าว AI จะดึงโฆษณาแซนด์วิชร้อนๆ ออกโดยอัตโนมัติ แล้วเปลี่ยนเป็นเมนูของทานเล่น หรือเครื่องดื่มเย็นๆ แทน

ผลปรากฏว่า Subway มีลูกค้าเข้าร้านมากขึ้น วัดได้จากจำนวนก้าวในร้านที่เพิ่มขึ้น 31% นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดงบประมาณการซื้อมีเดียได้ถึง 53% และลดการแสดงผลโฆษณาที่สูญเปล่าได้ประมาณ 7.9 ล้านครั้ง

4. เทคโนโลยี AI กับการลงทุน

บทความ เทคโนโลยี Ai

เจ้าหน้าที่วางแผนด้านการเงินและการลงทุนของธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ มักประสบปัญหาในการเข้าถึงความต้องการของลูกค้ารายบุคคล รวมทั้งไม่สามารถตอบสนองและรองรับการให้บริการลูกค้าจำนวนมากภายในเวลารวดเร็ว

ปัจจุบันจึงมีการคิดค้นเทคโนโลยีทางการเงิน (Fintech) ที่รวมศักยภาพของอัลกอริทึม การจัดการ Big Data และปัญญาประดิษฐ์ มาผนึกกำลังร่วมกับความเชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาด้านการเงิน เพื่อช่วยวิเคราะห์ และวางแผนการลงทุนเบื้องต้นให้กับลูกค้าได้แบบอัตโนมัติ ตอบโจทย์ทุกความต้องการขั้นพื้นฐานให้กับกลุ่มมือใหม่หัดลงทุน

ตัวอย่างกรณีศึกษา : ROBO ADVISORบริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ (SCBS) 

ROBO ADVISOR คือ บริการผู้ช่วยวางแผนด้านการลงทุนในรูปแบบ AI ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยออกแบบและบริหารพอร์ตกองทุนรวมอัตโนมัติ ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ความต้องการ และระดับความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนแต่ละคน ช่วยคัดเลือกกองทุนรวมที่มีศักยภาพ ปรับพอร์ตให้เหมาะสมตามภาวะตลาดพร้อมกระจายความเสี่ยง เพื่อให้ได้ผลตอบแทนคุ้มค่าที่สุด

ลูกค้าสามารถติดตามและจัดการพอร์ตลงทุนของตัวเองได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชัน แถมไม่ต้องเสียค่าบริการเพิ่มเติม จึงช่วยประหยัดเงินมากกว่าการใช้บริการแบบ Human Advisor

นอกจากนักลงทุนจะได้รับความสะดวกสบาย และความพึงพอใจที่มากขึ้น ROBO ADVISOR ยังช่วยลดภาระงานในส่วนการดูแลลูกค้ารายย่อย จึงช่วยให้พนักงานมีเวลาทุ่มเทเพื่อปิดดีลกับลูกค้ารายใหญ่ที่มีความต้องการด้านการลงทุนที่ซับซ้อนกว่า แต่ช่วยสร้างรายได้และผลกำไรที่คุ้มค่าให้กับองค์กรได้มากขึ้น

5. เทคโนโลยี AI กับกระบวนการสรรหาบุคลากร

บริษัทต่างๆ เริ่มใช้เทคโนโลยี AI ในการคัดกรอง ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลของผู้สมัครงานเบื้องต้น ผ่านระบบอัตโนมัติของ AI ที่สามารถประมวลผลภาษาธรรมชาติโดยปราศจากอคติของมนุษย์ จึงช่วยให้บริษัทสรรหาบุคลากรที่มีคุณสมบัติและความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งงานอย่างแท้จริง เหมาะกับบริษัทที่มีผู้สนใจสมัครงานจำนวนมาก และมีการแข่งขันสูงในหลายตำแหน่งงาน เพราะ AI สามารถช่วยลดเวลาและภาระงาน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างบริษัท Recruitment หรือ Headhunter

ตัวอย่างกรณีศึกษา : Robot Veraบริษัท PepsiCo 

ครั้งหนึ่งบริษัท PepsiCo ต้องการสรรหาพนักงาน 250 ตำแหน่งให้ได้ภายในเวลา 2 เดือน ด้วยกรอบเวลาที่จำกัดและจำนวนผู้สมัครที่มากหลักพันคน พวกเขาจึงเลือกใช้ Robot Vera เข้ามาเป็นผู้ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้สมัครและสัมภาษณ์ ผลปรากฏว่า Robot Vera สามารถสัมภาษณ์ผู้สมัครจำนวน 1,500 คน โดยใช้เวลาเพียง 9 ชั่วโมงเท่านั้น เมื่อเทียบกับการใช้คนสัมภาษณ์แบบเดิมอาจต้องใช้เวลานานถึง 9 สัปดาห์ 

 

Video interview with Robot Vera

 

ใครจะเชื่อว่าวันหนึ่งสมองกลของ AI จะสามารถทำหน้าที่เสมือน HR Recruiter ที่ช่วยสรรหาคนให้เหมาะสมกับตำแหน่งงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเกินคาด

สรุป

“In the next five to 10 years, AI is going to deliver so many improvements in the quality of our lives.” Mark Zuckerberg, founder and CEO of Facebook

เมื่อปี 2017 มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก CEO และผู้ก่อตั้ง Facebook เคยกล่าวไว้ว่าในอีก 5-10 ปี ข้างหน้า AI จะทำให้คุณภาพชีวิตของเราดีขึ้นอย่างมาก ในวันนี้ดูเหมือนสิ่งที่เขาพูดกำลังใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ 

เพราะทุกวันนี้เทคโนโลยี AI ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในแวดวงธุรกิจหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริการลูกค้า ด้านการขนส่งสินค้า ด้านการตลาด ด้านการลงทุน ด้านการจ้างงาน และด้านอื่นๆ อีกมากมาย โดยมีตัวอย่างความสำเร็จให้เห็นเป็นรูปธรรมในหลายบริษัททั่วโลก และเชื่อว่าบทบาทของเทคโนโลยี AI จะไม่หยุดพัฒนาเพียงเท่านี้อย่างแน่นอน

New call-to-action

มองอนาคตไทยกับเทคโนโลยีชีวภาพ

SHARE

เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) คือการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ เชื่อหรือไม่ว่าความรู้เรื่องนี้อยู่กับเรามาเนิ่นนาน ตั้งแต่เทคนิคการถนอมอาหารชนิดต่างๆ จนถึงการสร้างยารักษาโรคเลยทีเดียว

บทบาทของเทคโนโลยีชีวภาพปรากฎชัดเจนในปัจจุบัน การผลิตวัคซีนเพื่อรับมือกับโรคระบาดอย่าง Covid-19 รวมถึงการรักษาโรคระยะยาวต่างจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีชีวภาพเข้าช่วยแทบทั้งสิ้น

