Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

ไขข้อข้องใจ ทำไมพันธมิตรทางธุรกิจจึงสำคัญสำหรับยุคแห่งการ Disrupt

4 ธ.ค. 2019
SHARE

สำหรับช่วงเวลาที่ผ่านมา หนึ่งในคำที่ฮิตติดลมบนที่สุดในวงการธุรกิจคือ Disruption หรือการล้มล้างสิ่งเดิมๆ และแทนที่ด้วยสิ่งใหม่ๆ นั่นส่งผลให้บริษัทน้อยใหญ่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก และทางออกหนึ่งสำหรับปัญหานี้คือการจับมือกันเป็นพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อทำให้ธุรกิจแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

พันธมิตรไม่ได้เป็นเพียงการจับมือในด้านข้อมูลข่าวสารหรือการสนับสนุนด้านเงินเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเทคโนโลยี ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาธุรกิจในปัจจุบันอีกด้วย 

หมดยุคปลาใหญ่กินปลาเล็กแล้วจริงหรือ?

หากเป็นอดีต การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจนั้นเป็นไปได้อย่างยากลำบาก โดยเฉพาะเรื่องราวของการจับมือของบริษัทใหญ่และบริษัทเล็ก แต่ในปัจจุบันวิธีนั้นเริ่มไม่ได้ผลอีกต่อไป เพราะความสำคัญไม่ได้อยู่แค่ “ใหญ่” กับ “เล็ก” แต่เป็น “เร็ว” กับ “ช้า” บริษัทเล็กๆ เองก็สามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้ ขอแค่รู้จังหวะ มีเทคโนโลยี และแผนธุรกิจที่ดีพอ

เฉกเช่นเดียวกัน บริษัทใหญ่เองก็ล้มได้หากไม่มีการปรับตัวในยุคสมัยที่เกิดการล้มล้าง การเปลี่ยนแปลง ดังเช่นสิ่งที่เกิดจากที่เกิดกับบริษัทอย่าง Kodak และ Nokia ที่การ Disrupt เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้ ยักษ์ใหญ่ล้มในที่สุด

ทำให้ปัจจุบันหลายบริษัทรู้แล้วว่าการได้บริษัทเล็กๆ แต่โดดเด่นเข้ามามีส่วนช่วยในบทบาทที่เท่าเทียมกัน เกื้อหนุนกันนั้นสำคัญกว่าการกลืนกินให้หายไปเฉกเช่นสมัยก่อนมากนัก 

พันธมิตรทางธุรกิจ

พันธมิตรทางธุรกิจช่วยอย่างไรในยุคสมัยแห่งการ Disrupt 

เทคโนโลยีในปัจจุบันไม่เพียงแต่ก้าวล้ำเกินกว่าที่คาด ทว่ายังครอบคลุมไปในทุกอุตสาหกรรม ตั้งแต่อุปกรณ์ IoT ในบ้าน ที่สามารถควบคุมบ้านทั้งหลังได้ด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว ไปจนถึงการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ ที่สามารถใช้งานได้จริง แม้แต่ของง่ายๆ อย่างไม้แคะหู ปัจจุบันก็มีการติดตั้งเทคโนโลยีเพิ่มจนสามารถส่องดูภายในหูตนเองได้

สิ่งที่บริษัทใหญ่ในปัจจุบันต้องการไม่ใช่เพียงแค่การสานต่อสิ่งเดิมๆ หรือพัฒนาขึ้นแบบเฉื่อยๆ แต่ต้องมีการพลิกเพื่อก้าวต่อไปข้างหน้าด้วยเช่นกัน และการได้พันธมิตรทางธุรกิจใหม่ๆ เข้ามาก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ส่งผลอย่างมาก

แต่แน่นอนว่ามันทำได้ยาก เพราะยิ่งบริษัทใหญ่ อยู่มานาน ยิ่งขยับตัวยาก และถ้าไม่เคยอยู่ในสายงานเทคโนโลยีก็ต้องพึ่งพากลุ่มบุคคลที่มี Passion และความสนใจไปในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง เพื่อช่วยปิดจุดอ่อน รวมถึงสร้างไอเดียใหม่ๆ เข้ามาสนับสนุน และบริษัทเล็กเองก็ได้ทั้งเงินทุนและผู้แนะแนวทางธุรกิจเข้ามาช่วยเช่นกัน 

สิ่งสำคัญที่สุดคือการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจจะต้องมีความคิด ความเห็นไปในแนวทางเดียวกันระดับหนึ่ง และผู้นำของทั้งสองฝ่ายจะต้องมีการยอมรับความคิดเห็นและเหตุผลของกันและกัน เพื่อผลักดันสิ่งที่พัฒนาไปให้ได้ไกลที่สุด

