Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

Zero Waste ดำเนินชีวิตอย่างไรให้ “รักษ์โลก”

1 เม.ย. 2020
SHARE

กระแสของ Zero Waste หรือการดำรงชีวิตโดยลดขยะจนเหลือ 0 นั้นกลับได้กลับมามีความนิยมอีกครั้ง เมื่อปัญหาด้านขยะและของเสียเริ่มส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นขยะทะเลที่ทำให้สัตว์น้ำตายจำนวนมาก น้ำรอระบายที่ไม่เคยลดลงจากขยะอุดตัน และขยะหมักหมมในที่ต่างๆ 

บางคนอาจมองว่าการทำให้การทิ้งขยะในตัวเป็น 0 เป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในหลายๆ แห่ง ทั้งในภาคองค์กรและภาคชุมชน ต่างเป็นบทพิสูจน์แล้วว่า “Zero Waste ไม่ใช่แค่ฝัน”

มาทำความเข้าใจว่า พวกเขาเหล่านั้นทำได้อย่างไร เริ่มด้วยการเข้าใจหลักของ Zero Waste อย่างง่ายๆ ก่อนเลย

อะไรคือ Zero Waste 

Zero Waste

 

Zero Waste หรือแนวคิดการลดขยะให้เหลือศูนย์ ตั้งอยู่ในพื้นฐานหลักการที่ว่าขยะแทบทุกประเภทนั้นมีมูลค่าและสามารถนำมาใช้งานในแง่มุมต่างๆ ได้ ไม่ใช่แค่การนำไปทิ้งลงถังเพียงอย่างเดียว

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ? สาเหตุเพราะขยะแต่ละชนิดจะมีมูลค่าขึ้นมาต่อเมื่อมันถูกคัดแยก จัดสรร และจัดการรวมกันตามชนิดของตัวเอง หากเรานำขยะทั้งหมดมารวมกันในที่เดียวโดยไม่มีการทำอะไรเลย จะทำให้มีการปะปน หรือปนเปื้อนที่ไม่ถูกไม่ควร เช่น ขยะเปียกปะปนกับพลาสติก หรือกระดาษ ที่สามารถนำไปรียูสได้ เป็นต้น

จะสังเกตได้ว่าเนื้อแท้ของ Zero Waste ช่างเป็นอะไรที่เรียบง่ายมาก แต่การ ‘ทิ้งไม่ให้ปนกัน’ ยังไม่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนในปัจจุบันได้ดีเพียงพอ แนวคิดการจัดการขยะในรูปแบบ 1A3R จึงถูกหยิบยกขึ้นมาใช้งานอีกครั้งหนึ่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • Avoid หลีกเลี่ยงการใช้งานของที่ทำให้เกิดขยะ
  • Reduce ลดวัสดุที่ทำให้เกิดขยะ
  • Reuse นำของทีใช้แล้วมาใช้ใหม่
  • Recycle หมุนเวียนของที่ใช้ไปแล้ว แปรรูปของให้นำมาใช้ใหม่ได้

ยกตัวอย่างเช่นเราอยากกินนมสัก 1 กล่อง เราสามารถเดินไปซื้อที่ร้านขายของโดยขอไม่รับถุง (Avoid) เลือกซื้อ เมื่อดื่มเสร็จแล้วทำการตัด เก็บกล่องและหลอด ทำความสะอาดเพื่อขายหรือบริจาคให้ทำโต๊ะ เก้าอี้ (Recycle) ต่อได้ โดยไม่จำเป็นต้องทิ้งไปหมดแต่อย่างใด 

แม้แต่ขยะอินทรีย์ที่หลายคนทิ้งขว้าง แต่เมื่อรวมกันและมีการจัดการอย่างถูกวิธีก็สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานชุมชนอย่างที่เห็นจากวิดีโอ
ด้านล่างนี้

https://www.youtube.com/watch?v=3Cs89rD_zG8

 