เทคโนโลยีชีวภาพรูปแบบต่างๆ

ภายใต้กรอบของเทคโนโลยีชีวภาพก็มีการแบ่งรูปแบบออกไปตามการใช้งาน ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ในอนาคตเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีให้ก้าวหน้ามากขึ้น โดยในปัจจุบันมีเทคโนโลยีชีวภาพ 4 ประเภทหลัก ดังนี้

1. เทคโนโลยีชีวภาพด้านการแพทย์ (Medical Biotechnology)

บทความ เทคโนโลยีชีวภาพ

การประยุกต์ใช้เทคโยโลยีชีวภาพเข้าสู่การแพทย์เป็นหัวข้อที่แทบทุกประเทศให้ความสำคัญกัน โดยเฉพาะกับการใช้มันรับมือกับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ Covid-19 นั่นเอง 

โดยเทคโนโลยีชีวภาพจะมีบทบาทในการศึกษาค้นคว้าและตรวจสอบปัจจัยต่างๆ ที่มีผลในการจัดการกับเจ้าไวรัสชนิดนี้ได้ สุดท้ายก็จะถูกวิจัยออกมาเป็นวัคซีนและยารักษาโรคอย่างที่ทุกๆ คนได้เห็นกัน 

นอกเหนือจาก Covid-19 แล้ว เทคโนโลยีชีวภาพยังถูกใช้งานในการจัดการโรคระบาดและโรคภัยที่มีคนเป็นอย่างกว้างขวาง เช่น มะเร็ง เชื้อ HIV โรคหัวใจ ทั้งในการออกยารักษาโรคตัวใหม่ที่ดีกว่าเดิม และการทำให้ยารักษาโรคที่มีอยู่แล้วมีต้นทุนที่ถูกลงเพื่อให้คนจำนวนมากเข้าถึงยาเหล่านั้นได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย

2. เทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตร

บทความ เทคโนโลยีชีวภาพ

พันธุ์พืชในประเทศไทยมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อให้ทนร้อน ทนฝน ทนต่อโรคระบาด และทนต่อศัตรูพืช ส่วนหนึ่งก็เพราะเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตรภายในประเทศ 

เทคโนโลยีชีวภาพยังมีบทบาทในการปรับปรุง ช่วยผสมพันธ์ุสัตว์ คัดเลือกพันธุ์ทีดีที่สุด เพื่อนำมาเป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ให้กับเกษตรกรในการขยายพันธุ์ปศุสัตว์ต่างๆ และช่วยในการรักษาโรคระบาดภายในสัตว์ต่างๆ เช่น การรับมือโรคลัมปีสกิน ซึ่งเป็นโรคระบาดที่กำลังขยายวงกว้างในประเทศไทยช่วงกลางปี 2564 นี้ด้วย

3. เทคโนโลยีชีวภาพด้านอุตสาหกรรม

บทความ เทคโนโลยีชีวภาพ

เทคโนโลยีชีวภาพรูปแบบนี้จะเจาะลึกเข้าไปในส่วนประกอบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น เซลล์ เอนไซม์ ต่างๆ การสกัดสารจากวัตถุดิบธรรมชาติเพื่อนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมเป็นต้น 

แม้จะดูไกลตัว แต่แท้จริงแล้วเทคโนโลยีชีวภาพด้านอุตสาหกรรมนี้มีการใช้อย่างแพร่หลายอยู่แล้ว ตั้งแต่การค้นคว้าปุ๋ยและอาหารสัตว์เพื่อทำให้มีสารอาหารคุณภาพ เหมาะกับพืชและสัตว์ การหาแนวทางจัดการมูลสัตว์ให้ดีที่สุด 

เทคโนโลยีชีวภาพด้านอุตสาหกรรมยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาพลังงานสะอาดประเภทต่างๆ รวมถึงวิจัยการปล่อยของเสียในการเลี้ยงปศุสัตว์ เพื่อปรับปรุงวิธีเลี้ยงให้มีคุณภาพมากขึ้นอีกด้วย

4. เทคโนโลยีชีวภาพด้านสิ่งแวดล้อม

บทความ เทคโนโลยีชีวภาพ

การรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นเทรนด์สำคัญในปัจจุบันและจำเป็นที่จะต้องมีการต่อยอดอย่างมีคุณภาพไปยังอนาคต และเทคโนโลยีชีวภาพก็เป็นกุญแจสำคัญ

เทคโนโลยีชีวภาพด้านสิ่งแวดล้อมจะเกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีชีวภาพด้านอุตสาหกรรมพอสมควร เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่คอยควบคุมดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม เช่น การกำจัดของเสียอย่างไรให้ดีต่อสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะเศษอาหาร ไปจนถึงการค้นหาแบคทีเรียเพื่อกำจัดของเสีย 

เห็นได้ชัดเลยว่าเทคโนโลยีชีวภาพมีการนำมาใช้ได้อย่างหลากหลาย ทั้งระยะสั้นและระยะยาว แล้วประเทศไทยมีการใช้เทคโนโลยีชนิดนี้แบบไหนบ้าง มาดูกัน

อนาคตไทยกับเทคโนโลยีชีวภาพ

ประเทศไทยก้าวไปไกลขนาดไหนกับเทคโนโลยีชีวภาพ? สิ่งที่น่าสนใจคือ ไทยมีการใช้เทคโนโลยีรูปแบบนี้อยู่ในหลากหลายอุตสาหกรรม และบางเรื่องเป็นเรื่องพื้นฐานในชีวิตประจำวันที่คนไม่น้อยมองข้าม โดยเฉพาะการเกษตรและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีดังต่อไปนี้

  • การปรับปรุงพันธุ์ข้าว พันธุ์พืช ให้ทนโรค ทนต่อศัตรูพืช ออกผลผลิตให้ดีขึ้น
  • ปรับปรุงพันธุ์ปศุสัตว์ให้ทนร้อน ทนฝน เพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น 
  • การพัฒนาปุ๋ยชีวภาพชนิดต่างๆ และวิจัยปุ๋ยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
  • การตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ และหาวิธีรับมือ
  • การผลิตยารักษาโรคจากเทคโนโลยีชีวภาพ

นอกเหนือจากการใช้งานที่แพร่หลายแล้วไทยยังมีศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติเป็นของตัวเองอีกด้วย และมีการร่วมมือกับนานาประเทศเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้ก้าวไกลมากขึ้น

