Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

เจาะลึกแบบเนื้อๆ ที่ไม่เนื้อ กับเรื่องราวของเนื้อเทียม

23 มี.ค. 2020
SHARE

ตามที่ สถาบันนวัตกรรม ได้เล่าถึงเนื้อเทียม (Meat Analogue) อาหารแห่งอนาคต ไปบ้างแล้ว เรามาเจาะลึกในเรื่องเนื้อเทียมหรือโปรตีนทางเลือกกันมากขึ้นอีกนิดดีกว่า

เนื้อเทียม

ที่มาของโปรตีนทางเลือก 

Plant-based protein

Plant-based protein คือ เนื้อที่ทำมากจากผัก หรือ โปรตีนทางเลือกที่ทำจากพืชและเมล็ดพืชที่มีส่วนผสมโปรตีนสูง อย่างถัวชนิดต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา และถั่วลูกไก่ (Chickpea) หรือเมล็ดพืช เช่น ผักกาดก้านขาว ข้าวสาลีและธัญพืช ซึ่งแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักนั้นเป็นสองสตาร์ทอัพมาจากรัฐแคลิฟอเนีย นั่นก็คือ Impossible Foods ซึ่งมีส่วนผสมของโปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว น้ำมันทานตะวัน โปรตีนสกัดจากมันฝรั่งและยีสต์ เป็นต้น  

อีกแบรนด์ที่ได้รับความนิยมคือ Beyond Meat มีส่วนผสมของโปรตีนจาก ถั่วลันเตา น้ำบีทสกัด โดย Beyond Meat ได้เสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ในเดือนพฤษภาคม 2019 ตอนนี้มูลค่าตลาดสูงกว่า 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ Tyson ซึ่งเป็นนักเก็ตไก่ทำจากส่วนผสมของโปรตีนจากถั่วลันเตา เยื่อไผ่ และไข่ขาว  แบรนด์ Good Catch ผู้ผลิตทูน่าที่ทำจากพืชโดยมีส่วนผสมของโปรตีนจาก ถั่วลันเตา และถั่วเหลือง 

แมลง

เป็นที่น่าสังเกตว่าแมลงกลับกลายเป็นแหล่งโปรตีนที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งในไทยและต่างประเทศมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น จิ้งหรีด (Cricket) ตั๊กแตน หรือ รถด่วน ด้วยการปรับเปลี่ยนแพคเกจทำให้เข้าถึงคนส่วนใหญ่ได้มากขึ้น 

แต่แน่นอนว่าความนิยมนั้นยังอยู่ในวงจำกัด ด้วยเหตุผลด้านรูปร่างของแมลง และต้นทุนที่ค่อนข้างสูงของแมลงบางชนิด ต้องจับตาดูต่อไปว่าหนทางของแมลงในฐานะโปรตีนทางเลือกนั้นจะไปได้ไกลขนาดไหน

Mycoprotein

Mycoprotein คือโปรตีนที่ผลิตมาจาก Fermentation Process ของเห็ด รา ตัวตั้งต้นประเภท Fungi ถือว่ามีโปรตีนสูงถึงเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยไฟเบอร์ มีคาร์โบไฮเดรตไม่สูง และไม่มีคลอเรสเตอรอล การผลิตเนื้อเทียมจาก Mycoprotein นั้นเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากสามารถทำผลิตภัณฑ์เนื้อขึ้นรูปได้เสมือนเรารับประมาณเนื้อเป็นชิ้นๆ ที่มีกล้ามเนื้อ (Whole Muscle Meat) 

โดยปัจจุบันสตาร์ทอัพน้องใหม่ที่ต้องจับตามอง คือ Meati Foods ซึ่งเชื่อว่าเป็นสตาร์ทอัพรายแรกที่สามารถพัฒนา Whole Muscle Meat เป็นเนื้อสเต็ก และเนื้ออกไก่ อาศัยการขึ้นรูปผ่าน Fermentation process ของตัวตั้งต้นที่เป็น Mycelium ไฟเบอร์ในพวกเห็ดรานี้เองทำให้เนื้อไก่และสเตคของแบรนด์ Meati มี Texture เหมือนเนื้อสัตว์จริง

เนื้อเทียม

Cultured meat

เป็นการเพาะโปรตีนจากเนื้อเยื่อจากเซลล์เนื้อสัตว์ตั้งต้น โดยสามารถสร้างเซลล์กล้ามเนื้อและส่วนประกอบโปรตีนใกล้กับเนื้อสัตว์จริง เช่น ทูน่า ชีส เนื้อวัว อย่างไรก็ตามวิธีนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนักเนื่องจากมีความกังวลเรื่องความรู้สึกในแง่ของความปลอดภัยจากการบริโภค และยังต้องมีการพัฒนาทางเทคนิคและการวิจัยเพิ่มเติม 

เนื้อเทียม

เอเชีย ตลาดเนื้อเทียมที่เติบโตไม่หยุด

ข่าวเรื่องเนื้อเทียมมักเกิดจากฝั่งอเมริกาและยุโรป แต่รู้หรือไม่ว่ากระแสจากเอเชียก็ร้อนแรงไม่แพ้กัน ทั้ง Beyond Meat และ Impossible Foods เองก็เดินหน้าขนาดตลาดเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย  ผู้ผลิตแปรรูปเนื้อในประเทศญี่ปุ่นก็เริ่มเข้าร่วมด้วยเช่นกัน นำโดย NH Foods ซึ่งเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในญี่ปุ่น เตรียมเสนอผลิตภัณฑ์ไส้กรอก แฮม และเนื้อบดที่ผลิตจากถั่วเหลืองภายใต้แบรนด์ Natumeat

เนื้อเทียม 

สำหรับประเทศไทย เนื้อเทียมเองก็ได้รับความนิยมมากขึ้น มีสตาร์ทอัพไทยผุดขึ้นตามกระแสเนื้อเทียมไร้เนื้อสัตว์  เช่น Meat Avatar หรือ หมูจำแลง เป็นสตาร์ทอัพไทยที่ให้คนไทยได้ลองแพลนต์เบสโปรตีนที่ไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์เจ้าแรกโดยคนไทย แต่ยังคงได้สารอาหารครบถ้วน นอกจากนี้ก็ยังมีแบรนด์ Omnimeat ซึ่งเป็นแพลนต์เบสโปรตีนมาจากประเทศฮ่องกง มีวางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารชื่อดัง  

กระแสเนื้อเทียมหรือ แพลนต์เบสโปรตีนยังคงเป็นตลาดใหญ่ที่ต้องจับตามอง ต้องยอมรับว่าเทรนด์ผู้บริโภคในอนาคตนั้นเน้นสุขภาพ ได้สารอาหารครบถ้วน ส่วนประกอบของวัตถุดิบ และทราบถึงแหล่งที่มาของอาหาร ทั้งยังคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อมและการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ในอนาคตคาดว่าจะมีสตาร์ทอัพใหม่ๆ เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองกระแสนี้มากขึ้นอย่างแน่นอน แล้วผู้เล่นรายใหญ่เดิมจะมีมาตรการรับมือกับกระแสนี้อย่างไร ต้องรอติดตามกันต่อไปค่ะ 

 

Sources: 

https://www.meati.com/

https://www.prachachat.net/marketing/news-413493

https://www.mckinsey.com/industries/agriculture/our-insights/alternative-proteins-the-race-for-market-share-is-on#

จัดทำโดย โครงการเอ็กสเพรสโซ

 

New call-to-action
  • SUBSCRIBE TO BE
    THE FIRST INNOVATOR.

logo