Zero Waste ในระดับองค์กร  

บางคนอาจเห็นสารคดีเกี่ยวกับการ Zero Waste ผ่านตามาบ้าง แต่มักไม่ค่อยมีการแนะนำและการใช้งานจริงในระดับองค์กรเท่าใดนัก อาจเพราะข้อมูลที่น้อยเกินไปหรือความยุ่งยากในการจัดการ แต่รู้หรือไม่ว่าภายในองค์กรเองก็สามารถปรับเปลี่ยนได้เช่นกัน ดังนี้

 

ตรวจสอบ: สำรวจการดำเนินงานในองค์กร ทั้งในส่วนการบริหาร การวางแผน การผลิต ว่าทำให้ก่อเกิดขยะด้านใดบ้าง เช่น การใช้กระดาษจำนวนมากในองค์กรในการดำเนินการด้านเอกสาร ทั้งๆ ที่บางส่วนอาจไม่จำเป็น การผลิตที่ใช้เครื่องจักรรุ่นเก่าทั้งๆ ที่มีทรัพยากรเพียงพอสำหรับการเปลี่ยนแปลง ไปจนถึงการดำเนินงานบางส่วนโดยไม่มีการตรวจสอบคุณภาพจนทำให้เกิดของเสีย (Waste) ในระบบ ที่นอกจากสิ้นเปลืองทรัพยากรแล้ว ยังรวมไปถึงสิ้นเปลืองเวลาและบุคลากรในการจัดการด้วย

 

วางแผน: เมื่อรับรู้ถึงปัญหาที่เกี่ยวกับ Waste ในระบบแล้วก็ถึงคราววางแผน แน่นอนว่าการปรับเปลี่ยนให้เข้าสู่ Zero Waste ในระดับองค์กรจำเป็นต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง ดังนั้นต้องมีการวางแผนเป็นขั้นตอนในรูปแบบของ Smart Goal คือ ชัดเจน วัดผลได้ ทำได้จริง สอดคล้องกับบริษัท และมีเวลากำหนด เช่น เราต้องการดำเนินการ Zero Waste ขั้นต้นด้วยการลดการใช้งานกระดาษในออฟฟิศ จากเดิมใช้ A4 1 กล่องใหญ่ต่อเดือนเหลือเพียง 1 ห่อ ด้วยการนำข้อมูลทุกอย่างเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เหลือเพียงเอกสารสำคัญที่ต้องเซ็นอนุมัติ โดยทุกอย่างต้องมีการปรับเปลี่ยนภายใน 1 เดือน มีกำหนดขั้นตอนย่อย เรื่องการโอนถ่ายข้อมูลในทีมใน 2 อาทิตย์ เป็นต้น

 

ปรับเปลี่ยน: เมื่อกำหนดวางแผนแล้วก็ถึงคราวทำจริง โดยทางฝ่ายบริหารต้องมีการสังเกตและมองความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงทำความเข้าใจกับพนักงานว่า Zero Waste สำคัญกับองค์กรและตัวพวกเขาอย่างไร พยายามทำให้เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด เพื่อที่พนักงานจะสามารถคล้อยตามได้ง่ายขึ้น

 

สนับสนุน: ท้ายสุดคือการสนับสนุน เช่น การสนับสนุนด้านอุปกรณ์ในการคัดแยกขยะ การวางโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนให้คนสามารถดำเนินแผน Zero Waste ได้ง่ายขึ้น รวมถึงการกำหนดนโยบายใหม่ ให้สอดคล้องกับนโยบาย Zero Waste ด้วย

 

ฝั่งผู้บริหารต้องทำให้เป็นแบบอย่าง ต้องมีการให้ความสำคัญโดยเริ่มจากตัวเอง เพราะหากเราไม่ได้เป็นคนเริ่ม ไม่เช่นนั้นต่อให้วางแผนดีแค่ไหนแต่ความน่าเชื่อถือของแผนการก็ลดลงจนหมดได้