ซึ่งเทคโนโลยีชีวภาพในอนาคตที่น่าจับตามอง ได้แก่ การผลิตเนื้อเทียม การผลิตยาที่เหมาะกับแต่ละบุคคล (Personalized Medicine) พันธุวิศกรรม (Genetic Engineering) โดยแผนพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนอีกด้วย ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีชีวภาพเข้าสู่หนึ่งในอุตสาหกรรมหลักในการพัฒนาประเทศ นอกเหนือจากนั้นยังสนับสนุนการกระจายความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อสนับสนุนการแพทย์และการเกษตรให้มากขึ้น 

แม้ตัวเลขเชิงสถิติต่างๆ ยังไม่ชัดเจน แต่การที่มีชื่อของเทคโนโลยีชีวภาพในแผนการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีนี้ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ก็ทำให้มั่นใจระดับหนึ่งแล้วว่าเทคโนโลยีชีวภาพนี้จะเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวหน้าอย่างแน่นอน

สรุป

เทคโนโลยีชีวภาพเป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาประเทศเข้าสู่ระดับสากล หลายประเทศทั่วโลกมีการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพรูปแบบต่างๆ ประเทศไทยเองก็เช่นกันโดยมีการพัฒนาในด้านการเกษตรและการแพทย์ และการผสานองค์ความรู้เข้ากับด้านอื่นๆ อย่างมีคุณภาพ 

สิ่งที่น่าสนใจคือการต่อยอดองค์ความรู้ในหลังจากนี้ เมื่อโรคระบาดนั้นเริ่มคลี่คลายความสำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพย่อมถูกผลักดันให้ก้าวไกลมากขึ้นไปอีก แต่ประเทศไทยจะก้าวไปได้ไกลแค่ไหนกันแน่ คงเป็นเรื่องที่เราต้องดูกันในอนาคต

 

ติดตามข่าวสารและคอนเทนต์ดีๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อมที่คุณไม่ควรพลาด

ได้ที่ Facebook PTT ExpresSo

New call-to-action

 

 

รู้จัก Digital Footprint รอยเท้าบนโลกออนไลน์ที่ไม่เคยจางหาย

SHARE

รู้หรือไม่ว่าโลกออนไลน์นั้นมีข้อมูลของเรามากกว่าที่คิด ไม่ใช่แค่กับ Search Engine ชื่อดังอย่าง Google เท่านั้น แต่รวมไปถึง Social Network ต่างๆ ที่มีการเก็บข้อมูลผู้ใช้งานเอาไว้ บ้างก็เพื่อบันทึกสถิติ บ้างก็ถูกนำไปใช้ต่อในการโฆษณา ซึ่งเรามีการเรียกข้อมูลการเดินทางผ่านเว็บไซต์และช่องทางออนไลน์ต่างๆ ว่า Digital Footprint

Digital Footprint คืออะไร

Digital Footprint คือ ข้อมูลการใช้งานต่างๆ ของผู้คนบนโลกอินเทอร์เน็ตที่ถูกบันทึกไว้ ไม่ว่าคุณจะเข้าเว็บไซต์ใดๆ ก็ตามเช่น Google, Youtube หรือเว็บไซต์ไทยอย่าง Pantip ก็ล้วนแล้วแต่มีการเก็บข้อมูลผู้ใช้ทั้งสิ้น จะมากน้อยแล้วแต่เว็บไซต์ การเก็บข้อมูลดังกล่าวยังครอบคลุมไปถึงแอปพลิเคชัน และโซเชียลมีเดียต่างๆ อีกด้วย

ประเด็นที่น่าสนใจคือข้อมูลดังกล่าวมีอะไรมากกว่าที่เราคิด สิ่งที่เว็บไซต์จะได้ไปนั้นไม่ใช่แค่ข้อมูลส่วนตัว สเตตัสบ่น หรือรูปถ่ายข้าวกลางวัน แต่รวมไปถึงจำนวนการคลิกลิงก์ วินาทีการดูโฆษณา การใช้เวลาบนเว็บไซต์ รวมถึงการค้นหาต่างๆ

เรียกได้ว่าโลกอินเทอร์เน็ตอาจรู้จักตัวคุณมากกว่าที่คุณรู้จักตัวเองเสียด้วยซ้ำ

Tips: เนื่องจากร่องรอยเหล่านี้สามารถตามได้เหมือนกับรอยเท้า มันจึงถูกเรียกว่า Digital Footprint นั่นเอง

what-is-digital-footprint-01

รูปแบบของ Digital Footprint

Digital Footprint ถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ

1.Digital Footprint ที่ผู้ใช้เจตนาบันทึก (Active Digital Footprint)

ข้อมูลชนิดนี้จะเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการบันทึกลงบนอินเทอร์เน็ตตั้งแต่แรก เช่น การโพสต์สิ่งต่างๆ ลงบนโซเชียลมีเดีย การลงรูป การส่งอีเมล เป็นต้น

2.Digital Footprint ที่ผู้ใช้ไม่เจตนาบันทึก (Passive Digital Footprint)

ข้อมูลที่ไม่เจตนาบันทึกมักอยู่ในการทำงานเบื้องหลังของคอมพิวเตอร์ ที่หลายๆ คนไม่รู้สึกถึงการคงอยู่ของมันด้วย เช่น History ในการค้นหาต่างๆ บันทึกการเข้าเว็บไซต์ การคลิกลิงก์ภายในเว็บไซต์ ไปจนถึงช่วงเวลาในการใช้งานเว็บและแอปพลิเคชัน

ประโยชน์ของการมี Digital Footprint

1.ตามรอยอาชญากรได้ง่ายขึ้น

อาชญากรรมทางดิจิทัลนั้นมีมากขึ้นเรื่อยๆ ตามยุคสมัย และการเก็บบันทึก Digital Footprint จะส่งผลให้ทางหน่วยงานสามารถตามรอยบุคคลต้องสงสัยต่างๆ ได้ง่าย

2.โฆษณาประชาสัมพันธ์สามารถทำได้ง่ายขึ้น

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการมี Digital Footprint จะทำให้บริษัทโฆษณาต่างๆ สามารถนำเสนอสิ่งที่ผู้คนอยากเห็นได้ง่ายๆ โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook และ Twitter จนบางคนตั้งข้อสังเกตเลยว่าโฆษณาเหล่านี้ตรงใจเกินไปรึเปล่า

3.ร้านค้าต่างๆ สามารถตอบสนองกับความต้องการผู้ค้าได้ดี

Digital Footprint นั้นรวมถึงการเก็บข้อมูลการซื้อ ขาย และการจัดการสต็อกต่างๆ ในร้านค้า ซึ่งการบันทึกข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ห้างร้านต่างๆ สามารถจัดการข้อมูลของตนเองได้ และนำของมาเติมสต็อก รวมถึงการคิดแผนโปรโมตสินค้าได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