ตัวอย่างพันธมิตรทางธุรกิจ

หากจะพูดถึงพันธมิตรทางธุรกิจที่เห็นได้ชัดในปัจจุบัน คงจะหนีไม่พ้น ปตท. กับ เซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) ที่จับมือกันเพื่อสนับสนุนอีกฝ่ายคนละด้าน แต่ยังมีพันธมิตรทางธุรกิจอื่นๆ ที่คุณอาจไม่รู้อยู่อีก เช่น 

  • ปตท. และ HG Robotics Co.,Ltd. ที่ร่วมมือกันพัฒนาโดรน เช่น โดรนสำรวจทรัพยากรใต้น้ำเพื่อเพิ่มศักยภาพและลดต้นทุนการค้นหาทรัพยากรทางธรรมชาติใหม่ๆ อีกทั้งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลงอีกด้วย 
  • ปตท. และ Baania (Thailand) Co.,Ltd. ในการใช้ Big Data เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล เกี่ยวกับการลงทุนในปั้มและร้านค้าปลีกในสาขาต่างๆ ให้ได้การลงทุนที่คุ้มค่าและมีศักยภาพมากที่สุด
  • Ais และ iTax ที่ร่วมมือกันในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นและแพลตฟอร์มด้านการเงิน 
  • ไทยน้ำทิพย์และตลาดไทย ที่บริษัทไทยน้ำทิพย์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพให้ตลาดไทยมีความสามารถและมาตรฐานในการทำงานโดยรวมสูงขึ้น  ขณะเดียวกันทางตลาดไทยก็ช่วยในการโฆษณาและการขายของไทยน้ำทิพย์เช่นกัน 
  • โตโยต้าและซุซูกิ ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ทั้งสองอาจเป็นตัวอย่างที่แปลกสักเล็กน้อย แต่ก็นับเป็นตัวอย่างที่ดีในการพยายามเอาตัวรอดจากการ Disrupt โดยการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีของกันและกันเพื่อพัฒนายานยนต์รุ่นใหม่ที่เป็นขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติและใช้พลังงานไฟฟ้า

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะบริษัท ใหญ่ เล็ก สตาร์ทอัพรายย่อย หรือผู้ที่อยู่ยงมานานในวงการธุรกิจ ต่างมีการจับมือซึ่งกันและกัน แน่นอนว่าคุณเองก็สามารถหาพันธมิตรทางธุรกิจได้ ในวันที่โลกก้าวมาไกลเกินกว่าที่ความเป็นยักษ์ใหญ่จะมาขวางกั้น

เราสามารถหาพันธมิตรทางธุรกิจได้อย่างไร 

ในปัจจุบัน บริษัทน้อยใหญ่สามารถเข้าถึงพันธมิตรทางธุรกิจที่สำคัญได้ไม่ยากดังเช่นสมัยก่อนแล้ว แต่ก็แลกกับการมีคู่แข่งที่มีแนวคิดเดียวกันจำนวนมาก โดยเราสามารถหาพันธมิตรได้ดังต่อไปนี้

  • เข้าร่วมงานเกี่ยวกับ Startup ต่างๆ ในงานมักมีตัวแทนของบริษัททั้งเล็กและใหญ่เข้าร่วมอยู่เสมอ
  • การติดต่อโดยตรงผ่านช่องทางต่างๆ หากมั่นใจว่าเทคโนโลยีของบริษัทเราและอีกฝ่ายสามารถเข้ากันได้ และเรามีจุดเด่นและศักยภาพเพียงพอ คุ้มค่าแก่การสนับสนุน
  • การดำเนินงานที่เป็นเอกลักษณ์พร้อมประกาศว่ายินดีจะร่วมธุรกิจกับบริษัทอื่นๆ ข้อนี้อาจจะยาก แต่ถ้าทำได้ บริษัทของคุณจะไม่ได้เป็นแค่สตาร์ทอัปธรรมดา แต่จะเป็นหนึ่งในบริษัทที่น่าจับตาและาหตัวได้ยากสำหรับบริษัทอื่นๆ ที่ต้องการพาร์ทเนอร์เลยทีเดียว

การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจอาจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสถานการณ์ปัจจุบันที่ทุกอย่างถูก Disrupt แต่สิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือการพัฒนา สร้างมูลค่าและความเชื่อมั่นให้ธูรกิจของคุณ ให้สามารถยืนหยัดด้วยตนเองได้ระดับหนึ่งก่อน เพราะทุกๆ บริษัท ต่างต้องการสิ่งที่ดีที่สุดแก่ตัวเองด้วยกันทั้งสิ้น

New call-to-action

  • SUBSCRIBE TO BE
    THE FIRST INNOVATOR.

logo