สิ่งสำคัญที่สุดคือการพัฒนา ปรับใช้ และใช้มาตรการเหล่านี้ในระยะยาว เพราะเมื่อสถาบันครอบครัว สถาบันองค์กร์ที่เป็นหน่วยย่อยๆ ของสังคมปฏิบัติแล้ว มันจะเป็นการส่งเสริม ให้สังคมโดยรวมปฏิบัติตามกันไปเป็นลูกโซ่ด้วย และอย่าลืมว่านอกจาก Zero Waste จะเป็นการลดขยะภายในองค์กรแล้ว ยังช่วยในการเพิ่มรายได้อีกด้วย ดังที่หลายคนอาจเห็นกันว่าขยะสามารถเปลี่ยนงานเล็กๆ ให้เป็นธุรกิจแสนล้านมาแล้ว 

https://www.youtube.com/watch?v=HPZuK1x7PDo

การสร้าง Zero Waste ด้วยตัวคุณ 

ถ้าเป็นคนธรรมดาล่ะ จะทำอะไรได้ ? นอกเหนือจากการทำ Zero Waste ภายในองค์กรแล้ว เรายังสามารถปฏิบัติด้วยตนเองได้โดยการ

  • ลดการใช้ถุงพลาสติกหรือเลือกนำถุงพลาสติกที่เก็บไว้มาใช้หลายๆ รอบ หรือใช้ถุงผ้าหรือกระเป๋า
  • ไม่ใช้ช้อน ส้อม พลาสติก เลือกจะใช้ช้อนส้อมของตัวเอง
  • มีการใช้แก้ว หลอด ของตัวเอง ลดการใช้แก้วจากทางร้าน
  • วางถังขยะหรือที่ทิ้งขยะเพิ่มเติมเพื่อรองรับการคัดแยกขยะของคนในองค์กร เตรียมพื้นที่สำหรับขยะที่รีไซเคิลหรือสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องทิ้งได้
  • คัดแยกขยะก่อนทิ้ง เริ่มจากการคัดแยกง่ายๆ เช่น ขวด กล่องนม โฟม และถุงพลาสติก หลังจากนั้นก็เริ่มมีการจัดการขยะเศษอาหารแบบจริงจัง ซึ่งอาจเป็นการทำปุ๋ย ทำดิน เพื่อปลูกต้นไม้ เป็นต้น

แน่นอนว่าในการเริ่มต้นเราอาจไม่ได้เป็น 100% Zero Waste แต่เพียงการช่วยกันคนละไม้คนละมือ ขยะที่ผลิตออกมาในแต่ละวันของทุกๆ คนก็ลดลงได้มากมายแล้ว

สรุป

เห็นได้ชัดเลยว่าจริงๆ หลักการ Zero Waste นั้นง่าย แค่มองทุกอย่างที่มีการใช้งานว่าสิ่งใดสามารถขายได้ ขายไม่ได้ สิ่งที่ขายไม่ได้ หากขยะที่เกิดจากเราเป็นสิ่งที่ขายไม่ได้หรือขายได้ยาก เช่น ซีลพลาสติกที่เกิดจากแพ็คอาหาร หรือถุงลูกอมยี่ห้อโปรด ในส่วนนี้คงต้องดูว่าเราสามารถลด ละ เลิก ได้หรือไม่ หากไม่ได้ จะต้องแก้ไขอย่างไรต่อไป

เพราะท้ายสุดแล้วสิ่งที่ทุกๆ คนหวังจากเรื่อง Zero Waste ไม่ใช่ความลำบากในการจัดการขยะ แต่เป็นชีวิตที่ปลอดขยะ มีความยั่งยืนในระยะยาว

New call-to-action
  • SUBSCRIBE TO BE
    THE FIRST INNOVATOR.

logo