เมื่อเข้าใจถึง Digital Footprint รวมถึงประโยชน์ของมันกันแล้ว ลองมาดูสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญในเรื่องนี้กันดีกว่า ซึ่งนั่นคือ Privacy หรือ ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และการใช้งานข้อมูลต่างๆ จาก Digital Footprint นั่นเอง

what-is-digital-footprint-02

ประเด็นปัญหาด้านความเป็นส่วนตัวของ Digital Footprint

หนึ่งในประเด็นปัญหาด้าน Digital Footprint ที่ถูกสื่อออกมาได้ชัดเจนที่สุดคือวิดีโอโฆษณาจากทาง Duval Guillaume ที่ให้นักแสดงทำทีว่าสามารถอ่านใจคนอื่นได้ โดยมีเบื้องหลังคือการเข้าไปดูข้อมูลจากใน Social Media และ Search Engine


 


แม้ว่าวิดีโอนี้จะออกมาตั้งแต่ปี 2012 แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็พิสูจน์แล้วว่าเรื่องดังกล่าวส่งผลกระทบมากกว่าที่เราคิด

นอกเหนือจากการที่มีคนเข้ามารับรู้ข้อมูลของเรา ซึ่งบางครั้งเราก็ไม่ได้ต้องการ ยังรวมไปถึงการขโมยตัวตนผ่านโลกอินเทอร์เน็ต การที่มีคนไม่รู้จักสามารถทักทายเราได้ง่ายกว่าเดิม ซึ่งอาจเป็นช่องทางในการทำอาชญากรรมได้

ยิ่งกว่านั้นคือการใช้งาน Digital Footprint แบบผิดๆ ในการโฆษณาชวนเชื่อ ยังส่งผลแบบวงกว้าง ดังเช่นคดีของ Cambridge Analytica ที่ใช้ข้อมูลจาก Facebook มาเพื่อวิเคราะห์เกมการเมืองในสหรัฐอเมริกา ก่อให้เกิดการตั้งข้อสงสัยว่า “การปล่อยข้อมูลส่วนตัวออกไปให้บริษัทใหญ่ขนาดนี้ ดีจริงๆ หรือ”

การแก้ไขปัญหาความเป็นส่วนตัวและ Digital Footprint

อ่านจนถึงจุดนี้หลายคนอาจจะเริ่มตั้งคำถามว่า แล้วเราจะจัดการ Digital Footprint ของตัวเองได้อย่างไร ขอบอกเลยว่า “ค่อนข้างยาก” เนื่องจากการใช้แอปพลิเคชันและเว็บไซต์ในปัจจุบันจะมีการขอข้อมูลพื้นฐานของเราไปส่วนหนึ่งอยู่แล้ว แม้แต่ในระดับสากลก็ยังมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับ User Privacy หรือความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้จากเว็บไซต์ต่างๆ แต่ก็ไม่ได้มีการตอบรับเท่าที่ควร

ซึ่งถ้าอยากให้ Digital Footprint มีความปลอดภัยมากขึ้นทางเรามีคำแนะนำเบื้องต้นดังนี้

1.ระมัดระวังก่อนโพสต์-แชร์ อะไรก็ตาม
เนื่องจากการโพสต์หรือแชร์สิ่งต่างๆ บนโลกออนไลน์จะมีคนเห็นและมีการบันทึกลงในแพลตฟอร์มนั้นๆ อยู่เสมอ การระวังตั้งแต่ต้นถือเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

2.ไม่ใส่ข้อมูลส่วนตัวในโซเชียลมีเดียเยอะเกินความจำเป็น
การใส่ข้อมูลในโซเชียลมีเดียมากจนเกินไปจะทำให้แพลตฟอร์มนั้นๆ “รู้เรื่องของเรา” มากกว่าที่เราต้องการ หากไม่ต้องการทิ้ง Digital Footprint ไว้มาก ควรกรอกข้อมูลแค่ช่องที่จำเป็นเท่านั้น

3.ตั้งค่าข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ให้เป็น Private
การตั้งข้อมูลทุกอย่างเป็น Public ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันจะทำให้ Digital Footprint ของคุณเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเป็น Private หรือเฉพาะคนรู้จัก จะช่วยจำกัดเรื่องนี้ได้ไม่น้อย

4.ลอง Google ตัวเองดู
หากสงสัยว่า Digital Footprint ของคุณเยอะหรือน้อยขนาดไหน เรื่องง่ายๆ ที่ทำได้เลยคือลองค้นหาตัวเองใน Google ดู ถ้าไม่เจอข้อมูลหรือเจอข้อมูลน้อยมาก ก็แสดงว่าในเบื้องต้นคุณก็ไม่ใช่คนที่มี Digital Footprint เยอะนัก

5.ระมัดระวังการใช้อินเทอร์เน็ตส่วนอื่นๆ
การเข้าเว็บไซต์ผิดกฎหมาย การคลิกลิงก์แปลกๆ อาจแฝงไปด้วยระบบที่ติดตามข้อมูลรวมถึงล้วงข้อมูลที่คุณอาจไม่ต้องการเปิดเผย รวมถึงเก็บ Digital Footprint โดยที่คุณไม่ยินยอม ดังนั้นในการท่องโลกอินเทอร์เน็ต ควรใส่ใจเรื่องของความปลอดภัยเป็นสำคัญ

สรุป

Digital Footprint หรือที่รู้จักกันในชื่อรอยเท้าดิจิทัล คือร่องรอยการใช้งานอินเทอร์เน็ตของบุคคลนั้นๆ ซึ่งมีทั้งรูปแบบที่เรายินยอมและไม่ยินยอม ในปัจจุบันยังมีการตั้งคำถามถึงเรื่องของความเป็นส่วนตัวจากผู้ให้บริการเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่มีการเก็บ Digital Footprint แต่ก็ยังไม่ได้มีการตอบรับอะไรเท่าที่ควร

ดังนั้นผู้ใช้งานควรมีการระมัดระวังตัวเอง อย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป รวมถึงระมัดระวังในการใช้โซเชียลมีเดียต่างๆ เพื่อให้ Digital Footprint ของตน รวมถึงข้อมูลต่างๆ ไม่ถูกนำไปใช้ในภายหลัง

ebook-data-management

รู้จัก NFT Art ศิลปะดิจิทัลที่ทำเงินหลักล้าน

SHARE

NFT เป็นกระแสที่พูดถึงไม่น้อยเลยในช่วงที่มีการเติบโตของ Cryptocurrency มากมายอย่างในปัจจุบัน มีคนไม่น้อยมอง NFT เป็นรูปแบบหนึ่งของงานศิลปะ และมีคนจำนวนมากเช่นกันที่คิดว่า NFT เป็นเพียงการปั่นราคาสิ่งของเท่านั้น

บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ Non-Fungible Token หรือ NFT และ NFT Art ศิลปะดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับ NFT ที่ทำให้ศิลปินบางคนหาเงินได้หลักพันล้านบาทเลยทีเดียว

nft-digital-art-01

ความหมายของ Non-Fungible Token (NFT)

Non-Fungible Token (NFT) เป็นชื่อเรียกของเหรียญ (Token) Cryptocurrency ประเภทหนึ่งที่ใช้แทนความเป็นเจ้าของหรือสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ต่างๆ

สินทรัพย์จะเป็นอะไรก็ได้ (ส่วนมากจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับดิจิทัล) ตั้งแต่ผลงานศิลปะทางดิจิทัล รูปมีม ไปจนถึงโพสต์ทวิตเตอร์ของบุคคลมีชื่อเสียงที่คนเหล่านั้นนำมาขาย NFT จะเป็นทั้งตัวระบุมูลค่าและหลักประกันที่บ่งบอกว่าสินทรัพย์นั้นคือของจริง

ความแตกต่างของ NFT และเหรียญชนิดอื่นๆ คือ NFT ไม่สามารถแบ่งขายได้ เนื่องจาก NFT คือสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะหรืออะไรก็แล้วแต่ ดังนั้นเวลาจะขาย NFT ผู้ขายจึงจะต้องขายเป็นก้อนในนามของงานศิลปะหรือสินทรัพย์นั้นๆ เป็นหลัก

NFT Art การจับคู่ของ NFT และศิลปะบนโลกออนไลน์

เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักโมนาลิซา ภาพวาดชื่อดังของลีโอนาโด ดาร์วินชี แน่นอนว่าภาพนั้นมีมูลค่าหลักล้าน และจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ กระนั้นยุคสมัยหนึ่งยังมีการปลอมแปลงรูปจำนวนมากและหลอกผู้คนว่ามันคือของจริง

nft-digital-art-02

ภาพ โมนาลิซา ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์

แล้วเราจะตรวจสอบอย่างไร ? แน่นอนว่าเราสามารถตรวจสอบของจริงของภาพวาดโมนาลิซาได้โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ และตรวจสอบดูว่ามีการซื้อขายภาพนี้กันด้วยเงินจริง จนกลายเป็นภาพวาดโมนาลิซาที่ถูกจัดแสดงในปัจจุบัน

แต่ยุคสมัยนี้ศิลปินส่วนหนึ่งไม่ได้ทำงานบนผืนผ้าใบอีกแล้ว แต่เป็นคอมพิวเตอร์แทน หากเป็นภาพวาดที่ถูกสร้างบน Photoshop และเป็นไฟล์ดิจิทัลล่ะ

ไฟล์ดิจิทัลเป็นสิ่งที่ขึ้นชื่อว่าเป็นการก็อปปี้กันไปกันมาได้ง่ายมากด้วยการกด Save as แล้วดาวน์โหลดลงเครื่อง อย่างมีม เช่น Nyan Cat ทำให้เกิดการถกเถียงกันไม่น้อยถึงความเป็นเจ้าของไฟล์ เราจะทำอย่างไรเพื่อยืนยันได้ว่าสิ่งที่คนๆ นั้นมีคือของจริง

nft-digital-art-03

ภาพมีม Nyan Cat

NFT เป็นสิ่งที่ถูกนำมาแก้ปัญหานี้ เนื่องจาก NFT ทำงานบนระบบ Blockchain การซื้อขายจึงเป็นสิ่งที่คนทั้งระบบเห็น และสามารถรู้ได้ว่าใครเป็นคนสร้าง ใครเป็นเจ้าของ และเกิดการซื้อขายขึ้นตอนไหน อย่างไร และของจริงคือผลงานชิ้นไหน ซึ่งงานศิลปะที่มีการเชื่อมต่อกับ NFT นี่เองที่ถูกเรียกว่า NFT Art และทำให้มันมีชื่อเล่นว่า Crypto Art

ซึ่ง NFT Art เองก็มีการแบ่งสิทธิ์ในตัวผลงาน และสามารถแบ่งได้หลายแบบตั้งแต่เป็นเจ้าของ 100% บางอย่างอาจมีสิทธิ์แค่โชว์ เหมือนกับการซื้อขายงานศิลปะจริงๆ

หากคุณอยากรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี Blockchain ว่าปัจจุบันมีการปรับใช้อย่างไร สามารถอ่านต่อได้ที่นี่

มูลค่าของ NFT Art ขึ้นอยู่กับอะไร

nft-digital-art-04

ภาพ Everyday: The First 5,000 Days ของ Beeple

2.1 พันล้านบาท คือมูลค่าของภาพ Everyday: The First 5,000 Days โดยศิลปิน Beeple ที่ซื้อขายผ่าน NFT และยังมีผลงานอีกจำนวนมาก ที่ดูธรรมดาๆ แต่สามารถขายได้หลักล้าน อย่างมีม Nyan Cat ที่สามารถขายได้ถึง 18 ล้านบาท หรือทวิตแรกแรกของทวิตเตอร์โดยผู้สร้างอย่าง Jack Dorsey ที่ขายได้เกือบ 90 ล้านบาท

แน่นอนไม่ใช่ทุกอย่างที่ขายได้หลักล้าน บางอย่างสามารถขายได้หลักแสน แต่บางอย่างก็อาจไม่สามารถสร้างมูลค่าใดๆ ได้เลย

NFT Art จึงมีความเป็นผลงานศิลปะดิจิทัล ที่คนที่ชื่นชอบ เข้าใจ หรือเป็นแฟนคลับเจ้าของผลงาน จึงจะมีความเข้าใจและมอบมูลค่าให้

การเติบโตของวงการ NFT ที่น่าจับตามอง

สำหรับวงการ NFT ถือเป็นอีกวงการที่สามารถประยุกต์ใช้ระบบ Blockchain ได้อย่างมีประสิทธิภาพและน่าสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นแนวคิดที่มีความแปลกใหม่และประยุกต์ใช้เข้ากับวงการที่มีเงินหมุนเวียนค่อนข้างสูงอย่างวงการศิลปะ อีกทั้งยังสามารถทำให้การกำหนดสิทธิ์ต่างๆ ของศิลปะและผลงานดิจิทัลอื่นๆ ง่ายมากขึ้น แบรนด์อย่าง Taco Bell เองก็ยังลงมาขายภาพ Taco ด้วย NFT

nft-digital-art-05

อีกทั้งศิลปินจำนวนไม่น้อยก็ให้ความเห็นว่า NFT ส่งผลให้มูลค่าภาพดิจิทัลที่พวกเขาสรรค์สร้างเพิ่มสูงขึ้นจนสามารถเปลี่ยนชีวิตได้เลย และอยากให้มีการขยายการใช้ NFT ให้ครอบคลุมผลงานศิลปะประเภทอื่นๆ เพื่อทำให้วงการเติบโตขึ้น โดยเฉพาะ Beeple ที่เป็นเจ้าของภาพมูลค่า 2.1 พันล้านบาท

ภายใต้การสนับสนุน ก็ยังมีเสียงคัดค้านการใช้ NFT โดยระบุว่า NFT สิ้นเปลืองพลังงานในการขุด ไม่ต่างจากเหรียญอื่นๆ อย่าง Bitcoin และมูลค่าที่ให้กับ NFT เป็นมูลค่าที่ไม่สามารถจับต้องได้จริง

คุณสามารอ่านข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ Bitcoin ได้ที่ 10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Bitcoin

NFT Art ในไทยก้าวไกลกว่าที่คิด

ไทยเป็นอีกประเทศที่มีวงการ Cryptocurrency ค่อนข้างใหญ่และกว้างขวางมากขึ้นจากอดีต และ NFT ก็เป็นอีกตัวเลือกที่ศิลปินในประเทศไทยให้ความสนใจ และมองว่าเป็นอีกช่องทางที่สามารถหารายได้นอกเหนือจากการขายผลงานตามปกติ

ตัวอย่างศิลปินไทยที่เข้าสู่วงการ NFT เช่น คุณปั๋น Riety, Youngohm, ติ๊ก ชีโร่ และนอกเหนือจากผลงานศิลปะแล้ว ยังมีผลงานประเภทอื่นๆ อีก เช่นปกขายหัวเราะที่มีลายเซ็นบก.วิติ๊ด (คุณ วิธิต อุตสาหจิต) ซึ่งสามารถขายได้ในราคากว่าล้านบาทเลยทีเดียว

ยังมีผลงานอีกมากมายที่ไม่ได้ถูกเอ่ยไว้ในบทความนี้และสามารถทำเงินได้ไม่น้อยในตลาดของ NFT และเชื่อว่าตลาดแห่งนี้ยังมีพื้นที่อีกมากมายให้ศิลปินรวมถึงบุคคลต่างๆ มาสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อทำให้วงการก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปในอนาคต

สรุป

NFT เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการสร้างมูลค่าให้ผลงานศิลปะดิจิทัลที่มีเงินไหลเวียนระดับหลายพันล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามมูลค่าของ NFT ยังคงขึ้นลงตามใจของผู้ซื้อเช่นเดียวกับงานศิลปะ คนที่ต้องการลงทุนในเรื่องนี้จำเป็นจะต้องมีความเข้าใจและความชอบจริงๆ เพื่อให้การลงทุนใน NFT เกิดประโยชน์สูงสุด

ebook-data-management

ทำไมเราจึงต้องหันมาสนใจหุ้นเทคโนโลยีในปี 2021

SHARE

เมื่อเทคโนโลยีกำลังจะเปลี่ยนโลก

ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของเราในทุกๆ ด้าน จนเรียกได้ว่าแทบจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของมนุษย์ไปแล้วก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน การธนาคาร การศึกษา หรือการแพทย์ ก็ล้วนแล้วแต่ได้รับความสะดวกสบาย และประหยัดในเรื่องของเวลาจากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีทั้งสิ้น

3 เหตุผลสำคัญที่เราควรหันมาสนใจหุ้นเทคโนโลยี

technology-stock

การลงทุนในหุ้นนั้นมีให้เราเลือกลงทุนได้หลากหลายประประเภท ซึ่งถ้าหากเราเลือกได้ถูกประเภท ถูกจังหวะก็จะสามารถสร้างกำไรให้เราได้

สำหรับหุ้นเทคโนโลยีนี้ก็เป็นหุ้นอีกประเภทหนึ่งที่นักลงทุนไม่ควรมองข้าม มาดูกันดีกว่าว่านอกจากอัตราการเติบโตที่มีแนวโน้มเป็นขาขึ้นแล้ว หุ้นประเภทนี้ยังมีความน่าสนใจในด้านไหนอีกบ้าง

ประเภทของหุ้นมีความหลากหลายมากขึ้น

ด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการตอบสนองความต้องการใช้งานของมนุษย์ตลอดเวลา ซึ่งนั่นก็เป็นเหตุผลที่ทำให้ประเภทของหุ้นเทคโนโลยีแตกแขนงและมีความหลากหลายมากขึ้นด้วยเช่นกัน

นักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อตลาดเพิ่มขึ้น

ก่อนหน้านี้ นักลงทุนจำนวนมากแห่เข้าซื้อหุ้นเทคโนโลยี แต่เมื่อผลประกอบการออกมาไม่ดีนักจึงเกิดเหตุการณ์เทขายหุ้นทิ้งขึ้น แต่ในปัจจุบันนักลงทุนมีความเชื่อมั่นในตลาดหุ้นเทคโนโลยีมากขึ้น จะเห็นได้จากราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นและผลประกอบการที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ราคาไม่สูงมากเหมือนในอดีต

สำหรับราคาหุ้นของบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้นแม้จะมีการปรับตัวสูงขึ้นบ้าง แต่ก็ยังราคาต่ำกว่าปีก่อนๆ อีกทั้งยังมีกำไรสุทธิที่ค่อนข้างสูง จึงทำให้หุ้นเทคโนโลยีเป็นที่สนใจ และน่าจับตามองในหมู่นักลงทุนมากทีเดียว

Covid-19 ระบาด เทคโนโลยีก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น

technology-stock

ในสถานการณ์ไวรัส Covid-19 ที่กำลังระบาดอยู่ทั่วโลกนั้น ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้คนหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น จนเกิดเป็นวิถีชีวิตแบบใหม่ หรือ New Normal ที่มีเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งในการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน การออกกำลังกาย การเข้าร่วมงานสัมมนา สื่อบันเทิงในรูปแบบออนไลน์ การช็อปปิง หรือการปรึกษาแพทย์ทางไกล

ซึ่งสถานการณ์ Covid-19 นั้นเปรียบเสมือนตัวช่วยในการส่งเสริมให้หุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีได้รับประโยชน์ไปแบบเต็มๆ เรียกได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่ช่วยส่งเสริมให้ราคาหุ้นในกลุ่มนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง

กลุ่มหุ้นเทคโนโลยีที่โดดเด่นในปี 2021

สำหรับกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีที่โดดเด่นและได้รับความสนใจจากนักลงทุนในปี 2021 นี้ ได้แก่

กลุ่ม FAANG

faang

FAANG เป็นการนำอักษรแรกของชื่อกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกันที่ได้รับความนิยมสูงสุด ประกอบไปด้วย Facebook Amazon Apple Netflix และ Alphabet (หรือ Google) ซึ่งผลงานที่ผ่านมาในปี 2020 นั้น หุ้นในกลุ่มนี้ถือว่าทำได้ดี รวมถึงสร้างผลกำไรให้นักลงทุนอย่างต่อเนื่อง ด้วยจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่น และเป็นกลุ่มบริษัทที่ทรงอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในการก้าวเข้าสู่โลกแห่งเทคโนโลยี

กลุ่ม CDN

กลุ่มผู้ให้บริการ CDN หรือ Content Delivery Network คือระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ของเครื่อง Server จำนวนมาก ที่กระจายตัวกันอยู่ตามที่ต่างๆ ทั่วโลก โดยเชื่อมต่อกันผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งต่อข้อมูลให้ไปถึงผู้รับที่ปลายทางให้เร็วที่สุด และสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ตลอดเวลา เช่น Akamai ที่เป็นผู้ให้บริการ CDN เจ้าใหญ่ ที่แม้แต่บริษัท Apple ก็ยังใช้งานระบบ CDN ของเจ้านี้ หรือ Fastly ที่องค์กรสื่อระดับโลกอย่าง BBC เลือกใช้ เป็นต้น

กลุ่ม SaaS

SaaS ย่อมาจาก Software-as-a-Service เป็นบริการให้เช่า Software ผ่านระบบ Cloud จึงช่วยให้เราสามารถเข้าถึงโปรแกรมต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา โดยปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเติบโตของธุรกิจประเภทนี้มาจากลูกค้า ยิ่งเพิ่มฐานลูกค้าได้มากเท่าไร ก็หมายความถึงจำนวนรายได้ที่เพิ่มขึ้นมากเท่านั้น

กลุ่ม YGG

YGG หรือ บริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ถือเป็นอีกกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีของไทยที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน สำหรับธุรกิจในปัจจุบันนั้น YGG เป็นผู้ให้บริการออกแบบและจัดทำคอมพิวเตอร์กราฟิคเกี่ยวกับงานภาพยนต์ โฆษณา และเกม โดยมีกลุ่มลูกค้าทั้งในไทยและต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง เวียดนาม สิงคโปร์ และจีน เป็นต้น

ในช่วงล็อกดาวน์จากการระบาดของ Covid-19 รอบที่ผ่านมา YGG ก็เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่ได้รับผลดีจากการที่รักษาระยะห่าง ทำให้อุตสาหกรรมภาพยนต์เลือกใช้ CG แทนการใช้คนแสดงเพื่อลดความเสี่ยง อีกทั้งการเติบโตของผู้ใช้งาน Netflix ที่เป็นลูกค้าของ YGG ก็มีอัตราที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน จึงทำให้ราคาหุ้นของ YGG ดีดแรงขึ้น อีกทั้งนักลงทุนยังมองว่าเป็นหุ้นที่มีการเติบโต ในฐานะอุตสาหกรรมที่น่าสนใจในโลกยุคใหม่ด้วย

สรุป

จากสถานการณ์ Covid-19 ที่ยังคงระบาดอยู่ทำให้ผู้คนต้องใกล้ชิดกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเมื่อเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้เข้ามามีส่วนช่วยในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคให้ได้รับความสะดวก รวดเร็วขึ้นทั้งในด้านการใช้ชีวิตประจำวันและในโลกธุรกิจ จึงส่งผลให้หุ้นเทคโนโลยีมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น รวมถึงประเภทของหุ้นที่มีความหลากหลาย อีกทั้งยังราคาไม่สูงมากเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ จึงทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อตลาดเพิ่มขึ้น และทำให้ธุรกิจเทคโนโลยีในยุคนี้ออกตัวได้แรงกว่าที่เคย

ebook-data-management

เทคโนโลยีอวกาศ ไปไกลแค่ไหนแล้วใน 10 ปี 2011 VS 2021

SHARE

หากย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้วเรื่องอวกาศนับเป็นเรื่องที่อยู่ไกลตัวไม่น้อย จนคนทั่วไปอาจไม่เข้าใจว่า เราสำรวจอวกาศไปเพื่ออะไร แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีการจัดตั้งโครงการเพื่อสังเกตการทางดาราศาสตร์ขึ้นมากมาย รวมถึงมีการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับโลกและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันได้

เทคโนโลยีอวกาศคืออะไร

เทคโนโลยีอวกาศหรือ Space Technology นั้นเป็นการนำเอาองค์ความรู้ เทคโนโลยี วิธีการ รวมถึงเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมในการศึกษาด้านดาราศาสตร์ อวกาศ ดวงดาว รวมถึงปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบริเวณที่อยู่นอกเหนือชั้นบรรยากาศของโลก ตลอดจนสามารถนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์กับโลกและการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบันได้ด้วย เช่น การนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การเตือนภัยพิบัติ หรือสร้างเครือข่ายการติดต่อสื่อสารเป็นต้น

the-development-of-astronomy-technology-01

ตัวอย่างเทคโนโลยีอวกาศที่สำคัญและโดดเด่น

ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมามีเทคโนโลยีอวกาศที่มีความสำคัญและถูกพัฒนาให้โดดเด่นจนเป็นที่รู้จักอยู่ 4 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่

ดาวเทียม

ดาวเทียมหรือ satellite เป็นเทคโนโลยีอวกาศที่ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกผ่านการติดตั้งบนจรวดหรือยานขนส่งอวกาศ ดาวเทียมดวงแรกที่ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกก็คือสปุตนิค1 ในปี พ.ศ. 2500

ในปัจจุบันดาวเทียมถูกแบ่งออกเป็นหลากหลายประเภทโดยมีภารกิจต่างๆ กัน เช่น ดาวเทียมที่ใช้ประโยชน์ในด้านการสื่อสาร ดาวเทียมสำรวจพิภพที่ใช้ในการสำรวจทรัพยากรโลก หรือดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาที่ใช้ในการถ่ายภาพและส่งข้อมูลเกี่ยวกับลมฟ้าอากาศกลับมายังโลก เป็นต้น

จรวด

เป็นยานพาหนะที่สำคัญในการส่งดาวเทียมหรือยานสำรวจออกสู่อวกาศ ซึ่งหากความเร็วของจรวดไม่มากพอ อาจทำให้ไม่สามารถเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลกและจะทำให้หัวจรวดตกกลับมายังผิวโลกได้ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนทำให้จรวดสามารถเพิ่มความเร็วและมีแรงขับเคลื่อนที่มากพอจะเอาชนะแรงโน้มถ่วงโลกหรือที่เรียกว่า “ความเร็วหลุดพ้น” ได้ซึ่งความเร็วนี้จะอยู่ที่ 11.2 กิโลเมตรต่อวินาที

ยานขนส่งอวกาศ

ยานขนส่งอวกาศหรือที่เรามักคุ้นเคยกันในชื่อกระสวยอวกาศ เป็นยานพาหนะที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากจรวด เนื่องจากการใช้จรวดในการส่งดาวเทียมหรือยานอวกาศนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงและเมื่อตกสู่พื้นมักเกิดความเสียหายจนไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

สถานีอวกาศ

เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่เปรียบเสมือนห้องปฏิบัติการลอยฟ้าที่โคจรอยู่รอบโลก อยู่ในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง ส่วนมากมักมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการค้นคว้า ทดลอง สิ่งต่างๆ ที่ไม่สามารถทำได้บนพื้นโลกเช่น สภาพร่างกายหรือจิตใจในการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง การศึกษาพฤติกรรมของสัตว์บางชนิด หรือการศึกษาด้านธรณีวิทยาและอุตุนิยมวิทยาควบคู่ไปกับระบบดาวเทียม เป็นต้น

ประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ

จากการศึกษาและทดลองในด้านดาราศาสตร์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทำให้องค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยีอวกาศนั้นถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ไม่เพียงแต่ถูกใช้ประโยชน์ในอวกาศเท่านั้นแต่เทคโนโลยีเหล่านี้ยังถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนบนโลกด้วย ตัวอย่างเช่น

the-development-of-astronomy-technology-02

การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ

ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติเป็นดาวเทียมที่มีการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีการถ่ายภาพและโทรคมนาคม มักใช้เพื่อสำรวจดูพื้นผิวโลก รวมถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทางธรณีวิทยา นิเวศวิทยาจึงเป็นประโยชน์ต่อโลกทั้งในด้านการเกษตรและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

การพยากรณ์อากาศ

ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาจะเข้ามามีส่วนช่วยในการพยากรณ์อากาศ หรือเตือนภัยพิบัติได้ด้วยการเก็บข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา เช่น การสำรวจจำนวนเมฆ ตรวจวัดความเร็วลม ความชื้นของอากาศ หรือลักษณะอากาศที่แปรปรวน พร้อมส่งสัญญาณภาพถ่ายทางอากาศมายังพื้นโลกนั่นเอง

การสื่อสารและโทรคมนาคม

ดาวเทียมสื่อสารจะทำหน้าที่เป็นสถานีรับส่งคลื่นวิทยุเพื่อการสื่อสารและโทรคมนาคมเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารของโลก โดยสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งการสื่อสารภายในประเทศและระหว่างประเทศส่วนใหญ่จะใช้สำหรับกิจการโทรศัพท์ การถ่ายทอดสัญญาณวิทยุ สัญญาณโทรทัศน์ และการส่งข้อมูลดิจิทัล เป็นต้น

10 ปีผ่านไปเทคโนโลยีอวกาศก้าวไปถึงไหนบ้าง

10 ปีที่ผ่านมานั้นนับเป็น 10 ปีแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศเพื่อเตรียมพร้อมในการก้าวเข้าสู่การสำรวจอวกาศครั้งใหม่ ด้วยการแข่งขันด้านเทคโนโลยีในหลายๆ ประเทศไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริการัสเซีย จีน สหภาพยุโรป อินเดีย และประเทศอื่นๆ

the-development-of-astronomy-technology-03

พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเดินหน้าสำรวจอวกาศ

สำหรับในโลกอวกาศ ดวงจันทร์ยังคงเป็นที่ใฝ่ฝันถึงของชาวโลกดังนั้นในปี 2019 จึงมีหลายประเทศที่สนใจค้นคว้าและพัฒนาเพื่อส่งยานอวกาศไปสำรวจยังดวงจันทร์ เช่น ประเทศอินเดียที่ส่งยานอวกาศ Vikram เพื่อลงจอดบนดวงจันทร์แต่กลับต้องพบกับความล้มเหลว เมื่อยานอวกาศขาดการติดต่อกับโลกในขณะที่อยู่เหนือผิวดวงจันทร์เพียง 2 กิโลเมตรเท่านั้น แต่ถึงแม้ว่าจะนำยานลงจอดบนดวงจันทร์ไม่สำเร็จแต่ยานอวกาศ Chandrayaan-2 ที่ปล่อยขึ้นไปพร้อมกันยังคงทำหน้าที่โคจรรอบดวงจันทร์เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ และส่งกลับมายังโลก

ประเทศญี่ปุ่นก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสำรวจอวกาศโดยสามารถนำยานอวกาศ Hayabusa-2 ลงจอดที่ดาวเคราะห์น้อย 162173 Ryugu สำเร็จและได้เก็บตัวอย่างหินบนดาวเคราะห์น้อยกลับมายังโลกเพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิตอีกด้วย

ทดลองเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อตอบสนองเป้าหมายในการอาศัยอยู่ที่ดาวดวงอื่น

แนวคิดการขยายอาณานิคมไปอยู่ยังดาวดวงอื่นที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีสภาพแวดล้อมคล้ายคลึงกับโลกอย่างดาวอังคาร ก็ยังคงเป็นความหวังของมนุษยชาติเช่นกัน Nasa เอง ก็ได้มีการสนับสนุนให้บริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีอวกาศเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนายานที่สามารถขนส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศเช่นกัน

สำหรับบริษัท SpaceX บริษัทเอกชนด้านธุรกิจการขนส่งทางอวกาศจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ก่อตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการส่งจรวดสำหรับตั้งอาณานิคมบนดาวอังคารในอนาคต ได้ทำการทดสอบยานต้นแบบ Starhopper ที่ถูกออกแบบให้สามารถทำภารกิจขนส่งผู้โดยสารข้ามทวีปบนโลกได้ภายในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง และภารกิจการขนส่งดาวเทียมหรือชิ้นส่วนสถานีอวกาศอื่นๆ ขึ้นสู่วงโคจรของโลก นอกจากนี้ยานลำนี้ยังมีภารกิจในการส่งมนุษย์อวกาศไปยังดวงจันทร์และดาวอังคารในอนาคตอีกด้วย

สรุป

จะเห็นได้ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีอวกาศนั้นพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างมาก ไม่เพียงแต่เป็นการสำรวจบริเวณอวกาศโดยรอบเหมือนเช่นที่ผ่านมา แต่เป็นการทดลองและนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้ในการศึกษาต่อยอดเพื่อทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นในด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม ด้านอุตุนิยมวิทยา ด้านภัยพิบัติ ด้านธรณีวิทยา ด้านนิเวศวิทยา หรือแม้แต่การจะขยายอณานิคมไปยังดาวดวงอื่นในอนาคต

PTT_ebook-EV

  • SUBSCRIBE TO BE
    THE FIRST INNOVATOR.

logo